อุบัติเหตุนี้....ของใคร


สิ่งที่สำคัญมากที่สุดที่คิดว่าได้เกิดขึ้นจากการทำงานในครั้งนี้ คือ การที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยทุกคนทำงานภายใต้จิตสำนึก ที่มีจุดหมายร่วมกันในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ที่ต้นเหตุ มากกว่าการตั้งรับเมื่อเจ็บป่วย

จากกรุงเทพจนถึงตัวเมืองสระบุรี  ถ้าท่านเลี้ยวขวาจะพบกับถนนมิตรภาพ อำเภอแรกที่ท่านต้องผ่าน  คืออำเภอแก่งคอย  ซึ่งเป็นถนนที่มี 10  เลน  วิ่งระหว่างจังหวัดสระบุรีกับจังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งต่างจากเมื่อสิบปีที่แล้ว  ถนนมิตรภาพเป็นถนนที่มีเพียง  2  เลน  อำเภอแก่งคอยในปัจจุบันเป็นอำเภอที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก  แต่ก็ยังมีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม  จากเส้นทางการคมนาคมที่มีการเจริญอย่างรวดเร็ว  บวกกับเป็นเส้นทางที่มีการขนส่งทางอุตสาหกรรม  ทำให้อำเภอแก่งคอยมีผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจร  ประมาณปีละ  100 คน  ซึ่งในการสูญเสียชีวิตนั้น  พบว่าการสูญเสียแต่ละครั้งนั้นเป็นการสูญเสียที่ค่อนข้างมหาศาลไม่สามารถประเมินค่าได้   อุบัติเหตุทางการจราจรที่อยู่ในอำเภอแก่งคอยเป็นอุบัติเหตุที่เป็นปัญหาเรื้อรัง  ที่สำคัญที่สุดคือ  เรื่องการสูญเสียของครอบครัว  ทุกครั้งที่ผมได้ถูกตามไปชันสูตรศพจะเห็นว่าสภาพศพค่อนข้างที่จะเป็นสภาพที่ไม่น่าดู บางครั้งไม่สามารถดูได้ว่า  บุคคลนั้นเป็นใคร  ไม่เห็นหน้า  ไม่เห็นศีรษะ  บางครั้งเห็นเพียงแขนและขาเท่านั้น  เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในถนนมิตรภาพส่วนใหญ่จะรุนแรงเนื่องจากมีรถบรรทุก  รถพ่วง  ชนกับรถมอเตอร์ไซด์หรือรถยนต์  ทำให้สภาพศพค่อนข้างที่จะไม่สามารถบรรยายได้ว่าเป็นศพของใคร  เมื่อมีญาติมาติดต่อดูศพจะเห็นได้ว่าลูกเมียหรือญาติที่มา  มีความเสียใจ  ร้องไห้  สนามหญ้าหน้าโรงพยาบาลบางครั้งก็เป็นที่นอนเกลือกกลิ้งเมื่อผู้ที่มารับศพไม่สามารถที่จะรับสภาพที่เกิดขึ้นนั้นได้  สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นก็คือจากครอบครัวขาดรายได้ เนื่องจากผู้ตายอยู่ในฐานะเป็นผู้นำครอบครัว  ภรรยาก็ต้องมาทำหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัวแทน  ลูกที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายสูงก็ต้องออกจากโรงเรียน  มาหาโรงเรียนที่พอที่จะส่งเสียได้  ภาวะการเงินครอบครัวคงไม่ต้องพูดถึงค่อนข้างที่จะมีปัญหาเมื่อขาดผู้นำหลักในครอบครัว 

ปัญหาอุบัติเหตุจราจรคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ในอำเภอแก่งคอย  ในประเทศไทยยังมีปัญหาต่าง ๆ  เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างมากมาย  ผมมานั่งคิดว่าแล้วใครละที่จะเป็นผู้แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุเหล่านี้  เพื่อลดผลเสียที่จะตามมาจากการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง  แม้ในโรงพยาบาลแก่งคอยซึ่งมีขนาด  60  เตียง  จะมีระบบ  EMS  (Emergency Medical Service)  ที่ค่อนข้างดี  แต่ว่าการมี  EMS  เป็นเพียงการลดสภาวะการไม่ให้ตายหรือพิการ  ให้ตายช้าลงเท่านั้น  ผมคิดว่าถ้าเราจะทำเพียงแค่นี้คงไม่สามารถที่จะบรรเทาภาวะ การสูญเสียต่างๆได้  เพราะว่าการสูญเสียจากอุบัติเหตุแต่ละครั้งมันเป็นภาวะที่ไม่คาดคิด ไม่เหมือนเช่น โรคเอดส์ที่ว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงยังมีเวลา  มียาที่บรรเทาหรือยืดระยะเวลาการเสียชีวิตได้  โรคมะเร็งที่ว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงหรือมีโอกาสรักษาน้อยมากแต่ก็สามารถรักษาได้  แต่อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดคิด  และเมื่อเกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่งแล้ว  บางครั้งไม่มีเวลาเตรียมตัวสำหรับครอบครัวของตนเอง 

ผมมาอยู่ที่โรงพยาบาลแก่งคอยปีนี้เป็นปีที่  9  และได้ทำงานร่วมกับชุมชน  ทั้งระดับในส่วนราชการ  ระดับท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน  โรงเรียน  และโรงงาน  ในเรื่องของการป้องกันปราบปรามยาเสพติด  ซึ่งได้ทำมา  4-5  ปีแล้ว  ผมคิดว่าคณะกรรมการที่เรามีอยู่นี้  หากจะนำมาช่วยกันในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรอีกน่าจะประสพความสำเร็จได้    อย่างที่ท่านอาจารย์ประเวศได้กล่าวไว้ว่า สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา  ผมคิดว่าในฐานะที่เป็นแพทย์น่าจะสามารถนำข้อมูลในส่วนที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมไว้  ซึ่งเป็นข้อมูลการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของอุบัติเหตุจราจรมาใช้ประโยชน์  เพื่อนำข้อมูลนี้เข้าที่ประชุมเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงข้อมูลนี้ด้วยจึงเริ่มต้นจากการไปคุยกับท่านนายอำเภอถึงแนวคิดนี้  ท่านนายอำเภอและท่านผู้กำกับได้นั่งคุยกันก็คิดว่าแนวคิดนี้  น่าจะเป็นความคิดที่มีความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจมากกว่าการระดมพลเฉพาะในเทศกาลปีใหม่  สงกรานต์  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็สามารถสร้างความตระหนักได้  แต่อุบัติเหตุนั้นคงไม่มีใครคาดคะเนได้ว่าจะเกิดได้   วันเวลาใด  และคาดว่าแนวคิดนี้น่าจะดำเนินการได้จึงได้นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมยาเสพติด  ซึ่งมีกรรมการจากทุกภาคส่วน  ประมาณ  40  กว่าคนอยู่ในกรรมการชุดนี้   ซึ่งทุกคนเมื่อได้ฟังสรุปสถิติในการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการเสียชีวิต ผลกระทบตามมาแล้วที่ประชุมมีแนวคิดว่านอกจากยาเสพติดแล้วเราคงจะต้องร่วมมือร่วมใจกันป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรนี้ด้วย  ด้วยเหตุผลเบื้องต้นทางทีมงานคิดว่าเราควรมีรายละเอียดที่มากกว่านี้  ในเรื่องของจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุจราจรและการเสียชีวิต  จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเกิดขึ้นโดยจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในอำเภอแก่งคอย  โดยมีกรรมการในทุกภาคส่วนประกอบด้วย  เทศบาล  อบต.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  โรงเรียน  โรงงานอุตสาหกรรม  และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  เป็นตัวจักรสำคัญในการที่จะดำเนินการในเรื่องนี้  และได้ตั้งคณะทีมคณะทำงานเป็นอนุกรรมการ  ในการรวบรวมข้อมูล  จุดเสี่ยง  ที่เกิดเหตุ  ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาล  สาธารณสุขอำเภอ  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย  ตำรวจ  และมูลนิธิ   ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่ในการกำหนดจุดเสี่ยง  จุดที่เกิดอุบัติเหตุ  เจ็บ  ตาย  ในส่วนของถนนเส้นหลักคือ  ถนนมิตรภาพ  ถนนระหว่างอำเภอ  ถนนระหว่างจังหวัด  และเส้นทางที่อยู่ในตำบลนั้น ๆ  ซึ่งผู้กำหนดคือ พยาบาล  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย  ตำรวจ  มูลนิธิ  ดังนั้นเราจึงได้ข้อมูลจุดเสี่ยงเป็นจุดเกิดเหตุจริง  และได้มีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทุกเดือน

ซึ่งเราคิดว่าข้อมูลที่เกิดอุบัติเหตุนั้น  คงไม่ได้เป็นข้อมูลเฉพาะที่โรงพยาบาลที่เดียว  เพราะการเกิดอุบัติเหตุบางครั้ง  เมื่อเป็นเล็ก ๆ  น้อย ๆ  จะไปรักษาที่สถานีอนามัย  เมื่อเป็นมากก็จะส่งมาที่โรงพยาบาลแก่งคอย  แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ประสบอุบัติเหตุไม่ได้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่เกิดเป็นคดีความเกิดขึ้น  ก็จะมีการแจ้งความที่สถานีตำรวจ  ดังนั้น  เราจึงใช้หลักการนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยคิดว่าถ้ารวบรวบข้อมูลจากสถานีอนามัย  ตำรวจ  และโรงพยาบาลแล้ว  เราจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากขึ้นกว่าเดิม  จากเมื่อในอดีตที่เราเก็บเฉพาะโรงพยาบาล  เราจะเอาข้อมูลนี้นำเสนอในทีมคณะกรรมการ

หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้นำเสนอไปให้กับทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัด, แขวงการทางบรรเทาและป้องกันสาธารณภัยจังหวัด  ซึ่งเป็นส่วนที่จะไปใช้ในเชิงนโยบายในการกำหนด  ในการปรับปรุงถนนเส้นทางหลัก  U- tern  หรือสะพาน  U-tern  ในอนาคต  และเราได้มีการส่งข้อมูลลงสู่ในระดับพื้นที่  เทศบาล  อบต.  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  เพื่อให้รับทราบว่าในตำบลนั้น  หมู่บ้านนั้น  มีจุดที่อันตรายอย่างไร  แล้วจะให้ทางพื้นที่ส่วนท้องถิ่นเข้ามาดำเนินการในการแก้ไขร่วม  โดยมีทางแขวงการและทางหลวงชนบทเป็นที่ปรึกษา  เราก็ต้องยอมรับความเป็นจริงว่างบประมาณของประเทศไทยนั้น  คงไม่เพียงพอที่จะรอจากทางแขวงการทางหรือทางหลวงชนบท  ก็คงต้องให้ทางท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม  ซึ่งในสภาพที่ผ่านมาในอดีตทางท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการบนถนนของทางหลวงชนบทและแขวงการทางได้นั้น 

ทางทีมคณะกรรมการจึงเป็นตัวประสานในการดำเนินการ  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทางแขวงการทางและทางหลวงชนบท  ให้ส่งวิศวกรเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการของเราด้วย  และช่วยในการประสานงานในการดำเนินการแก้ไขทางด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย โดยกรรมการได้ดำเนินการใน  2  เทศบาล  2  ตำบลนำร่อง  ในส่วนตำบลอื่น ๆ  ก็สามารถให้ดำเนินการแก้ไขตามลักษณะพื้นที่ได้  ส่วนในเรื่องอื่น ๆ  ซึ่งอุบัติเหตุจะมีทั้งเรื่อง Education,  Engineer,  EMS,  Evaluation,  Enforcement  (5E)  ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราได้ดำเนินการประสานงานไม่ว่าจะเป็นโรงงานที่มีมาตรการ   3  2  1 ในโรงเรียน ให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้กับนักเรียนเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจราจรและกฎจราจรร่วมมือกับตำรวจ  และการทำโรงเรียนให้โรงเรียนต้นแบบในการจราจร  ซึ่งเราคิดว่าถ้ามีการแก้ไขโดยร่วมกันทั้งระบบแล้ว  การจราจรของอำเภอแก่งคอยก็ควรที่จะลดลง  ซึ่งการจะลดลงได้ก็คงต้องมีการร่วมมือจากทุกภาคส่วน  

 

จากการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนข้างต้น  จะเห็นได้ว่าทุกส่วนซึ่งครั้งแรกเราคิดว่าคงจะไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก  ปรากฏว่าส่วนต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ  โรงเรียน  โรงงาน  หมู่บ้าน  ชุมชน  อบต.  เทศบาล  ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมแก้ไขปัญหา  หลังจากที่เราส่งข้อมูลให้กับส่วนต่าง   และนำเสนอในคณะกรรมการ  ดังนั้นจากที่เราเห็นว่าการทำงานที่ต้องแยกเป็นส่วนต่าง ๆ  ในการใช้ยุทธศาสตร์  5E  ได้แก่  การบังคับใช้กฎหมาย  การให้การศึกษา  ความรู้เรื่องของการประเมินผล  และระบบทางการแพทย์  ซึ่งในความเป็นจริงแล้วภาคส่วนต่าง ๆ  สามารถทำได้มากกว่า  1  เรื่อง  อย่างเช่นว่าเทศบาลสามารถทำได้ทั้งในเรื่องของการให้การศึกษาเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย  เรื่องเกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัย  และเรื่องเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลการดำเนินงานทุกภาคส่วนสามารถนำยุทธ์ศาสตร์ทั้ง 5Eไปดำเนินงานได้ทุกอย่าง  โดยที่ไม่ต้องบอกว่าตรงนี้เป็นหน้าที่ของใคร 

จากสิ่งต่าง ๆ  ที่ได้ในวันนี้  จะเห็นเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม คือ ทางโรงงานผลิตปูนได้มีการมาตรการบังคับให้พนักงานต้องมีใบขับขี่  ต้องสวมหมวกกันน๊อค  และมีมอเตอร์ไซด์ปลอดภัย  ทำให้จำนวนพนักงานเป็นจำนวนมากกว่า  1,000  คน  ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบตรงนี้อย่างเคร่งครัด  ก่อนที่จะข้าปฏิบัติงานในโรงงาน   ใน  2  ตำบล  และ  2 เทศบาลนำร่อง  ได้มีการปรับปรุงผิวทางที่ชำรุด,  ป้ายสัญญาณไฟ,  เครื่องหมายจราจร,  มีตำรวจจราจรดูแลจุดเสี่ยงในช่วงจราจรหนาแน่น  สถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรหรือการตายจากข้อมูลใน  1  ปีที่ผ่านมาข้อมูลการตายมีสถิติจำนวนลดลง  เมื่อเทียบกับ  3  ปีก่อนหน้านี้  จำนวนผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางการจราจรมีจำนวนลดลง  นอกจากนี้จะเห็นได้ว่านอกจากผลลัพธ์ที่ได้เกิดขึ้น 

  

 

สิ่งที่สำคัญมากที่สุดที่คิดว่าได้เกิดขึ้นจากการทำงานในครั้งนี้ คือ  การที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยทุกคนทำงานภายใต้จิตสำนึก  ที่มีจุดหมายร่วมกันในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุ  ที่ต้นเหตุ  มากกว่าการตั้งรับเมื่อเจ็บป่วย

ซึ่งจะเห็นว่าท้ายสุดแล้วการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร  จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อทุกคนทุกส่วนมีจิตสำนึกในการใช้ยวดยานพาหนะ  ใช้ถนน  ความมีสติของผู้ขับขี่  และปฏิบัติตามกฎจราจร  ซึ่งในการทำครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนอุบัติเหตุที่ลดลงได้ในระดับหนึ่ง  แต่สิ่งสำคัญมากที่สุดก็คือ  ทุกคนทุกส่วนร่วมกันและเห็นความสำคัญในเป้าหมายเดียวกัน  ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจร  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุไม่ใช่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จะมาดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ  แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนทุกส่วนต้องร่วมกันทำงาน  เราหวังว่าในอำเภอแก่งคอยคงจะมีจำนวนอุบัติเหตุทางการจราจรที่ลดลง  มีการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  ที่ลดลง  ท้ายที่สุดก็คงจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

   ...ชาตัวพ่อ...

 

                                                                                                  นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย  มั่งจิตร

                                                                                                ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย

คำสำคัญ (Tags): #sha-narrative medicine
หมายเลขบันทึก: 291151เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ SHA ตัวพ่อ น่ารักมากๆ ค่ะ เขียนดีจังเลยค่ะ

เขียนอีกนะคะ

  • ตามมาให้กำลังใจครับ
  • จากภาพตรงพระองค์ใหญ่
  • น่ากลัวมาก
  • คงต้องร่วมกันหลายๆๆฝ่าย
  • ทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับอุบัติเหตุของจังหวัดว่าจุดใด
  • ที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดแล้วแก้ไขปัญหานั้นก่อน
  • สสจ และ โรงพยาบาลมีส่วนช่วยเสนอข้อมูลได้มาก
  • สู้ๆๆครับ

สวัสดี ร่วมแรงร่วมใจกัน ระมัดระวัง รักษากฎ ทุกอย่างความสูญเสีย ก็น้อยลงนะคะ ให้กำลังใจท่านปฎิบัติหน้าที่นะคะ

เข้าถึงทุกประเด็นร้อน

การป้องกันอุบัติเหตุทางการจราจรถือเป็นเรื่องสำคัญของชาวแก่งคอย เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ดีจังเลย

อยากเห็นการทำงานทุกภาคส่วนแบบมีส่วนร่วม

อาจยังไม่เห็นผลวันนี้ แต่เชื่อ คนแก่งคอยคงได้ตระหนักถึงความปลอดภัยอย่างแท้จริง

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วย...เห็นด้วย

รอเห็นผลดีที่จะมากมายก่ายกองตามมา

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาให้กำลังใจ

คนไทยจะได้ไม่ตายด้วยโรคที่ป้องกันได้

สวัสดีค่ะ

- แวะมาทักทายและเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

- ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ

* สวัสดีค่ะ อ.พอลล่า เป็นไงบ้างคะ "ชาตัวพ่อ" บ้านเรา เข้าร่วมมหกรรม sha 2009 แน่นอนค่ะ...และ "SHA-ยาเสพติด" พอใช้ได้มั้ยคะ ขอบคุณค่ะอาจารย์

* ขอบคุณพี่นิด, anlee, rosemary และ กาแฟ ที่เป็นกำลังใจนะคะ ทำให้มีแรงขึ้นเยอะเลยค่ะ

* ขอบคุณน้องอัจ...sha-พระโต๊ะ หลังจากพวกเราได้ร่วมกันคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ชามาด้วยกัน ไม่นึกว่า ชาพระโต๊ะจะโตได้อย่างเร็ว และสวยงามนะคะ อย่างนี้ทุกคนต้องร่วมกันดูแลและรดน้ำเป็นแน่แท้ แล้วอย่าลืมแวะมาเยี่ยมกันบ้างนะ..คิดถึง เสมอ..

* ขอบคุณ คุณเพชรน้อย...โนนไทย มีของดีมากมายเลยค่ะ แอบไปเยี่ยมชม แต่ลืมเซ็นต์สมุดเยี่ยม...อิอิ แล้วจะคอยติดตามเรื่องของโนนไทย ให้กำลังซึ่งกันและกันค่ะ

* ใครมีอะไรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ฝากบันทึกไว้ที่ blog ได้เลยนะคะ

หมอบรรพต รพ. มโนรมย์

เข้ามาให้กำลังใจและชื่นชมครับ รพ.นี้ ผอ. ขยันจัง ไม่รู้กินอะไรมา ทำดีต่อไปเพื่อถ่วงดุลย์กับคนทำไม่ดีครับ

ขอบคุณค่ะคุณหมอบรรพต

ผอก.รพ.แก่งคอย ยังขยันได้อีกเยอะค่ะ พลังเหลือหลาย

แท่..เลยนะ

P'วุต p'น้อย P'เเป๊ะ ป่อเต๊กตึ้ง

รถอ่ะทารมไหม่ได้แล้ว

เครื่อง j เทอร์โบ อ่ะเน่าแล้วหรอ

เห๊นวิ่งอย่างกะเต่าเลย

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งให้กำลังใจชาวชา รพ.แก่งคอยทุกท่าน
  • "ชาตัวพ่อ" เยี่ยมยอดจริง ๆ
  • เชื่อแล้วว่าทำไม "ชาตัวลูก" ถึงได้เด็ดขาดนัก

             

  • ขอบคุณค่ะ  คุณบุษรา  นามนี้เพราะจังค่ะ
  • กำลังชงชาเพื่อให้ได้รสชาดดี  แบบชา  พระโต๊ะ
  • แล้วอย่าลืมแวะมาชิมชา  ที่แก่งคอยอีกนะคะ                             

                                                                                             

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท