โครงการ “มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ” แนวทางเพื่อส่งเสริมงานวิจัยแห่งอุดมศึกษา


มหาวิทยาลัยวิจัย หอคอยงาช้าง การบริหารงานวิจัย

เมื่อไม่นานนี้ ศธ.ได้ประกาศรายชื่อ 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย หวังช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านต่าง ๆ ดีขึ้น เน้นงานวิจัยที่นำมาใช้ได้จริง โดยจะมีการประเมินผลงานทุก 6 เดือน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ประกาศมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามที่คณะกรรมการกำหนดยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในปี 2553 จากมหาวิทยาลัยที่เข้ารับการคัดเลือก 15 แห่ง ได้แก่ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3.ม.เกษตรศาสตร์ 4.ม.มหิดล 5.ม.พระจอมเกล้าธนบุรี 6.ม.สุรนารี 7.ม.เชียงใหม่ 8.ม.ขอนแก่น และ 9.ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเกิดขึ้น โดยใช้งบประมาณสำหรับทั้ง 9 แห่งรวม 9,000 ล้านบาท

โดยที่้มหาวิทยาลัยวิจัยทั้ง 9 แห่ง จะต้องจัดทำกลยุทธ์ฉบับสมบูรณ์ให้เสร็จภายใน 1 ปี เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการพิจารณาให้งบสนับสนุนต่อไป โดยจะเน้นผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น เน้นงานวิจัยที่นำมาใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม เกษตร หรืออื่น ๆ และต่อไปมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะต้องรักษาปริมาณงานวิจัยให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าเดิม หรืออย่างต่ำไม่น้อยกว่าปีละ 100 เรื่อง รวมทั้งต้องรักษาอันดับหรือขยับอันดับในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม จะมีการประเมินผลทุก 6 เดือน และทุกปีหากมหาวิทยาลัยใดไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ที่วางไว้ได้ ก็จะถูกถอดออกจากการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 
 
นอกจากนี้ ศธ.ยังได้เตรียมงบประมาณเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยรัฐอีก 69 แห่งที่เหลือเพื่อทำวิจัยด้วย รวม 3 ปีเตรียมงบประมาณไว้จำนวน 3,000 ล้านบาท โดยงานวิจัยที่จะสนับสนุนนั้น เน้นงานวิจัยที่นำมาใช้ได้จริงและเป็นงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ชุมชน ท้องถิ่น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและ SMEs หรือรัฐวิสาหกิจขนาดย่อย ทั้งนี้ หากมหาวิทยาลัยที่เหลือสามารถผลิตงานวิจัยได้ตามเกณฑ์ หรือสามารถติด 500 อันดับโลกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกแล้ว ก็จะได้รับการประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งโดยรวมจะใช้งบประมาณสนับสนุนโครงการนี้จำนวน 12,000 ล้านบาท

จากข่าวดังกล่าว นับได้ว่าเป็นการเปิดมิติใหม่แห่งการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาไทยโดยเฉพาะการนิยามหาวิทยาลัยวิจัยว่า
ต้องมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้

1.มหาวิทยาลัยวิจัยต้องอยู่ในลำดับการจัดลำดับมหาวิทยาลัยโลก ของ THE-QS ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 5๐๐ หรือไม่ติดอยู่ใน 5๐๐ อันดับ

2มหาวิทยาลัยต้องมีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับการบันทึกไว้หรือได้รับการยอมรับไม่น้อยกว่า 5เรื่อง ใน 5ปีล่าสุด 

3.ต้องมีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ที่ได้รับการตีพิมพ์ 

4.ต้องมีอาจารย์ที่จบปริญญาเอก เกินกว่า 40% ของอาจารย์ที่มีอยู่ทั้งหมดในมหาวิทยาลัย 

 เป็นที่น่ายินดีผลงานวิจัยในที่นี้ หมายถึงผลงานที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยในภาคอุตสาหกรรม เกษตร หรืออื่น ๆ

จากแนวคิดดังกล่าว นับว่าเ็ป็นเรื่องที่ดีที่จะมีมหาวิทยาลัยแห่งชาติที่จะเป็นต้นแแบบให้สถาบันอุดมศึกษาหลาย  ๆ แห่ง ได้พัฒนาตาม โดยที่รัฐเองก็สนับสนุนงบประมาณทั้งแก่สถาบัยการศึกษาต้นแบบทั้ง 9 แห่ง และสถาบันการศึกษาอีก 69 แห่งที่ยังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ

ผู้เขียนเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวคล้่าย ๆ กับหลาย ๆ ประเทศที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษาในประเทศของตนได้พัฒนางานวิจัย ด้วยการสนับสนุนงบประมาณแก่มหาวิทยาลัยที่พัฒนาตนเอง เช่น ประเทศจีนสนับสนุนงบแก่มหาวิทยาลัย 100 อันดับแรก ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขันกันขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่า สถาบันการศึกษาเอกชนควรได้ รับโอกาสเช่นนี้ด้วยเช่นกัน สถาบันการศึกษาเอกชนหลาย ๆ แห่งมีคณาจารย์ที่ทำวิจัยเก่งๆ มาก ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมเช่นกัน

ผู้เขียนยังเชื่ออีกว่า การส่งเสริมงานวิจัยดังกล่าวควรอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ รัฐบาล และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเองก็ต้องได้รับแรงกระุตุ้นในการทำวิจัยตลอด ไม่ใช่ทำวิจัยเพื่อขอตำแหน่งวิชาการ แต่เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วก็หยุดทำ ดังที่ผู้เขียนเคยได้ยินอาจารย์หลาย ๆท่านพูดให้ฟังว่า ที่ต้องมานั่งขอทุนทำวิจัย ก็เพื่อเอาไปขอตำแหน่ง
 สำหรับงานวิจัยเอง ก็ต้องเน้นในทุกสาขาทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อย่าไ้ด้ทำวิจัยแต่เพียงตอบสนองความอยากรู้ หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีตัวชีวัีดสูงๆ เท่านั้น

งานวิจัยที่ดีควรจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีตัวชี่้ิวัดสูง ๆ แล้วพับเก็บไว้หรือเป็นงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตหรือชุมชน เป็นสิ่งที่ท้าทายความคิดของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยต่อไป

หมายเลขบันทึก: 290918เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นายบุรินทร์ เทพสาร

งานวิจัยเป็นหนึ่งในพันธกิจการอุดมศึกษา อเมริกามี MIT เยอรมันมี KIT ตรงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของคุณภาพงานวิจัย ฉะนั้นสู้ต่อไปนักวิจัยประเทศไทย

เมื่อประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยจะทำให้เรามีมหาวิทยาลัยที่ไต่อันดับที่สูงขึ้นจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Time Higher Education ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และงานวิจัยนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง นอกจากนั้นยังเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่แข็งแกร่งรองรับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้วย

การวิจัยเป็นวิธีการหรือหนทางที่สำคัญและดีที่สุดในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามการกำหนดตนเองว่า จะเน้นบทบาทการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยยังต้องถามสังคม ผู้ใช้บริการ พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่จะส่งลูกเข้ามาเรียนด้วยว่า มีความเห็นอย่างไร และมหาวิทยาลัยต้องยืนยันว่าจะดำเนินการเรืองสอนอย่างไรด้วย เพื่อไม่ให้การสอนด้อยคุณภาพลง เพราะมหาวิทยาลัยยังต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตได้ดี มีผลงานวิจัยเป็นเลิศควบคู่กัน การกำหนดเป้าหมายว่า จะเป็น “มหาวิทยาลัยวิจัย” ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีผลงานวิจัย การบริการวิชาการที่ดี ผู้รับบริการมีความพอใจให้มากที่สุด เป็นปัจจัยเร่งให้ต้องมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ในปัจจุบัน ความมุ่งหมายของสถาบันอุดมศึกษา ด้านการวิจัยได้สำหรับ ในประเทศอุตสาหกรรมนั้น มีบทบาทต่อการวิจัยค่อนข้างมาก เพราะองค์การต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นผู้ป้อนเงินให้กับสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาส่วนมากก็จะรับดำเนินการวิจัย จนบางครั้งมากเกินไปจะกระทั่งได้รับฉายานามว่า เป็นมหาวิทยาลัยรับจ้าง (University for Hire ) (Wolff, 1996)

ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา (มานานแล้ว) แม้เมื่อมี ความพยายามและให้ควาสำคัญกับการวิจัยในจึงมุ่งเน้นเพื่อนำงานวิจัยไปพัฒนางานที่ทำเพื่อเป็นแรงขับให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีทิศทางและแหล่งอ้างอิง ทั้งนี้การจะมุ่งเป้าหมายไปข้างหน้าของโครงการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผู้นำตั้งแต่ Top สูงสุด ไปจนถึงผู้นำของหน่วยงานที่มุ่งมั่นที่จะทำโครงการนี้ให้เดินหน้าต่อไปอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งระบบ จึงจะสามารถผลักดันให้มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้บนโลกแห่งปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท