รู้ไหม...? ทำไมน้ำตกถึงสวย...


อย่าลืมนะ..ถ้าอยากให้ตัวเองเป็นคนที่น่ารัก..ควรจะเป็นอย่างน้ำตก หากมีสิ่งดีๆตกมาถึงตัว..อย่าเก็บสิ่งดีๆนั้นไว้คนเดียว.. ต้องเรียนรู้ที่จะ "แบ่งปัน" .. ก็มีแต่คนที่ "ให้" เท่านั้น..จึงจะเป็นคนที่ "ได้รับ" อย่างแท้จริง

ข้อคิดประจำวัน จากธรรมะสวัสดี / ภาพจากการท่องเที่ยว    

รู้ไหม...?  ทำไมน้ำตกถึงสวย...  

 



พ่อ : รู้มั้ยลูก...ทำไมน้ำตกถึงสวย...  
ลูก  : ก็เพราะมันเป็นน้ำตกไงคะพ่อ...  


 

พ่อ : ไม่ใช่หรอกลูก...    
 ที่น้ำตกสวยน่ะ...  เพราะน้ำตกไม่ยอมเก็บน้ำไว้ในชั้นของตัวเองต่างหาก...  
ลูก : หมายความว่าไงคะพ่อ...  
พ่อ : ลูกสังเกตไหมล่ะว่า...  


  

เวลาน้ำตกตกลงมาจากชั้นหนึ่งแล้ว...    
 น้ำนั้นก็จะถูกส่งต่อลงไปอีกชั้นหนึ่งทันที..  
 เพราะวิธีนี้ที่น้ำตก...ไม่เห็นแก่ตัว...  
 แต่ยอมส่งน้ำที่ตกมาจากชั้นอื่น..แล้วส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ อย่างนี้..  
 น้ำตก..ถึงสวย...    
และน้ำตก..จึงยังคงเป็นน้ำตก...ที่มีเสน่ห์..ไงละ
   

 

 

ข้อคิดจากเรื่องนี้...  
อย่าลืมน่ะลูก...    
ถ้าลูกอยากให้ตัวเองเป็นคนที่น่ารัก...    
ลูกควรจะเป็นอย่างน้ำตก..    
หากมีสิ่งดี ๆ ตกมาถึงตัวลูก...    
อย่าเก็บสิ่งดี ๆ นั้นไว้..คนเดียว..    
ลูกต้องเรียนรู้ที่จะ...แบ่งปัน...ออกไปให้มากที่สุด    
มีก็แต่คนที่ "ให้" ออกไปเท่านั้นแหละ...ลูก..  
จึงจะเป็นคนที่ "ได้รับ" อย่างแท้จริง...  
  จากธรรมะสวัสดี 

นำเรื่องดีๆมาแบ่งปันค่ะ ^____^

คำสำคัญ (Tags): #น้ำตก#แบ่งปัน
หมายเลขบันทึก: 290870เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีครับ เห็นด้วย ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆๆ

  • ตามมาอ่านข้อความ
  • กำลัง งง งงว่าภาพทำไมมันไม่มา
  • แงๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณเมธา สุพงษ์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนค่า

ยินดีค่า^__^

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

นั่นสิคะ ทำไมรูปน้ำตกไม่ขึ้นให้อ่ะน้า

งงจังๆๆ

สวัสดีครับ K.Hana ตามมาตอบให้เรื่องค้ำประกันที่ถาม

โอ้ อย่างนี้ตอบยาวหน่อยครับ ต้องพูดถึงมรดกก่อน กฎหมายกำหนดไว้ว่ากองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้เช่นความสามารถส่วนบุคคล (มาตรา 1600)แต่ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน (มาตรา 1601)แล้วมาดูต่อว่าจะต้องฟ้องเมื่อไรเพราะหนี้อาจยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ได้ เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทหรือกองมรดกของเจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้ว่าหนี้ที่มีต่อเจ้ามรดกจะมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปีก็ตาม (มาตรา 1754)ก็คือเรียกกับทายาทหรือกองมรดก ส่วนสัญญาค้ำประกันสัญญานั้น ผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ก็คือถ้าทายาทหรือกองมรดกไม่ชำระผู้ค้ำประกันต้องรับผิด ที่สอบถามว่าหารกันตามส่วนหรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่ครับ ต้องรับผิดเต็มตามจำนวนที่ค้ำประกันครับ เว้นแต่จะจำกัดจำนวนเงินในความรับผิดที่ค้ำประกัน เช่น หนี้ 1 แสนบาท แต่ผู้ค้ำประกันจำกัดจำนวนเงินในความรับผิดเพียง 5 หมื่นบาท ถ้าถามว่าจะทำไงบ้างหรือ ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ผมเคยสอนนักศึกษาว่าอย่าค้ำประกันให้ใครเว้นแต่พ่อกับแม่เท่านั้นเพราะเนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง กระดูกแขวนนคอ แต่ถ้าชำระหนี้แล้วสามารถไล่เบี้ยได้จากทายาทหรือกองมรดก แต่โดยทั่วไปเจ้าหนี้จะฟ้องทั้งทายาทและผู้ค้ำประกันครับ

ขอบคุณค่าคุณเมธา

ต่อไปจะต้องระวังเรื่องค้ำประกันให้ใครซะแล้วสิคะเนี่ย

ขอบคุณค่า ^__^

สวัสดี หมอฮานะ

แหมสอนเสียลึกซึ้งเลย นึกว่าจะให้ลูกตกที่ละชั้นๆ เหมือนน้ำตก ถ้าตกเป็นชั้น เป็นขั้นได้ ก็มีแต่บันไดเท่านั้นแหละ

อิอิ ยังไงก็อย่าตกบันได เป็นขั้นๆๆ (เพราะมานจาเจ็บตัวอ่ะค่า อิอิ)

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะคุณหม่อมนักบิณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท