สรุปผลเวทีแลกเปลี่ยนครั้งที่ 5 (ตอนที่1)


การวัดความสุขของพนักงานวัดได้อย่างไร คือ การวัดจากการอัตราการลาออก การลาป่วย การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งกล่องรับความคิดเห็น แบ่งเป็นกล่องร้องทุกข์และกล่องความสุข ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดได้

สรุปผลการดำเนินงาน

          มีการจัดประชุมเตรียมงานระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะวิทยากรกระบวนการ เพื่อร่วมกันออกแบบเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการการทำงานเชิงรุก งานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กร ที่แตกต่างจาก 4 ครั้งที่ผ่านมา และผู้รับผิดชอบโครงการได้ติดต่อประสานงานกับองค์กรภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีครั้งนี้ พร้อมขอความอนุเคราะห์แต่ละองค์กรในการให้ข้อมูลตามข้อคำถาม จำนวน 2 ข้อ คือ (1) วิธีการ สร้างสุขในองค์กรในยุควิกฤติเศรษฐกิจ และ (2) ข้อเสนอในการขยายผล การสร้างสุขในองค์กร ให้เกิดขึ้นในองค์กรอื่น ๆ โดยมีองค์กรที่ให้ความร่วมมือส่งข้อมูลกลับมาเพื่อใช้ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีที่จัดขึ้น จำนวน 31 องค์กร ดังนี้

  1. Osotspa Co., Ltd.
  2. บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ยูเนี่ยนเทคโนโลยี่(2008)  จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  5. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท หลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
  7. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด
  8. บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด
  9. บริษัท ซี.พี. พลาซ่า จำกัด
  10. โรงพยาบาลศรีวิชัย 3 อ้อมน้อย
  11. องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล
  12. บริษัท ควอลิตี้ คอฟฟี่ โปรดักท์ส จำกัด
  13. Sahaviriya Steel Group Co., Ltd.
  14. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
  15. บริษัทSomboon Group
  16. บริษัท กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  17. บริษัท สแปนชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
  18. บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
  19. บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  20. บริษัท AEROTHAI RADIO OF THAILAND LTD.
  21. บริษัท กรีนสปอต จำกัด
  22. บริษัท บี.ฟู้ดส์  โปรดักอินเตอร์เนชั่นแนล  จำกัด
  23. บริษัท เทยิน (ประเทศไทย) จำกัด
  24. บริษัท เอเซีย พรีซิชั่น จำกัด
  25. บริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด
  26. Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers
  27. บริษัท เมอส์กไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด
  28. Rockworth Public Co., Ltd.
  29. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  30. โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน)
  31. บริษัทโซนี่ซัพลายเชนโซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 

สารสนเทศที่ได้รับจากแต่ละองค์กรจะสะท้อนวัฒนธรรมองค์กร และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการจัดการความรู้เป็นแบบฉบับเฉพาะของตนเอง ถือเป็นองค์กรต้นแบบที่สำคัญให้กับองค์กรหรือภาคส่วนต่าง ๆ ต่อไป ในรายละเอียดแต่ละองค์กรได้จัดทำเป็นเอกสารประกอบการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 นอกจากนั้นยังดำเนินการเผยแพร่เพื่อให้เครือข่ายอื่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

          ผลของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมเวที ระหว่างเวลา 12.30 – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ จาก 31 องค์กร จำนวน 44 คน โดยได้ดำเนินกิจกรรมตามการออกแบบเวทีที่เตรียมไว้ โดยมีการปรับและยืดหยุ่น โดยให้ผู้เข้าร่วมเวทีทุกท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาในการจัดเวที ตลอดจนประเด็นสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย (ตามอายุงานและประสบการณ์การทำงาน) กลุ่มละ 10 - 11 คน โดยมีวิทยากรกระบวนการ 4 ท่านในการอำนวยความสะดวกให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง งานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กร หลังจากระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มแล้วมีการนำเสนอผลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มย่อย โดยสรุปสาระสำคัญทั้ง 4 กลุ่มย่อย เริ่มจากกลุ่มที่ 4 ที่ถอว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไล่เรียงจนถึงกลุ่มระดับผู้บริหาร คือกลุ่มที่ 1 ได้ดังนี้

กลุ่มที่ 4

วิทยากรกระบวนการ :  อ..อธิวัฒน์  เจี่ยวิวรรธน์กุล

ผู้จดประเด็น                :  คุณนพพร ทิแก้วศร

 

สมาชิกกลุ่ม

  1. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด    คุณพันธเกียรติ  คุชากำธร
  2. บริษัทเครือสหวิริยา                                   คุณตุลยเทพ  พิทักษ์นุรัตน์
  3. บริษัท ยูเนี่ยนเทคโนโลยี่(2008)จำกัด(มหาชน) คุณสราวุธ  ม่วงวงษ์ 
  4. Osotspa Co., Ltd.                                  คุณปลุพร  พานิชการ
  5. บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด         คุณบุบผา  ศรีบุรินทร์      
  6. บริษัทไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด              คุณสมใจ  มีแต้ม   
  7. โรงพยาบาลเทพธารินทร์                            คุณณัฐวดี  อิมกลาง      

ผู้นำเสนอ : คุณปลุพร พานิชการ และคุณสราวุฒิ  ม่วงวงษ์

 

เริ่มจากเราจะฝ่าวิกฤตได้อย่างไร  เราแบ่งเป็น

1.      การพัฒนาระบบงาน จะมี CSR ซึ่งบริษัทต่างๆ จะมีแตกต่างกัน   การสื่อสารให้พนักงานทราบสถานะขององค์กร

2.   สวัสดิการ มีการส่งเสริมอาชีพ การจัด Summer camp จัดสถานที่ให้ลูกๆ และจ้างพี่เลี้ยงมาเลี้ยงลูกพนักงาน การรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือพนักงานด้วยกันเอง    ถนนคนเดิน เปิดท้ายขายของตลาดสด หรือ ตลาดนัดในบริเวณโรงงานให้กับพนักงาน ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ และช่วยเพิ่มรายได้ของพนักงาน

3.      โครงการป้องกันสุขภาพ การให้ความรู้เรื่องการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน

กิจกรรมเน้นงบน้อย เป็นลักษณะจิตอาสา เช่น บริษัทหนึ่งพาพนักงานไปล้างห้องน้ำในวัด  หรือ โรงพยาบาลเทพธารินทร์มีการให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปในด้านสุขภาพเช่น โรคเบาหวาน หรือ กิจกรรมการประชุมทุกเช้าวันจันทร์  โดยมีกิจกรรมทุกเช้าระหว่างพนักงานด้วยกันเอง

องค์กรที่จะฝ่าวิกฤตไปได้  โดยองค์กรที่ให้การสนับสนุน การคิดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ปัญหาของพนักงาน  การตั้งชมรมหรือสโมสรให้กับพนักงาน เพื่อจัดกิจกรรม องค์กรที่มีปัญหา และที่ไม่ให้การสนับสนุนกิจกรรมมากนัก ฝ่าย HR จะต้องมีการวิเคราะห์โครงการให้มากขึ้น จัดลำดับความสำคัญของโครงการ มีการทำเป็นเมตริก มีการเปรียบเทียบ impact  และ method  และเปรียบเทียบ รวมถึงจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ก่อน-หลัง   มีการสื่อสารแบบ Face to face  เป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างพนักงาน ด้วยกันเอง จะเกิดการสื่อสารระหว่างกันเอง bottom up  นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาความคุ้มค่าของโครงการ มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการมากขึ้น งบประมาณที่ต้องใช้ในกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่เสียไปในการทำงาน      การสร้างความเข้าใจเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ตัวชี้วัด คือ dialogue  forum และ small group คือการจัดกลุ่มเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อจะฝ่าวิกฤตไปได้

สิ่งที่หนึ่งที่สำคัญ คือ การที่พนักงานบางกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมมากนัก  แก้ไขโดยการให้พนักงานกลุ่มนั้นเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมด้วย ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอีกหนทางหนึ่ง

สุดท้ายเราได้พูดคุยกันในกลุ่มว่า การวัดความสุขของพนักงานวัดได้อย่างไร คือ การวัดจากการอัตราการลาออก การลาป่วย การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ  รวมทั้งกล่องรับความคิดเห็น แบ่งเป็นกล่องร้องทุกข์และกล่องความสุข ซึ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดได้ สรุปสุดท้ายของผังนี้ เรามีองค์กรที่เกิดวิกฤตคือไฟแดง  และเรามาแก้ปัญหาให้เป็นไฟเขียว

โปรดติดตามตอนต่อไป (มี 4 ตอนคะ)

หมายเลขบันทึก: 290628เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เน้นการเรียนรู้ การเข้าใจร่วมกัน และ การมีส่วนร่วม นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท