หนังสือ “แนวคิดกำหนดทางออก” (ตอนจบ)


เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ปรัชญา หลักการบริหารงาน การดำเนินชีวิต ที่นำเอาปรัชญาของตะวันตกและตะวันออกมาหลอมรวมกันได้อย่างกลมกลืน

จากบันทึกเรื่องนี้ที่ผ่านมาทั้งสองตอน (แนวคิดกำหนดทางออก :  http://gotoknow.org/blog/attawutc/289467 และ http://gotoknow.org/blog/attawutc/289793?page=1) ผมเขียนขึ้นโดยการสรุปตีความเชื่อมโยงความรู้และแสดงความคิดเห็นตามทรรศนะของผม มาตอนสุดท้ายนี้ผมก็ยังเขียนโดยใช้รูปแบบและสำนวนเดิมๆ ตามแบบฉบับของผม ขอเชิญติดตามต่อได้เลยครับ

บทที่ 10 แนวคิดในการครอบครองเงินทองและใช้เงินทอง

          บทนี้เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักการใช้เงินและการควบคุมดูแลจัดการทรัพย์สินเงินทอง

-         เงินทองเหมือนกัน หากแต่เป้าหมายต่างกัน มูลค่าของเงินย่อมต่างกัน : ใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ให้คุ้มค่ามากที่สุด ต้องรู้จักการลงทุน กล้าเสี่ยง มากกว่าการเก็บออม แยกความแตกต่างระหว่างความประหยัดและความตระหนี่ให้ได้ เช่น ต้องการพัฒนาพนักงานแต่ไม่ยอมลงทุนเรื่องการเรียนรู้ ไม่ยอมเสียเงินเพียงเพราะต้องการประหยัดงบประมาณ ต้องการประหยัด หรือพยายามซื้อของเครื่องจักรที่ราคาถูกที่สุด แต่ต้องมาเสียค่าซ่อมบำรุงและค่าอะไหล่ที่คิดโดยรวมแล้ว มีค่าใช้จ่ายมากกว่า เข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

-         ต้นทุนค่าเสียโอกาสก็เป็นต้นทุนเหมือนกัน : ผมอยากให้มองค่าใช้จ่ายโดยรวมเหมือนกับมองทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง ต้นทุนที่มองไม่เห็น เหมือนกับน้ำแข็งใต้ภูเขาที่จมอยู่ในน้ำ ที่เราคิดไม่ถึง ยกตัวอย่างการสร้างรถไฟฟ้า ทุกรัฐบาลพยายามจะสร้างให้ได้อย่างประหยัดงบประมาณที่สุด เงื้อง่าราคาแพงมานาน จากเมื่อก่อนที่สิงค์โปร์มาดูงานบ้านเรา ตอนนี้เราต้องไปดูงานบ้านเขา ระยะเวลาที่เสียไป เราเสียค่าน้ำมันรถไปเท่าไหร่แล้ว คนส่วนใหญ่พยายามดิ้นรนเพื่อมีรถเป็นของตนเองเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง ซื้อมาแล้วก็ต้องมาเสียค่าน้ำมันค่าซ่อมบำรุงรักษาอีก

-         หลีกเลี่ยงความเสียหายก็เท่ากับได้ผลกำไร : วางแผนการเงินให้รอบคอบ ว่าจะรุกเพื่อหากำไรและตั้งรับ ความเสียหายอย่างไร ผมคิดว่าผู้บริหารควรมีคุณธรรม ไม่ควรยึดกับกำไรขาดทุนมากเกินไป แต่น่าจะคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เดินไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งแนวคิดที่ผมคิดว่าน่าจะเหมาะสมคือ ต้องทำให้องค์กรมีชีวิตด้วยแนว LOKM

บทที่ 11 แนวคิดที่ทำให้ตนเองมีความสุข

          บทนี้เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการหาความสุขให้กับชีวิตซึ่งไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับเงินทองเป็นหลัก

-         การเลือกสรรมิใช่ยิ่งมากยิ่งดี : ควรมีเป้าหมายให้ชัดเจน บีบทางเลือกให้แคบลง ผมคิดว่าการตัดสินใจเลือกไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งทีดีที่สุด แต่จะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด

-         เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงินทองกับความสุข : เราต้องแยกความสุขกับความสะดวกสบายออกจากกันให้ชัด เมื่อก่อนอาจจะไม่สะดวกสบายแต่มีความสุขได้ ไม่โทรศัพท์มือถือเราก็อยู่ได้ แต่ทุกวันนี้ยิ่งสะดวกมากขึ้นยิ่งทุกข์มากขึ้น ผู้คนแล้งน้ำใจมากขึ้น เงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต เราต้องรู้จักใช้เงิน แต่ไม่ใช่ให้เงินมาใช้เรา เราไม่ใช่ทาสของเงิน

บทที่ 12 ทางออกจากแนวคิดย้อนศร

          บทนี้เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับแนวคิดเพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์เดิมๆ ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

-         เปลี่ยนแปลงกฎแนวคิดในการทำงาน : มองการทำงานในหลายๆ แง่ หลายๆ มุม เรื่องที่ทำได้ทีนี่อาจจะไปใช้ที่อื่นไม่ได้ เรื่องที่ถูกต้องในวันนี้ วันหน้าอาจจะไม่ถูกก็ได้ ต้องคิดเผื่อไว้แบบเข็มขัดสั้น (คาดไม่ถึง)

-         เรียนรู้การตบแต่งตนเอง : .ในหนังสือเล่มนี้เน้นการเรียนรู้การตบแต่งตนเองไปในเรื่องของการสื่อสาร คือต้องสื่อสารให้กระชับฉับไว เข้าใจง่าย ไม่เยิ่นเย้อ

-         การเมตตาควรมีขีดจำกัดเช่นกัน : เนื้อหาในตอนนี้ผมไม่เห็นด้วยสักเท่าใดนัก คำว่าเมตตาหมายถึงความรัก อยากให้ผู้อื่นได้ดี มีความสุขขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา) ดังนั้นเราควรจะนำ พรหมวิหารธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ มาใช้ให้ครบ

-         การยอมคนก็ต้องมีศิลปะ : ผมคิดว่าเรื่องการยอมไม่ยอมนี่ น่าจะนำหลักพื้นฐานของการเจรจามาใช้คือ เราและคู่เจรจาได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดอยู่ให้แก่กันและกัน

-         สร้างโภคทรัพย์โดยอาศัยพลังจากภายนอก : เราไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง ดังนั้นจะทำอย่างไรดีให้คนอื่นมาช่วยเราได้ ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

-         เรียนรู้การอำพรางความจริง : เรื่องนี้ผมมองในมุมมองของการฝึกคนสร้างคน ควบคุมดูแลคน ว่าจะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์อย่างไร จะมอบหมายงานให้เขาทำอย่างไรจึงเหมาะกับจริตของคนนั้นๆ

-         การทำงานต้องมีกลยุทธ์ : เราจะรุก จะรับอย่างไร มีแผนการอย่างไรบ้าง แผนสำรองในแต่ละงานเป็นอย่างไรเพียงพอหรือไม่

 

บทส่งท้าย

          จากเนื้อหาทั้งหมดที่ผมได้อ่านมาทั้ง 12 บทนี้ผมคิดว่า น่าจะนำไปใช้งานในทางปฏิบัติได้จริงได้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาบางอย่างผมก็ไม่เห็นด้วยทั้งหมด ทั้งนี้อาจจะมีมุมมองของการธุรกิจการค้าทุนนิยม ที่ผมยังเข้าไม่ถึง หรืออาจจะมีบางเรื่องที่ขัดแย้งกับแนวคิดทางพุทธศาสนาอยู่บ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนตามความเชื่อของแต่ละคนครับ

หมายเลขบันทึก: 290521เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แง่คิดดีๆ มีที่นี่เลยค่ะ
  • แวะมาให้กำลังใจคนเลย
  • สบายดีนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะคนเลย
  • ฝากบรรยากาศแถวๆ ปากชมมาให้ดูค่ะ
  • ข้าวโพดกำลังออกฝัห ป่ายางพาราเขียวขจี
  • ที่นี่ที่เดียวปากชมค่ะ

แวะมาเยี่ยมและแรกเปลี่ยนเรียนรู้ไทเมืองเลย

สวัสดีไทเลย

เป็นไทเลย บ้านนาอ้อค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอเชิญ กราบหลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน บ้านนาอ้อ ค่ะ

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวค่ะ สาธุ สาธุ

สวัสดีครับพี่อรรถวุฒิ

ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทายที่บันทึก...สอนโดยไม่สอน

...

เรื่องบัว ยังไม่พ้นน้ำหรอกครับ เป็นเพียงชื่อไว้เตือนสติผมเองครับ

หากมีโอกาสพบกันที่อยุธยาเมื่อไหร่ ผมจะพาไปกราบหลวงตาดีมั๊ยครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท