มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับการพัฒนากระบวนกร รุ่นที่ ๓


กระบวนกร เพื่อพัฒนากระบวนการ แห่ง มอ รุ่นที่ ๓

 เช้านี้กลับเข้าทำงานที่ภาควิชารังสีวิทยาอีกครั้ง หลังจากที่เดินทางไปสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้และการประกันคุณภาพการศึกษา ที่มีมาตรฐานการศึกษา ของชาติ เป็นตัวเดินเรื่อง ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ได้รับหนังสือ จาก ท่านรองอธิการบดี รศ.นพ.วรัญชัย ตันชัยสวัสดิ์ ให้ JJ ไปพัฒนา "กระบวนกร (Facilitator)" รุ่นที่ สาม ที่ JJ มาช่วยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 วัตถุประสงค์ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ท่าน เมตตา ชุมอินทร์ ประสานมา คือ การสร้างแนวคิดและหลักการเป็นกระบวนกร การให้ผู้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ สร้าง "ตัวคูณ" ในการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ในองค์กร

 ระยะเวลาสองวันครับ คือ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ สิงหาคม

 กิจกรรมที่ JJ เตรียมไว้ ร่วมกับท่านพี่เมตตา แห่ง มอ ตั้งแต่ 

  •  ปฐมบทแห่งการเรียนรู้

  •  การถอดบทเรียนนำสู่การเป็นคุณอำนวย

  •  การเข้ากลุ่มฝึกเชิงปฏิบัติการ เพื่อเป็นคุณอำนวยที่ดี

  •  ทศปฏิบัติ สำหรับ คุณอำนวยแห่ง มอ

  •  วันที่สอง ที่เสริม และ เน้น ดอกอะไร และ Dialogue

  •  ปิดท้ายเพื่อเปิด การสร้างสังคมแห่งความรู้ ร่วมกู่สร้างสรรค์ ด้วย AAR+ALR+ Passion Plan สัญญาใจไฟปรารถนาครับ

 ทีมงานชาว GotoKnow มีข้อเสนอแนะ หรือ ชาว มอ ท่านใด จะเสนอแนะเรียนเชิญนะครับ

 ฝากท่านพี่เมตตา และ ท่านอชิดา งานพัฒนาและฝึกอบรม กจ แห่ง มอ ช่วย ส่งข่างให้ทีมงาน ชาว มอ ๔๐ ชีวิต ที่จะเข้าร่วมเรียนรู้การเป็น "กระบวนกร หรือ Facilitator แห่ง มอ รุ่นที่ ๓" ได้ศึกษา เรื่องราว ต่างๆใน GotoKnow

 และ ที่สำคัญ "ทบทวน และ ส่งการบ้าน ให้ JJ ก่อน ก็ได้ สามประการ" คือ

 ๑. ถอดบทเรียน ประสบการณ์ในการนำการจัดการความรู้มาพัฒนางานประจำในช่วงที่ผ่านมามีอะไรบ้าง และ เจ้าของคิดว่าอะไร คือ Best Practice ของเจ้าของ

 ๒. บทบาทของ "กระบวนกร หรือ Facilitator ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ประสบการณ์ที่ได้รับมาจาก Fa รุ่น ก่อนๆ เป็นอย่างไร"

 ๓. ข้อสงสัย ข้อกังวลใจ ในการเตรียมตัวเป็น "กระบวนกร หรือ Facilitator แห่ง มอ รุ่นที่ ๓ มีอะไรบ้าง?"

 JJ2009ฅนธรรมดา 

หมายเลขบันทึก: 290500เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมอยากเข้าร่วมด้วยมากเลยครับ ไม่ทราบจะได้หรือเปล่า

เรียน ท่านอาจารย์ จารุวัจน์

  • กรุณา ติดต่อ ท่านเมตตา ชุมอินทร์ แห่ง มอ โดยตรงเลยครับ และ
  • ท่านที่จะเข้าเรียนรู้ กรุณา Click ไปที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/288772

ขึ้นเหนือ ล่องใต้ แบบนี้ต้องดูแล+รักษาสุขภาพมาก ๆ นะคะ

เพิ่งฟื้นไข้ค่ะ.....

กำลังจะทำการบ้านส่งหัวหน้าทีม JJ_KM_TEAM ค่ะ...... 

 

เรียน ท่านน้ำผึ้ง ขอบพระคุณครับ

  • เมื่อเช้ามีโอกาสได้เดินรอบสระพลาสติก สามรอบครับ

เรียนท่านชาดา ขอบพระคุณครับ

  • AAR+ALR>>>Passion Plan เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาครับ

กราบสวัสดีคะ อาจารย์ JJ

  • วิทยาเขตตรัง มอบหมายให้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้ด้วยคะ
  • ตอนนี้ เปลี่ยนสถานที่ทำงานจาก ม.วลัยลักษณ์ มาอยู่ งานบริหารงานบุคคล มอ. วิทยาเขตตรัง ดูแลงานพัฒนาบุคลากร
  • น้องแป้น (คุณอชิดา) แจ้งว่าอาจารย์มีการบ้านให้ทำ เด็กนักเรียนที่ดีก็ต้องรีบเข้ามาทำการบ้านส่งอาจารย์
  • เนื่องจากเพิ่งมาทำงานที่วิทยาเขตตรังได้ประมาณ 10 เดือน ดูแล้วก็นานพอใช้ได้แล้ว แต่ทำไมรู้สึกว่าเหมือนเพิ่งมาทำงาน อาจจะเป็นเพราะยังรู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ ยังรอให้เราเรียนรู้อยู่อีกมาก แต่ก็พยายามสังเกต ศึกษา เรียนรู้ แนวทางการนำการจัดการความรู้มาใช้ในงานประจำ

            - วิทยาเขตตรัง สนับสนุนให้มีการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ในการทำงานและจะนำมาใช้จนเนียนไปในเนื้องาน จากการสังเกตและได้รับการบอกเล่า คือ  เคยมีการให้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการความรู้ มีการแนะนำการใช้ Blog : PSU Share ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สังเกตเห็นมีการทำ AAR ภายหลังการทำกิจกรรม สำหรับ PSU Share มีการเปิดบันทึกแต่ไม่ได้มีการบันทึกอย่างต่อเนื่องคะ

            - สำหรับในงานบริหารงานบุคคล เราได้นำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เนื่องจากงานบริหารงานบุคคลเรามีบุคลากร 3 คน ทำงานโดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เมื่อคนใดที่รับผิดชอบงานใดติดภารกิจ ลา ไม่สามารถอยู่ให้บริการได้

            เดิม ก็รับเรื่องหรือฝาก Note หรือให้ติดต่อมาภายหลัง
            เราอยากเป็น คน กจ. ยุคใหม่ : สามารถทำงานแทนกันได้ ให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่อาจารย์และบุคลากรที่มาขอรับบริการได้ และผลพลอยได้ที่คิดว่าสำคัญและคาดว่าจะเกิดขึ้น คือ บรรยากาศการทำงานเป็นทีม

            การที่เราจะไปสู่จุดนั้นได้ เราสัญญากันว่าเราจะพยายามศึกษา เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ไม่จำกัดว่างานนั้นจะเป็นงานของใคร มีการทำ AAR ภายหลังการทำกิจกรรม มีการบันทึกและปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนการทำงาน ที่วิทยาเขตตรังกำหนดให้บุคลากรสายสนับสนุนทุกคนทำจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน

     - ในภาวะการทำงานจริงๆ ตนเองและพี่ๆ ใน กจ. ก็ช่วยกันเป็นกระบวนกร หรือ facilitator ช่วยกันชวน พี่ๆ เพื่อนๆ ในงาน กจ. มาร่วมคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันให้กำลังใจแก่กัน ในการทำงาน

      - ข้อสุงสัย และข้อกังวลใจ คือ การขยายผลไปยังงานอื่นๆ หรือขยายผลไปยังระดับวิทยาเขต ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหาร

ขอบคุณคะ

ปิติกานต์ จันทร์แย้ม (เม)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

เรียน ท่านปิติกานต์

  • ท่านมาเข้าคราวนี้ ขอเป็น ผู้ช่วย JJ นะท่าน
  • เข้าหลายรอบแล้ว
  • ท่าน รอง ปิติ ว่า จะให้ JJ มาตรัง หลายรอบ แล้ว สงสัย ท่านคงยุ่ง จนลืม อะ ท่าน

อาจารย์คะ

ก่อนอื่นคงขอเรียนท่านอาจารย์ว่า หนูชื่อ"ตุ้ม" เหมือนกันค่ะ เลยใช้เวปว่า Pingtum

วันนี้หนูติดตามเรื่องของท่านอาจารย์ได้มากเลย ดูรูปก็มากมาย จนดึกเลย วันนี้ขออนุญาตนอนพักผ่อนก่อนพรุ่งนี้จะติดตามผลงานของท่านอาจารย์ใหม่นะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

เรียน ท่านอาจารย์จตุพร

  • ต้องเรียกว่า ตุ้ม เพื่อน ตุ้ม
  • ขอบพระคุณครับ พักผ่อน และ ค่อยตื่นมาพัฒนา
  • กำลังฟัง อภิปรายบางอย่าง
  • สงสาร คนไทย ตาดำดำครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท