KM: การป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง (กรณีโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ตอนที่ 1)


โรคไข้ปวดข้อยุงลาย CHIKUNGUNYA FEVER การดูแลหญิงตั้งครรภ์ และทารก

แนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และทารกที่ป่วยด้วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya  Fever)

ผู้เขียนในฐานะเป็นนักวิชาการสาธารณสุขสังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น  มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนวิชาการด้านโรคติดต่อนำโดยแมลงให้พื้นที่เครือข่ายที่รับผิดชอบนั้น    เมื่อมีความก้าวหน้าในแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องจึงขอถ่ายทอดเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานดังนี้   (ตามที่ อ้างถึงหนังสือกระทรวงสาธารณสุขด่วนที่สุดที่ สธ 0422.4 / ว638    ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2552  เรื่อง แนวทางการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายในฤดูฝน)

 

            ด้วยขณะนี้โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้แพร่ระบาดจาดพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างไปสู่ภาคใต้ตอนบน และกระจายไปสู่จังหวัดต่าง ๆ  พบในกลุ่มประชากรที่เคลื่อนย้าย จำนวน 51 จังหวัด สถานการณ์ตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 33,980 ราย  ในจำนวนนี้ พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์ได้ติดเชื้อและป่วยด้วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม  ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวให้ถูกต้อง กรมควบคุมโรคได้จัดทำคำแนะนำในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และทารกที่ป่วยด้วยไข้ปวดข้อยุงลาย ดังนี้

1.       หญิงมีครรภ์ในช่วง 10 วันก่อนคลอด ต้องป้องกันไม่ให้ยุงกัด     เพราะหากเป็น

โรคไข้ปวดข้อยุงลายในช่วงคลอด จะมีโอกาสแพร่สู่บุตรได้ง่ายมาก

2.       หากหญิงมีครรภ์ป่วยเป็นไข้ปวดข้อยุงลายในระยะก่อนคลอด จะต้องระวังไม่ให้

มีไข้สูง และดูแลเฝ้าระวังทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด

3.       ทารกที่คลอดจากแม่ที่ป่วยเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลายในระยะใกล้คลอด ต้องเฝ้าดู

อาการในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดว่า ทารกจะป่วยภายใน 7 วันหรือไม่

4.       มารดาที่ต้องให้นมบุตรสามารถให้ได้แม้ในขณะป่วยเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

แต่ถ้ามารดาอ่อนเพลียควรบีบนมมารดาใส่ในขวดให้ลูกดูดจากขวดก่อนจนกว่าจะแข็งแรง

5.       ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด  เนื่องจากหากป่วยเป็น

โรคไข้ปวดข้อยุงลายแล้ว  อาจมีอาการรุนแรงได้

ดังนั้นเมื่อบุคลากรสาธารณสุขที่ต้องให้บริการประชาชนก็ต้องควรให้ความสำคัญใน

องค์ความรู้เรื่องแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว  ซึ่งจะได้ให้บริการที่ถูกต้องและมีคุณภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 290334เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณนะคะที่นำความรู้มาเผยแพร่

ในเขตขอนแก่นมีคนป่วยอยู่ ซึ่งได้ดำเนินการสอบสวนโรคแล้วว ยังไม่ส่งรายงานให้ กำลังรวบรวมเอกสารย้อนหลังคะ พอดีตอนนี้ไข้หวัดใหญ่มาแรงกว่า

  • ขอบคุณค่ะคุณประกาย
  • ซึ่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เร็วจัง
  • วันหลังจะนำมาฝากอีกนะคะ

น่าสนใจว่า หญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด ที่ติดเชื้อ ชิกุน จะเลือกทาน บอระเพ็ด เถาวัลย์เปรียง ได้หรือไม่

เพราะภูมิปํญญาไทย ก็สามารถใช้สมุนไพร ดังกล่าว กับ หยิงตั้งครรภ์

ฝาก นักวิชาการ ใจกว้าง ช่วยถาม ผู้รู้ หมอพื้นบ้าน ที่อาวุโส ข้อห้ามการใช้สมุนไพรดังกล่าว หรือ การประยุกต์ใช้ สมุนไพร กับ เรื่องไข้ปวดข้อ

หรือ ผักคาวตอง พลูคาว ในคนท้อง ที่ติดเชื้อชิกุน จะใช้ได้หรือ ไม่ และ คุ้มค่า หรือ ไม่

ขอขอบพระคุณมากๆ หากจะช่วยกันหาคำตอบ ทบทวนประสบการณ์จากผู้รู้ หมอพื้นบ้าน

วันก่อนมีกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ ได้ถามเรื่องโรคนี้

เด็กๆ ไม่ค่อยมีความรู้กันเลย

ก็เลยสันนิษฐานว่า...สงสัยเราจะอยูในเขตเมือง...ไม่มีพาหะนำโรคและสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท