เยื้องย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ระวังหนอนหนังเหนียวระบาด


ฤดูกาลที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปรผันไปตามกฎของธรรมชาติเช่นกันไม่เว้นแม้แต่โรคแมลงศัตรูพืช

เผลอแป๊ปเดียวปีเก่าก็ค่อยๆห่างไกลออกไปปีใหม่ก็ผ่านข้ามาอย่างรวดเร็วทำให้เดือนแรกของปี 2552 นี้จะสิ้นสุดลงในอีกไม่ช้า วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาย่อมทำให้สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ฤดูกาลที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปรผันไปตามกฎของธรรมชาติเช่นกันไม่เว้นแม้แต่โรคแมลงศัตรูพืชของ คะน้า พริก กระเทียม หอมและผักกาด ในระยะที่จะเข้าสู่หน้าร้อนจะเริ่มมีการระบาดของหนอนมากขึ้น ถ้าเกษตรกรมีการเตรียมแปลง ปรับปรุงพีเอชดินให้ได้ 6.0 – 6.5 ใส่ภูไมท์ซัลเฟตรองพื้นสร้างความแข็งแกร่งปรับปรุงสภาพดินให้มีการระบายถ่ายเทน้ำดี ก็จะมีปัญหาน้อยหน่อย แต่ถ้าเกษตรกรท่านใด ไม่มีการเตรียมแปลงที่ดีก็อาจจะทำให้ผลผลิตของพืชผักได้รับความเสียหายจากโรคภัยได้โดยง่าย


หนอนหนังเหนียวหรือบางท้องที่เรียกกันว่าหนอนหลอดหอมนั้น ในหน้าร้อนนี้จะมีการเข้าทำลายพืชผักให้ได้รับความเสียหายได้โดยง่าย โดยจะเข้ากัดกินทำลายใบ กิ่ง ก้าน และส่วนต่าง ๆ ของพืชผักจนไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน สูญเสียเงินทองที่ต้องใช้ในการลงทุนไปมากมายในการผลิตหรือในการปลูกแต่ละครั้ง บางท่านอาจจะแก้ปัญหาโดยการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้ผลเพราะหนอนมักจะดื้อยา ในการฉีดพ่นครั้งแรกพอเอาอยู่ แต่พอฉีดหนที่สอง หนที่สาม เริ่มชักจะไม่ได้ผล หนอนไม่ตาย  ทำให้ต้องดิ้นรนขวนขวายหาซื้อยายี่ห้อใหม่ ๆ อยู่ร่ำไป นั่นย่อมหมายถึงการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย หรือในบางครั้งสาเหตุของการที่หนอนไม่ตายก็อาจจะมีสาเหตุมาจากการทำลายฤทธิ์ยาโดยน้ำที่นำมาใช้ฉีดพ่น (จากห้วย หนอง คลอง บึง) อาจมีค่าเป็นด่างจัด(Alkaly Hydrilysis) เพราะก่อนที่จะทำการผสมปุ๋ยยาไม่มีการปรับค่าความเป็นกรดและด่างของน้ำให้ได้มาตรฐานเสียก่อนคือจะต้องมีค่าพีเอชอยู่ที่ 5.0 – 5.5 โดยการใช้กรด ซิลิสิค แอซิด, น้ำส้มสายชูหรือ มะนาวก็ได้ แต่ซิลิสิค จะประหยัดที่สุดอีกทั้งมีประโยชน์จากแร่ธาตุซิลิก้าช่วยทำให้เซลล์แข็งแกร่งด้วย โดยหลังจากทำการปรับสภาพน้ำก่อนเติมปุ๋ย ยา ฮอร์โมนแล้วจะช่วยทำให้การใช้สารต่างๆ ได้ผลดีมีประสิทธภาพยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันเกษตรส่วนใหญ่ก็เริ่มหันมาใช้เชื้อบีทีชีวภาพ หรือจุลินทรีย์ปราบหนอนกันมากขึ้น ซึ่งให้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างหรือดีกว่ายาฆ่าแมลงอีกด้วยเพราะไม่ดื้อยา ประสิทธิภาพหรือลักษณะการเข้าทำลายหนอนของเชื้อบีทีชีวภาพให้ลองนึกถึงอาวุธเชื้อโรคที่มนุษย์ใช้เข่นฆ่ากันเองในภาวะสงครามจะเหมือนกันเลยครับ แต่เชื้อบีทีชีวภาพนี้เขาเป็นอาวุธเชื้อโรคสำหรับหนอนโดยเฉพาะทำให้หลังการฉีดพ่นไปหนึ่งหรือสองวัน หนอนเริ่มจะขยับเขยื้อนได้ช้าลง บางตัวหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว และค่อย ๆ ทยอยตายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนพบว่าพืชผักหยุดถูกทำลายโดยสิ้นเชิง แถมยังเป็นเชื้อที่ผลิตเองในประเทศไทยสามารถขยายเชื้อได้หลากหลายวิธีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะบ้านไหนมีมะพร้าวไม่ต้องไปซื้อหามาจากที่อื่นต้นทุนยิ่งต่ำ ซึ่งสูตรการหมักขยายต่าง ๆ ท่านสามารถเขียนจดหมายหรือโทรมาสอบถามกับเจ้าหน้าที่ชมรมได้ที่ 0-2986-1680-2

 

มนตรี  บุญจรัส 

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ   www.thaigreenagro.com

 

 

หมายเลขบันทึก: 290266เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท