ปัญญา: Generalization


นัยทั่วไป หรือ Generalization เป็นลักษณะหนึ่งของปัญญา  เกิดขึ้นเมื่อคนหรือสัตว์ "แยกไม่ออก" หรือ "จำแนกไม่ได้" ก็ลงสรุปว่าเหมือนกัน เรียกว่า  ลงสรุปเป็นัยทั่วไป  เช่น  เห็นายแดงก็ทักว่านายดำที่เราเคยเห็นมาก่อน  ที่แท้นายแดงเป็นฝาแฝดของนายดำ  และเราไม่เคยพบนายแดงมาก่อนเลย  ที่เราทักผิดคนเพราะว่า "เราจำแนกไม่ออก" ว่าเป็นคนละคนกัน  การที่เราแยกไม่ออก  ทำให้เราลงสรุปเป็นนัยทั่วไป

ทั้งการจำแนก  และนัยทั่วไป  เป็นคามสามารถทางปัญญา  คือความสามารถทั้งสองนี้  ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้  การแก้ปัญหาได้ ทำให้เราคิดว่า  เรามีปัญญา

เราเคยได้ยินว่า "คุณนี่ เห็นอะไรๆ  ก็เหมาเอาว่าเป็นอันนั้นทั้งหมด"  คำว่า "เหมาเอาว่า" ก็มีความหมายเป็น "นัยทั่วไป"

ในการเรียนอ่าน  เราต้องใช้ "ความสามารถด้านจำแนก"  เพื่อจำแนก  ก  ข  ค ... ฮ  ได้  มิฉะนั้นแล้ว  คงจะยุ่งเหยิง  อ่านหนังสือไม่ออกแน่ๆ

ในขณะเดียวกัน  ถ้าเรา "มองไม่เห็นความเหมือน" ระหว่าง  นายแดง  นางสาวสมศรี  เด็กชายเขียว  ยายลำเจียก  ฯลฯ  กันบ้างเลย  เช่น  ต่างก็  พูดได้  ต่างก็เดินสองขา เป็นต้น  แล้วเราก็คงจะ ไม่สามารถมีมโนทัศน์กับ "คน" ได้เลย

จึงเห็นได้ว่า  ทั้งความสามารถด้าน  จำแนก  และ  สรุปเป็นนัยทั่วไป  จึงเป็น "ลักษณะ" สองลักษณะ ของ "ความมีปัญญา"

แต่น่าแปลกตรงที่  ความสามารถทั้งสองนี้  มีในสัตว์ด้วย  อย่างเช่นใน "สุนัขทดลองของพัฟลอฟ(Pavlov)"  ที่เราทุกคนเคยเรียนในรายวิชาจิตวิทยาทั่วไปในระดับปริญญาตรีมาแล้วทุกคน

คำสำคัญ (Tags): #นัยทั่วไป generalization
หมายเลขบันทึก: 289128เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท