การจัดพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษานอกระบบ


การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เท่านั้นที่ตอบคำถามเรื่องความหมายของสังคมแห่งการเรียนรู้

พิมพ์สุภา ทรัพย์อยู่

            เรียน เอกเทคโนโลยีและสื่อการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เทอมสุดท้าย

เชื่อว่า การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เท่านั้นที่ตอบคำถามเรื่องความหมายของสังคมแห่งการเรียนรู้  จะพบว่าสังคมแห่งการเรียนรู้นั้นมุ่งให้ประชาชนในชุมชน หรือในสังคมได้มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต การที่ประชาชนจะเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้นต้องอาศัยทั้งการศึกษาในระบบซึ่งจัดในชุมชน เพราะฉะนั้นการศึกษาที่จะเป็นหลักและจะอยู่กับประชาชนไปตลอดทุกช่วงชีวิตก็คือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ในแต่ละชุมชนแหล่งที่จะให้การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัยได้เป็นอย่างดีก็คือ แหล่งวิทยาการในชุมชน ซึ่งแหล่งวิทยาการชุมชนในแต่ละชุมชนจะมีทั้งประเภท 1) บุคคล 2)อาคารสถานที่ 3)วัสดุอุปกรณ์ 4)ทรัพยากรธรรมชาติ

                ที่น่าสนใจสุด และคิดว่าแต่ละชุมชนน่าจะให้การสนับสนุนนะค่ะ คือ การจัดพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษานอกระบบ อันนี้แอบไปดูมาจากเว็บไซร์ของ กศน.อำเภอบ้านแพรก ในหน้าแรกจะเห็น ส่วนที่เป็นเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก ก่อตั้งโดย อาจารย์ประสาน  เสถียรพันธุ์  ตรงนี้สอดคล้องกับแนวโน้มของการจัดพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษานอกระบบ จะอยู่ในแนวทางของการจัดให้เกิดกระบวนการศึกษาตลอดชีวิต โดยให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งการเรียนรู้แหล่งหนึ่งที่ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

                ข้อดีของการมีพิพิธภัณฑ์

                1) เป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ในด้านต่างๆตามประเภทของพิพิธภัณฑ์ เช่น วิถีชีวิตภูมิปัญญาไทย ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                2) เป็นการธำรงและสืบทอดคุณค่าเอกลักษณ์และมรดกของชาติ

                3) เป็นแหล่งแสดงวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น หรือของชาติในภาพรวม

                4) เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและวิจัยเฉพาะทาง

                5) เป็นแหล่งสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้กับชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

                6) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน

                7) เป็นสถานที่ให้การศึกษาตามอัธยาศัย

                8) เป็นแหล่งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

                9) เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                ในส่วนนี้คาดว่า ที่อำเภอเสนาของเรา น่าจะมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้นเป็นแห่งแรกที่ ตำบลบางนมโค นะค่ะในอนาคต แต่ตอนนี้ถ้าใครได้ไปเที่ยววัดบางนมโค ไปกราบนมัสการหลวงพ่อปานที่วิหาร จะพบพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆที่เก็บเรื่องราวของตำนานพระเครื่องชื่อดังของเมืองไทย คือ หลวงพ่อปานพิมพ์นิยม 6 พิมพ์  ซึ่งเล่าเรื่องของชุมชนที่นั้นได้ราวกับเป็นตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 287550เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนรู้การทำบล็อกได้เร็วดี

ผมนำบล็อกนี้เข้าแพลนเน็ตผมแล้วนะ

ถ้าสนใจบล็อกผม เจ้าไปดูได้ที่ http://gotoknow.org/blog/nfeph999

ว๊าวๆๆๆๆๆ  เข้ามาทักจ๊ะ  แทรกรูปเข้ามาได้ยัง

หวัดดีค่ะ คุงครูคงจ๋วย จำธนพรด้ายเป่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท