เรียนรู้การเพาะเห็ดฟางแบบมือสมัครเล่น (ตอนที่ 5 [จบ] )


เห็ดฟางปลอดสารพิษ ต้นทุนต่ำ

หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลทั่วไป และสภาพปัญหา และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปบ้างแล้ว ทีนี้เรามาเรียนรู้การเพาะเห็ดฟางกันต่อนะครับ อันดับแรกเลยควรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเตรียมดินหรือเตรียมแปลงเพาะเห็ด ส่วนใหญ่ก็จะขุดดินตากย่อย แต่ถ้าดินร่วนซุยมาก ๆ หรือเป็นดินทรายอยู่แล้วก็เพียงปาดพื้นให้เรียบก็พร้อมที่จะใช้งานได้แล้ว เอาไม้มาตีเป็นกรอบ เป็นแม่พิมพ์กว้าง 1 ฟุต ยาวฟุตครึ่งหรือ 2 ฟุต สูง 1 ฟุตหรือจะมีรูปร่างแตกต่างจากนี้ก็ใช้ได้ทั้งนั้น วางบนพื้นดิน เอาวัตถุดิบคือเปลือกของหัวมันสำปะหลังหรือฟางข้าว เอามาแช่หรือเอามาชุบน้ำให้เปียก
แล้วนำมาวางใส่ไว้ในกรอบไม้ ใส่จนได้ระดับที่ต้องการเช่น ประมาณ 1 ฝ่ามือหรือประมาณ 1 คืบ แล้วก็กดให้แน่น จากนั้นก็ยกกรอบไม้ออก วางเลยไปประมาณ 1 ฟุต แล้วก็ทำกองต่อไปทำเหมือนกัน ทำอย่างนี้มากจนถึงระดับที่พอใจแล้ว ก็เอาเชื้อเอาอาหารเสริมมาใส่ โรยให้ทั้งบนกองและทั้งบนดินรอบ ๆ กอง รดน้ำอีกจนเพียงพอ น้ำสุดท้ายใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตจำนวน 1 กก.ต่อน้ำ 5 ปีบ กวนให้ละลายแล้วก็รดลงไป สุดท้ายแล้วปิดด้วยผ้าพลาสติก เอาฟางคลุมทิ้งไว้ 3 วัน 3 คืน เส้นใยเห็ดฟางก็เจริญแผ่ไปทั่ว วันที่ 4 เปิดผ้าพลาสติกใช้น้ำรดลงไปตัดใยให้ยุบเพื่อเป็นการถ่ายเทอากาศแล้วปิดเหมือนเดิม ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือจะเป็นนมถั่วเหลือง, นมยูเฮชทีรสหวาน 1 กล่อง นำมาเทใส่ถุงน้ำแข็งไส แล้วนำเชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัม ตักใส่ลงไป นำหนังยางผูกหูไว้ข้างหนึ่งแล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่มอากาศเย็น ทิ้งไว้ให้ได้ 24 ชั่วโมง และไม่เกิน 48 ชั่วโมง แล้วนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ราดรดตัดใยแทนน้ำเปล่า เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดเชื้อรารวมทั้งกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยด้วยนะครับ หรืออาจจะใช้สารกระตุ้นดอกเห็ดผสมไปกับน้ำพร้อมกันก็ได้เหมือนกันครับครับ บางคนอาจจะขึ้นโครงวันนี้หรือบางคนอาจจะขึ้นโครงมาตั้งแต่วันแรกแล้วก็คลุมไว้ตามเดิม แล้วเปิดรดน้ำตามความจำเป็นดูความเหมาะสม ดูว่าดินแห้งหรือกองแห้งหรือไม่อย่างไร และถ่ายเทอากาศ ทำในวันที่ 5 และวันที่ 6 วันที่ 7 และวันต่อไป ประมาณวันที่ 7 ก็มีเห็ดให้เริ่มเก็บได้แล้ว เห็ดนี้ก็จะเก็บได้จนกระทั่งหมด อาจจะใช้เวลาแค่ 3 – 5 วัน แต่ถ้าทำกองค่อนข้างสูงก็อาจจะเก็บได้หลายวันขึ้น ควรทำการย้ายที่ทำแปลงใหม่ ถ้าเก็บดอกเห็ดได้น้อยและไม่คุ้มกับค่าแรงที่ต้องจ่ายออกไป


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)

หมายเลขบันทึก: 286768เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท