อีสาน


วิจัยอีสาน

อีสาน ใคร ๆ ก็บอกว่าตนเองเข้าถึง(องค์ความรู้)แล้ว แต่จริง ๆ แล้วอีสานมีความลึกลับแต่ไม่ซับซ้อน เห็นได้จากงานศิลป์ต่าง ๆ ของอีสานจะมีลักษณะเรียบง่ายแต่ได้ความเข้าใจ เหนืออื่นใดอีสานมีภูมิปัญญาให้ค้นหา ผู้เขียนเคยเดินทางไปขลุกตัวอยู่กับชาวอีสานหลายต่อหลายกลุ่ม แต่สิ่งที่มองเห็น สัมผัส และบันทึกเรื่องราวนั้นทำได้น้อยมาก เพราะปัญญาอีสานนั้นต้องละทิ้งความซับซ้อนยุ่งยากของแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ แต่ต้องอาศัยความลุ่มลึกทางปัญญาพิเคราะห์ความ .....มีอยู่วันหนึ่ง ผู้เขียนเดินทางเข้าเมืองกรุง เพื่อไปฟังการบรรยายพิเศษเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติและฟังการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท-เอก มีผลงานวิทยานิพนธ์ชิ้นหนึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบสำนวนไทยกับผญาภาษิต ผู้นำเสนอได้ยกตัวอย่างบทผญาว่า ..............เห็นคนให้ฮู่...เห็นฮูให้แญ่.....พ่อแม่ให้ล่ำแญง...... แล้วเขาก็อธิบายว่า ฮู่, ฮู แปลว่ารู้ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ฮู่ แปลว่า รู้ ส่วน ฮู แปลว่า รู ตอนนั่งตัวเองนั่งฟังแล้วตั้งคำถามว่า "ทำไมเขาแปลผิด" เราจึงนึกถึงบทผญาอื่น ๆ ที่มีศัพท์โบราณแล้วเขาจะทำให้เสียหายหรือไม่ ผู้เขียนเคยปริวรรตใบลานแล้วเกิดติดขัดคือแปลข้อความไม่ได้ "แล้วนางจึงเอาแก้วมาไว้ในไตคำ" ผู้เขียนเกิดความสงสัยอย่างยิ่ง  ถามผู้เถ้าผู้แก่หลายคนก็ไม่ทราบความหมาย  ท้ายที่สุดท่านครูบาพรชัย(ผศ.พรชัย  ศรีสารคาม)เฉลยว่า ไต หมายถึง  ถาด,  พาน  หรือเชี่นหมากก์ได้  แล้วก็เมตตายกคำคล้องจองเป็นตัวอย่างให้ฟังว่า "เงี่ยงโถโอไต"  เงี่ยง = กระโถน, โถ = ภาชนะก้นลึกรูปทรงกระบอกหรือคล้ายคลึง, โอ = ขันตักน้ำ  เท่านั้นแหละผู้เขียนก็ถึงบางอ้อโดยปริยาย

ความอันนี้จึงฝากนักวิจัยทางด้านวัฒนธรรมอีสานทั้งหลายขอให้พินิจขอพอเห็นต่าง ๆ จากข้อมูลวัฒนธรรมอีสานให้ดีเพราะอาจได้ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนก็เป็นได้

เปิดบ้านใหม่ก็อยากฝากข้อสังเกตไว้เผื่อจะมีคนหยิบยกเอาไปเขียนบทความหรืองานวิจัย

๑. นาคอีสานทำไมถึงมีหู

๒. อูบมุง  หอพระที่ไร้คนสนใจ

๓. ฮางฮดสรง  ศิลปกรรมชิ้นเอกของอีสานหายไปไหน

๔. พระบฎ  พระกะโต พุทธศิลป์บนผืนผ้า

๕. ธำมาสน์เทาศน์ผะเหวด:ความคงอยู่ที่อาการร่อแร่

๖.วิทยาการบนใบลาน: ศาสตร์และศิลป์แห่งการบันทึก

พอแค่นี้ก่อนเด้อ  ใครสนใจเอาไปใช้ได้ไม่หวงแต่อย่างใด

คำสำคัญ (Tags): #อีสานศึกษา
หมายเลขบันทึก: 286676เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท