สืบจาก "คำ"


ถอดรหัสด้วยการสืบจาก "คำ"

ผมได้รับเชิญจากดร.รัศมี ชูทรงเดช นักโบราณคดีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำคุณประโยชน์ด้วยการเปิดกรุ "แม่ฮ่องสอน" แล้วเผยแพร่ให้พวกเราได้รู้จักถิ่นฐานและชาติพันธุ์ของตนเอง โดยการร่วมเสวนาในหัวข้อการนำเสนองานวิจัยที่ว่า "สืบจากซาก" ทำให้ผมเกิดไอเดียทางด้านภาษาศาสตร์ จึงตั้งใจจะนำเสนอในสโลแกนที่ว่า "สืบจากคำ" "สืบจากวรรณกรรม" "สืบจากสำนวน" "สืบจากอักษร" ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้อ่านที่สนใจด้านภาษาและวรรณกรรม

และก็อีกเช่นกัน เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา สพท.มส.เขต1 ได้เชิญศาสตราจารย์อัจฉรา ชีวพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย มาให้ความรู้แก่ครูของเราในเรื่องการสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ จึงได้ความรู้ด้านหลักภาษาไทยจากท่านอาจารย์อัจฉราอีกมากเลยทีเดียว เสมือนกับสนับสนุนไอเดียที่อยากถอดรหัสทางภาษาในกลุ่ม "ไท" ของเรา จากการที่ได้ศึกษาเรียนรู้ทั้งภาษาไต ภาษาล้านนา ภาษาไทย รวมทั้งภาษาลาวและภาษาพม่าในบางส่วน (สำหรับภาษาพม่านั้นไม่จัดอยู่ในกลุ่ม"ไท"เกี่ยวข้องในฐานะที่มีอิทธิพลต่อภาษาไตค่อนข้างสูง) ความเกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมทางภาษาที่ใกล้เคียงกันดังกล่าว น่าเรียนรู้อย่างยิ่ง

ผมได้ศึกษาภาษาไทย (ภาษาพ่อขุนฯ)ในหลักศิลาจารึก พบว่ามีบางคำที่เราใช้ร่วมกันทั้งไทยใหญ่ ล้านนา และไทย รวมทั้งลาวด้วย เช่น

เยียข้าว(หลักศิลาจารึกด้านที่๑) ที่แปลว่าฉางข้าว คนไตออกเสียงเยข้าว ล้านนาออกเสียงเยียข้าว ลาวออกเสียงเล้าข้าวหรือเยียข้าว

คำว่า กว่า (หลักศิลาจารึกด้านที่๑) แปลว่าไป ตรงกับภาษาไตที่ผมใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ในขณะที่ล้านนาก็ใช้คำว่าไป ลาวก็ใช้คำว่าไป แต่ออกเสียงวรรณยุกต์จัตวา กลายเป็น ไป๋

คำว่า หั้น (หลักศิลาจารึกด้านที่๑) แปลว่านั้น คนไตออกเสียงนั่น ล้านนาออกเสียงหั้น ลาวก็ออกเสียงหั้น

คำว่า พู้น (หลักศิลาจารึกด้านที่๒) แปลว่า โพ้น คนไตออกเสียงปุ้น ล้านนาออกเสียงปุ้น ลาวออกเสียงพู้น

คำว่า หลวก (หลักศิลาจารึกด้านที่๒) แปลว่า ฉลาด หลักแหลม คนไตออกเสียงลัก ล้านนาออกเสียงหล๊วก ลาวออกเสียงหล๊วก

คำว่า เดือนดับ (หลักศิลาจารึกด้านที่๓) แปลว่าวันแรม14 คำ หรือ 15 คำ คนไตออกเสียงเหลินลับ ล้านนาออกเสียงเดือนดับ ลาวออกเสียงเดือนดับ

คำว่า อ้าย (หลักศิลาจารึกด้านที่๑) แปลว่า พี่ชาย คนไตออกเสียงปั้อ้าย ล้านนาออกเสียงอ้าย ลาวออกเสียงอ้าย

คำว่า แพ้ (หลักศิลาจารึกด้านที่๑) แปลว่าชนะ คนไตออกเสียงแป้ ล้านนาออกเสียงแป้ ลาวออกเสียงชนะ คำนี้มาแปลก คนไทยเอามาใช้กลับแปลว่า แพ้ (ไม่ชนะ) ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด

คำว่า รอด (หลักศิลาจารึกด้านที่๔) แปลว่า ถึง คนไตออกเสียงฮอด ล้านนาออกเสียงฮอดหรือถึง ลาวออกเสียงฮอด

นอกจากนี้คำว่า ป่าลาง หมากม่วง หมากขาม ล้วนเป็นคำไตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทั้งสิ้น

ข้อค้นพบ   ทำให้เห็นรากเหง้าทางภาษาว่าพวกเรา (ไต ไทย ล้านนา ลาว) ต่างก็ใช้ภาษาในตระกูลเดียวกัน พูดง่ายๆภาษาที่พวกเราใช้ต่างก็วิวัฒนาการมาจากภาษา "ไทเดิม" ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า ไต (ไทยใหญ่) นั้นเปลี่ยนแปลงน้อยหน่อย ส่วนใหญ่ยังใช้คำไทเดิมของเราทั้งสิ้น

ทีนี้มาพิจารณาคำบาลี ที่ใช้กันทั้งพม่า ไต และไทย (ภาษาบาลีมาจากอินเดีย ใช้ในพระไตรปิฏก ) ทั้ง 3 กลุ่มต่างก็นับถือศาสนาพุทธจึงมีคำบาลีแทรกอยู่ในภาษาของตนมากน้อยต่างกัน ยกตัวอย่าง

คำว่า เจดีย์   พม่าออกเสียงเจ่ตี่   คนไตออกเสียงจ่าตี่ คนไทยออกเสียงเจดีย์

คำว่า สุรัสวดี พม่าและไตออกเสียงสุระสะตี่ คนไทยออกเสียงสุรัสวดี

คำว่า มรณา พม่าและไตออกเสียง หม่าหละนะ คนไทยออกเสียงมรณา

ข้อคิดเห็น ด้านภาษาไทย หากนักภาษาศาสตร์ของไทยทุกยุค ทุกสมัยไม่พยายามกำหนดคำไทยที่มันสลับซับซ้อน ไม่นำภาษาอื่นมาใช้มากจนเกินไป แต่ยึดหลักภาษาไทเดิมของเรา เน้นการใช้คำไท เช่นชาวไตอย่างพวกผมแล้ว ผมว่าภาษาไทยจะไม่ยากสำหรับผู้ที่จะเรียนรู้ นี่คงเป็นภาษาเดียวในโลกที่เจ้าของภาษาแท้ๆยังบ่นว่ายาก ไม่ชอบเรียน แม้ครูเราที่สอบบรรจุ ยังกลัวข้อสอบภาคความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวกับหลักและการใช้ภาษาไทยเลย นับประสาอะไรกับชาวต่างชาติ  แต่เขาก็ชื่นชมว่า ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ที่ขึ้นๆลงๆ เป็นเสน่ห์ทางภาษา ซึ่งภาษาอื่นไม่มี

ครั้งหน้าจะเล่า "สืบจากวรรณกรรม" จะได้ช่วยกันวินิจฉัยว่าวรรณกรรมต่างๆนั้นใครลอกเลียนแบบใคร

อาจารย์เก

หมายเลขบันทึก: 286442เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ อ. เก

แก้ไขนิดนึงครับ ดร.รัศมี ท่านสอนอยู่ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากรครับ

เผอิญมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลุ่มตระกูลภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สำหรับผู้สนใจตาม link นี้ครับ

<br>

<a href="http://www2.sac.or.th/archives/2552/ethnic/Content/Language.html" target="_self"><strong>http://www2.sac.or.th/archives/2552/ethnic/Content/Language.html</strong></a>

สวัสดีครับ อ. เก

แก้ไขนิดนึงครับ ดร.รัศมี ท่านสอนอยู่ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากรครับ

เผอิญมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลุ่มตระกูลภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สำหรับผู้สนใจตาม link นี้ครับ

<br>

<a href="http://www2.sac.or.th/archives/2552/ethnic/Content/Language.html" target="_self"><strong>http://www2.sac.or.th/archives/2552/ethnic/Content/Language.html</strong></a>

ไม่รู้ทำไมขึ้นข้อความซ้ำกัน 2 อันและลบไม่ได้ด้วย

แก้ไข link นะครับ

http://www2.sac.or.th/archives/2552/ethnic/Content/Language.html

เรียนอาจารย์จีรัง

ขอบคุณมากครับที่ชี้แนะ ผมขออนุญาตเข้าไปชมตามที่ท่านได้แนะนำ

อาจารย์เก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท