การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย


การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

ความหมายของหลักสูตร ( Conception of Curriculum )

                หลักสูตร ( Curriculum ) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า Currere หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาเมื่อนำมาใช้กับการศึกษา จึงหมายถึง Running Sequence of Courses or Learning Experience ซึ่งเปรียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฝ่าฟันความยากของวิชา หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆที่กำหนดเอาไว้ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ  

สำหรับความหมายของ หลักสูตรระดับอุดมศึกษาหมายถึง การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นที่สาม ( Tertiary Education ) ซึ่งถือเป็นระดับการศึกษาขั้นสูงสุด นำมาระบุรายวิชา กำหนดขั้นตอนก่อนหลังของเนื้อหาความรู้ที่ชัดเจน และจัดให้เป็นระบบภายใต้กรอบระยะเวลาทรัพยากรที่กำหนด เพื่อสร้างศักยภาพของนักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิตที่ต้องการ

ส่วนความหมายของ การพัฒนาหลักสูตรนั้น หมายถึง การจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลและสภาพสังคม  ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรนั้นเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถาบันการศึกษา จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่า การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนั้น หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ขึ้นมาใหม่ (สญามล ทองเก้า , 2551 )

 

สภาพและปัญหาทั่วไปของหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

                การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของไทยในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพและพัฒนาสังคม ให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ มุ่งปลูกฝังจิตสำนึก ที่ถูกต้อง รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักการศึกษาไทยมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรมากเพียงพอ แต่เมื่อมองหลักสูตรระดับอุดมศึกษาแล้ว พบว่าหลักสูตรระดับอุดมศึกษายังไม่ดีเท่าที่ควรในหลายประเด็น สาเหตุหลักมีหลายประการ ประกอบด้วย

-     เรื่องของหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่รับรู้กันในวงแคบๆ เฉพาะนักหลักสูตร และผู้ที่สนใจ หลักสูตรควรเป็นเรื่องที่เปิดกว้างให้สังคมมีส่วนรับรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้คนเห็นความสำคัญของหลักสูตรมากขึ้น

-     การปรับปรุงหลักสูตรยังไม่มีกำหนดที่แน่นอนและชัดเจน

-     วิสัยทัศน์ของผู้พัฒนาหลักสูตรส่วนใหญ่ยังไม่กว้างไกลเท่าที่ควร

-     ยังไม่มีการบูรณาการหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สมบูรณ์ ในสาขาวิชาที่เรียนแต่สอนให้ผู้เรียนเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ที่ศึกษาเท่านั้น

ดังนั้น การปฏิรูปการจัดการหลักสูตรควรมีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ และมีความหลากหลาย เช่น การเพิ่มการจัดหลักสูตรนานาชาติ เน้นการปรับปรุงหลักสูตรในด้านการปรับปรุงคุณภาพและมีความทันสมัย พัฒนาหลักสูตรให้ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง และการประสานความรู้จากหลักสูตรให้เข้ากับชีวิตประจำวัน

แนวโน้มเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย

                ผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมประชากร เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง ทำให้แนวโน้มเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยมีลักษณะ ดังนี้

1. หลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป

                จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้คนในสังคมต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถในหลายสาขา เพื่อให้ตนเองรู้เท่าทันและอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกด้าน จึงหันมาสนใจหลักสูตรการศึกษาที่ให้ความรู้ตั้งแต่สองศาสตร์ขึ้นไป เช่น บัญชีควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ควบคู่กับเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ควบคู่กับสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ( เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ , 2550 )

2. หลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มมากขึ้น 

               เนื่องจากสภาพโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการหลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น และจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศเข้าในไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดในกลุ่มผู้เรียนฐานะดี

3. หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงาน 

              หลักสูตรสำหรับกลุ่มคนทำงานจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานของบุคลากรในองค์กร สถาบันอุดมศึกษาอาจเปิดหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรภาคค่ำนอกเวลาทำงาน หลักสูตรทางไกลที่เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเนื้อหาหลักสูตรควรมีความหลากหลาย มีความน่าสนใจ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในวัยทำงาน อาทิ หลักสูตรเฉพาะที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคนในวัยแรงงาน เป็นได้ทั้งหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรหลักในสถาบันการศึกษาก็ได้ เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับ Global literacy ได้แก่ ภาษา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสารสนเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ สังคมและวัฒนธรรมในโลก หลักสูตรการคิด ได้แก่ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงอนาคต การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงสังเคราะห์ ฯลฯ หลักสูตรเพิ่มความสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงไปทั่วโลก ได้แก่ หลักสูตรในการสร้างหุ้นส่วน การเจรจาต่อรอง การประสานประโยชน์ เป็นต้น หลักสูตรปริญญา 2 ใบควบกัน เหมาะสำหรับคนวัยทำงานที่ต้องการลงทุนด้านการศึกษาครั้งเดียวแต่ได้คุ้มค่า

              เนื่องจากสภาพโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ ส่งผลให้ความต้องการหลักสูตรนานาชาติมีมากขึ้น และจากการเปิดเสรีทางการศึกษา ยังเป็นโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศเข้าในไทย และเปิดหลักสูตรภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ยิ่งกระตุ้นให้หลักสูตรการศึกษานานาชาติได้รับความนิยมมากขึ้น แต่เนื่องจากหลักสูตรนานาชาติมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การเรียนในหลักสูตรนี้ยังคงจำกัดในกลุ่มผู้เรียนฐานะดี

<p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt;"> ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของไทย</p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 1.0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify;"> การพัฒนาหลักสูตรนั้น เป็นการจัดทำหลักสูตร การปรับปรุง และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลและสภาพสังคม  ซึ่งการพัฒนาหลักสูตรนั้นเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถาบันการศึกษา ส่วนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนั้น หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ขึ้นมาใหม่ แม้ว่านักการศึกษาไทยมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรมากเพียงพอ แต่เมื่อมองหลักสูตรระดับอุดมศึกษาแล้ว พบว่าหลักสูตรระดับอุดมศึกษายังไม่ดีเท่าที่ควรในหลายประเด็น ซึ่งการปฏิรูปการจัดการหลักสูตรควรมีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ และมีความหลากหลาย เช่น การเพิ่มการจัดหลักสูตรนานาชาติ เน้นการปรับปรุงหลักสูตรในด้านการปรับปรุงคุณภาพและมีความทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประสานความรู้จากหลักสูตรให้เข้ากับชีวิตประจำวัน</p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt;">                 การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถาบันการศึกษา คณะทำงานควรคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ การถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งนอกจากกลุ่มบุคคลที่สำคัญอย่างอาจารย์ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และนักวิชาการแล้ว อีกกลุ่มบุคคลที่ควรรับฟังความคิดเห็น คือ ผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนเองจะเป็นผู้ที่รับผลโดยตรงจากการพัฒนาหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอน  ในการพัฒนาหลักสูตรที่ดีนั้น เราควรเน้นความสำคัญของสภาพและความต้องการของผู้เรียน สภาพความต้องการของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ และศักยภาพของสถาบันการศึกษานั้นๆที่ต้องการพัฒนาหลักสูตร โดยจุดประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษานั้นควรครอบคลุมถึง 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาการด้านความรู้ ความเข้าใจ ( Cognitive Development ) พัฒนาการด้านทักษะ ( Psychomotor Development ) และพัฒนาการด้านเจตคติ ( Affective Development ) ซึ่งแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการกำหนดจุดประสงค์การพัฒนาหลักสูตรก็คือ  ข้อมูลจากผู้เรียนในสังคมปัจจุบันนั่นเอง</p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 1.0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 1.0pt;">                        เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันมีผลทำให้แนวโน้มเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษาในประเทศไทยมีลักษณะที่สำคัญ เช่น การเปิดหลักสูตรใหม่แบบบูรณาการ 2 ศาสตร์ขึ้นไป เนื่องจากคนในสังคมมีความต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถในหลากหลายสาขามากขึ้น , การเปิดหลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันตลาดแรงงานต้องการคนที่มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศสูงขึ้น รวมถึงมีการเปิดหลักสูตรสำหรับกลุ่มคนที่ทำงานมากขึ้นจากเดิม เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานของบุคลากรในองค์กรของตน ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเตรียมพร้อมในเชิงรุก โดยสนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt;">                ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการศึกษาไทยมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้ทันกระแสโลกาภิวัตน์ ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อมในเชิงรุก โดยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการศึกษา</p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 36pt; TEXT-INDENT: -36pt; TEXT-ALIGN: justify"> รายการอ้างอิง</p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 36pt; TEXT-INDENT: -36pt; TEXT-ALIGN: justify"> </p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 27pt; TEXT-INDENT: -27pt; TEXT-ALIGN: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt"> เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. หลักสูตรอุดมศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า[ออนไลน์]. 2550. แหล่งที่มา: http:// www.kriengsak.com/index.php?components=content&id_con tent_category_main=23&id_content_ topic_main=53&id_content_management_main=1107</p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 35.45pt; TEXT-INDENT: -35.45pt; TEXT-ALIGN: justify"> </p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 27pt; TEXT-INDENT: -27pt; TEXT-ALIGN: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt"> ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. ความรู้เรื่องหลักสูตรและการสอนสำหรับผู้บริหารการศึกษา[ออนไลน์]. 2542. แหล่งที่มา: http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~kyurawat/doc/candi.pdf</p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 27pt; TEXT-INDENT: -27pt; LINE-HEIGHT: 15.6pt; TEXT-ALIGN: justify"> </p> <p class="MsoNormal" style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt 27pt; TEXT-INDENT: -27pt; TEXT-ALIGN: justify; mso-line-height-alt: 15.6pt"> สญามล ทองเก้า. การพัฒนาหลักสูตร[ออนไลน์]. 2551. แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/ blog/sayamol/196799</p>

หมายเลขบันทึก: 285430เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเปิดหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษาไทย ค่อนข้างเลียนแบบกันและตามท้องตลาด เช่น สาขาบริหารการศึกษา ก็เปิดทั้ง ป.ตรี ป.โท ป.เอก เกือบทุกมหาวิทยาลัย และเปิดให้เรียนทั้งในเวลาและนอกเวลาทำงาน เก็บค่าใช้จ่ายก็แพง แต่ละหลักสูตรก็คล้ายกัน คณะอาจารย์ผู้สอนก็คล้ายกันหมด จบมาก็คงเดินชนไหล่กัน ไม่มีการพัฒนางานวิจัยใหม่ ๆ

หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เปิดกันเยอะ แต่ในที่สุดแล้ว ก็หนีไม่พ้น ยังไม่พัฒนางานวิจัยใหม่ ๆ เช่นกัน

สำคัญที่สุดคือ การควบคุมมาตรฐานที่ดีกว่าเดิม และหาวิธีการในการเปิดหลักสูตรใหม่ ๆ แต่ยืดหยุ่นและไม่แพงเช่น การเรียนผ่าน e-learning เป็นต้น

หลักสูตรการสอนในระดับอุดมศึกษาไทยเมื่อก้าวเข้าสู่โลกาภิวัฒน์ จุดออ่นที่สำคัญคือการเข้าถึงและความเสมอภาคในโอกาสเข้าสู่อุดมศึกษา ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรควรเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อบูรณาการและสร้างความสามารถในการแข่งขัน

การเปิดหลักสูตรที่ตลาดนิยมในขณะนี้มักเลียนแบบกัน แทนที่จะคำนึงในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตร แม้ว่าแต่ละสถาบันมีระบบการประกันคุณภาพภายใน และต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกตามที่กฎหมายกำหนด โดยที่มีเกณฑ์และวิธีการที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันแล้ว เห็นว่ายังต้องมีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อการรับรองหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับสถาบันทุกประเภท และส่งเสริมให้องค์กร สมาคมวิชาการ/วิชาชีพ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลคุณภาพและมาตรฐานของหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษา

ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษามากมายที่เปิดหลักสูตรที่มีชื่อเหมือนกัน แต่หากพิจารณาดูดีๆก็จะพบว่าต่างสถาบัน วิชาก็จะแตกต่าง อาจารย์ผู้สอน ก็แตกต่าง รวมถึง Environment ของแต่ละสถาบันก็ต่างกัน

ซึ่งคุณภาพของหลักสูตรในแต่ละสถาบันการศึกษา ปัจจัยหลักที่จะทำให้สาขาวิชามีคุณภาพและมาตรฐานหรือไม่ขึ้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาว่าให้ความสำคัญกับการจัดหลักสูตรการศึกษาและต่อเนื่องไปถึงการเรียนการสอนที่เล็งผลเลิศต่อการผลิตบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการของสังคม (Good Governance & Relevance )

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท