APN of trauma สร้างเครือข่ายร่วมเรียนรู้


กระตุ้นให้พยาบาล สานต่องานอย่างเป็นระบบ ต่อยอดงานพัฒนา

การบริการวิชาการ เป็นหนึ่งในหน้าที่ของหน่วยงาน การเป็นพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และพยาบาลชำนาญการ จะได้รับผิดชอบในส่วนนี้

21 กรกฎาคม 2552 ดิฉัน พนอ เตชะอธิก กัญญา วังศรี และสุนทราพร วันสุพงศ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรจากโรงพยาบาลจังหวัดร้อยเอ็ด เรา 3 คน รับผิดชอบคนละ 2 ชั่วโมง หมุนเวียนกันเป็นวิทยากร โดย

1. สุนทราพร วันสุพงศ์ บรรยาย เรื่อง การพยาบาลโรคหลอดเลือดและหัวใจ กับระบบ ACS fast_ tract

2. พนอ เตชะอธิก บรรยาย เรื่อง ระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและการพยาบาลบำบัด กับบทบาทของพยาบาลในศูนย์อุบัติเหตุ "APN พาทำอะไรบ้าง"

3. กัญญา วังศรี เรื่อง การบริการการแพทย์ฉุกเฉินและการส่งต่อ การทำทะเบียนผู้ป่วยอุบัติเหตุ (Trauma Regirtry )

งานที่เรานำเสนอนั้น จะเน้นบทบาทของพยาบาลและการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางการพยาบาล เป้าหมายในใจของวิทยากร คือ กระตุ้นให้พยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน สานต่องานอย่างเป็นระบบและพัฒนาต่อยอด ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นการเริ่มงานใหม่ เพราะเราคือ เครือข่าย

คำสำคัญ (Tags): #apn#cns#kku#network
หมายเลขบันทึก: 284508เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่แก้วค่ะ ใช้แล้วเสื้อR2R ส.ร.ว.ส.

ดิฉันซื้อมาฝากน้องๆในสังกัด เขาดีใจมากค่ะ ไก่บอกว่าอยากใส่เสื้อนี้ไปโชว์พยาบาลที่ รพ. ร้อยเอ็ด ใส่สบายและสวยด้วย

ยังงั้นก็ต้องพูดเรื่อง R2R สอดแทรกกับงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

เป็นอันว่าตกลงตามนี้

ได้ดอกมะลิค่ะวันแม่ ไปทานข้าวกับครอบครัว ภูมิใจในตัวลูกๆ ทำให้คุณแม่ดีใจหลายเรื่อง ขอบคุณน้องเกดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท