วิจัยพบสิงห์เข้ม-ลูกดกอายุยืนกว่าสิงห์จืด


 

ภาพที่ 1: ตัวอสุจิ (sperm) ผสมกับไข่ (ovum) ของฝ่ายแม่เพื่อให้โอกาสต่อการเกิดชีวิตใหม่ > [ Wikipedia ]

...

การศึกษาจากเดนมาร์คพบสเปิร์ม (sperm / ตัวอสุจิ) ที่แข็งแรงอาจบ่งชี้ถึงชีวิตที่ยืนยาวยิ่งขึ้น

อ.ดร.ทินา โคลต์ เจนเซน หนึ่งในคณะวิจัย จาก Southern Denmark U, Odense, เดนมาร์ค กล่าวว่า ไม่ต้องดูลายมือ ลายเท้า หรือดูดวงอีกต่อไป... เราวิจัยแล้วว่า สุขภาพของอสุจิบ่งบอกถึงอายุเจ้าของได้

...

ปัญหาผู้ชายมีลูกยาก (male infertility; male = ผู้ชาย; in- = ไม่; fertile = สืบเผ่าพันธุ์ได้ มีลูกได้) พบบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประเทศในอาเซียนที่มีลูกไม่ค่อยดกคือ สิงคโปร์และไทย... ประเทศที่ลูกไม่ดกมักจะต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศลูกดกมากขึ้นเรื่อยๆ

...

สมมติฐานที่เชื่อกันมาแบบเดิมๆ คือ ผู้ชายหลายๆ คนแย่ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว โดยเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมในครรภ์ (ท้องแม่) ไม่ดี, โตขึ้นมาเลยแย่ต่อไปเรื่อยๆ (โอๆๆๆ)

คณะวิจัยเกิดความงุนงง สงสัยในสมมติฐานที่มองผู้ชายในแง่ร้าย ทนนิ่งเฉยดูดายไม่ได้(อีกต่อไป) จึงต้องทำการศึกษาจากผลการตรวจน้ำอสุจิผู้ชาย 43,277 คนในช่วงปี 1963-2001 หรือ พ.ศ. 2506-2544 หรือจนกระทั่งกลุ่มตัวอย่างเสียชีวิต

...

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ชายประเภท "สิงห์เข้ม" หรือมีความเข้มข้นตัวอสุจิสูง (concentration = ความหนาแน่น แปรตามปริมาณเนื้อสารต่อน้ำ กรณีนี้ = จำนวนตัวอสุจิต่อปริมาณน้ำสูง หรือ "เนื้อมาก-น้ำน้อย") มักจะมีอายุยืนยาว

พวก "สิงห์เข้ม" ที่มีอสุจิ 40 ล้านตัวต่อลูกบาศก์ (million/milliliter; M/ml.) ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าพวกสิงห์เจือจางที่มีอสุจิน้อยกว่า 10 M/ml. หรือพวก "สิงห์จืด"

... 

การศึกษานี้พบว่า ผู้ชายที่มีตัวอสุจิขยันดำน้ำ (motile = เคลื่อนไหวได้ ในที่นี้หมายถึงวิ่งไปข้างหน้า ไม่นิ่งดูดาย หรือไม่ว่ายเวียนเป็นวงกลมแบบพายเรือในอ่าง) และมีรูปร่างปกติมากหน่อย

ตัวอย่างเช่น ผู้ชายที่มีตัวอสุจิปกติ 75% ขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ชายที่มีตัวอสุจิปกติน้อยกว่า 25% มากถึง 54%

...

การศึกษานี้พบว่า ผู้ชายที่มีลูกดก หรือมีลูกหลายคน (who fathered children; father = พ่อ ให้กำเนิด; children = เด็กหลายคน) อายุยืนกว่าผู้ชายที่ไม่มีลูก (childless men; child- = เด็ก; -less = ไม่; men = ผู้ชายหลายคน)

เรื่องนี้สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พบว่า ผู้ชายและผู้หญิงที่มีลูก (fertile = มีลูกได้ สืบพันธุ์ได้ เจริญพันธุ์ได้) มีอายุยืนยาวกว่าพวกไม่มีลูก

... 

ต่อไปเป็นคำพิพากษาผู้ชายที่ไม่มีลูกจากการศึกษานี้ ใครไม่พอใจ... ห้ามร้องเรียนศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญไทย แต่ให้ปรึกษาอาจารย์เจนเซนที่โคเปนเฮเกนแทน

  • 'Childless men are known to be less healthy, poorer, and more likely to have chronic illnesses, the researchers note.'
  • แปลว่า "ชายใดไร้ลูก เป็นที่ทราบกันดีว่า มีสุขภาพแย่กว่า (less healthy; less = น้อยกว่า; healthy = มีสุขภาพดี), ยากจนกว่า (poor = ยากจน; poorer = ยากจนมากกว่า), และมักจะมีโรคเรื้อรัง (chronic = เรื้อรัง; ill = เจ็บป่วย; illness = ความเจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บ)มากกว่า, คณะนักวิจัย (research = วิจัย; researcher = นักวิจัย) กล่าว (note = จดโน้ต บันทึก)"

... 

คำปลอบใจ และเหยียบย่ำซ้ำเติมข้างท้ายคำพิพากษามีดังต่อไปนี้...

แต่โอกาสอายุยืนจะขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำอสุจิ (semen = น้ำคัดหลั่งจากต่อมลูกหมาก และต่อมน้ำเลี้ยงอีกหลายต่อม รวมกับตัวอสุจิ) ไม่ว่าผู้ชายจะมีเด็ก (kids) หรือไม่ก็ตาม

... 

ผู้ชายที่มีคุณภาพสเปิร์ม (ตัวอสุจิ) ดีกว่ามีโรคน้อยกว่า โดยไม่ได้สัมพันธ์กับสมมติฐานว่าด้วยสิ่งแวดล้อมในครรภ์ (fetal environment hypothesis; fetal = เกี่ยวกับเด็กในครรภ์; environment = สิ่งแวดล้อม; hypothesis = สมมติฐาน)

นั่นคือ ผู้ชายสิงห์จืด (อสุจิจืดจาง-เจือจาง หรือผิดปกติ เช่น หัวแหว่ง ว่ายเป็นวงกลม นิ่งดูดาย ไม่ว่ายน้ำ-ดำน้ำ ฯลฯ) ทั้งหลายไม่ได้เลวร้ายมาตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องแม่

... 

แต่น่าจะสะสมความบกพร่องหลังเกิด เช่น ไม่ค่อยออกแรง-ออกกำลัง กินมากเกิน นอนไม่พอ สูบบุหรี่ ดื่มหนัก ฯลฯ ชอบทำ "ไข่ (อัณฑะ)" ให้อุ่น เช่น แช่น้ำอุ่นในอ่าง นั่งบนอานมอเตอร์ไซค์ที่ตากแดด ทำให้ไข่ร้อน (ป้องกันได้ด้วยการปูผ้าขนหนูก่อนนั่ง) ฯลฯ

โรคที่เรา (หมายถึงอาจารย์เจนเซนและคณะ) พิพากษาให้พวกผู้ชายสิงห์จืด ต้องรับกรรมมากกว่าประชากรทั่วไปได้แก่ โรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคทางเดินหายใจ (เช่น ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ) โรคทางเดินอาหาร ฯลฯ

... 

อาจารย์เจนเซนกล่าวว่า คุณภาพ "ซีเมน (semen = น้ำอสุจิ ไม่ใช่ซีเมนต์)" ที่ดีอาจเป็นเครื่องหมายของสุขภาพที่ดี และการอยู่รอดที่ดีกว่า (อายุยืนยาว)"

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 > Thank Reuters > Anne Harding. Men with livelier, more plentiful sperm live longer. August 5, 2009. / Source > Am J Epidemiology. นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 6 สิงหาคม 2552. ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 283778เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท