รีบสร้างวินัยเชิงบวก...ก่อนลูกติดลบ


ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่ครอบครัวไร้วินัยเชิงบวกและปราศจากคนต้นแบบ ที่ดีนั้นทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีภูมิต้านทานและภูมิคุ้มกันมากพอ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาในชีวิตและกลับกลาย เป็นปัญหาของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเด็กเร่ร่อน ครอบครัวแตกแยก รวมไปถึงปัญหาอาชญากรรมต่างๆ

บทความนี้ดีมากก็เลยนำมาฝากให้ได้อ่านกันครับ

อาจกล่าวได้ว่า สาเหตุของปัญหาในครอบครัวนั้น นอกจากสิ่งยั่วยุจากกระแสสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆแล้ว ความบกพร่องของคนในครอบครัวในเรื่องการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งทีเดียว เพราะผลของปัญหาที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆที่แสดงถึงความก้าวร้าวหรือความ ไร้เดียงสาของเด็กนั้นได้สะท้อนให้เห็นว่า สังคมของครอบครัวไทยส่วนใหญ่ต่างเน้นในเรื่องการอบรมเลี้ยงดูจากคำสอนและ ทฤษฎีในหน้าหนังสือ โดยปราศจากภาคปฏิบัติของผู้ใหญ่ในการเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็นสักเท่า ไหร่

ดังนั้น เนื่องใน “วันครอบครัว” ถึงเวลาแล้วพ่อและแม่ควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก โดยเฉพาะการสร้างวินัยเชิงบวกที่ต้องเริ่มสร้างให้เด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี เพราะศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะรับได้ง่าย เพื่อจะเป็นการสร้างรากฐานของประชาชนที่ดีต่อไป

พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม จากร.พ.กรุงเทพ ให้คำแนะนำว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องทำเพื่อเด็กๆนั้น คือ ผู้ใหญ่ ต้องเตรียมตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ว่าวัยเด็กต้องการอะไร พวกเขามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องตามใจเด็กๆเสมอไป ซึ่งที่ผ่านมาสังคมไทย ไม่ค่อยสอนให้ลูกติดดินเท่าที่ควร เพียงเพราะอยากให้ลูกสบายและกลัวเขาลำบาก แต่อันที่จริงแล้วพ่อแม่ควรสอนให้ลูกติดดินบ้าง เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจผิดไปว่า ความรักที่มีให้ต่อลูกนั้น แม้ว่าพ่อแม่จะสามารถให้ได้ทุกอย่าง แต่สิ่งนั้นเปรียบเหมือนหอกที่พุ่งมาร้ายลูก ซึ่งเข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉัน

นอกจากนี้การเลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบัน พ่อแม่หลายคนมักอาศัยจากการอ่านหนังสือและปรึกษาญาติผู้ใหญ่ เพราะไม่มีความมั่นใจและไม่มีประสบการณ์ในการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งส่งผลให้ไม่เข้าใจเหตุผลของการกระทำของลูกในหลายๆ ด้าน ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอคือ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยสิ่งแรกที่ผู้ใหญ่ควรทำคือ ต้องปรับเปลี่ยนตัวเราเองเสียก่อน อย่าตีกรอบว่าลูกหลานของเราต้องเป็นอย่างที่เราคิดเสมอไป

ในขณะที่ พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากกรมสุขภาพจิตและผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล แนะนำเพิ่มเติมว่า พ่อ แม่ต้องคุมอารมณ์ตนเองให้ได้เสียก่อน เพราะการที่คนเราสามารถคุมอารมณ์ตนเองได้นั้น นับเป็นบันไดขั้นแรกในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอย่าลืมว่า เด็กจะเป็นอย่างที่เราเป็นมากกว่าเป็นอย่างที่เราสอน ดังนั้นเรื่องกระบวนการเรียนรู้นับเป็นเรื่องที่สำคัญมากเรื่องหนึ่ง”

อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการที่ครอบครัวไร้วินัยเชิงบวกและปราศจากคนต้นแบบ ที่ดีนั้นทำให้ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีภูมิต้านทานและภูมิคุ้มกันมากพอ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ประสบปัญหาในชีวิตและกลับกลาย เป็นปัญหาของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเด็กเร่ร่อน ครอบครัวแตกแยก รวมไปถึงปัญหาอาชญากรรมต่างๆ

นอก จากนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวไทยค่อนข้างอ่อนแอมากคือ การขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้รับฟังที่ดี ซึ่งการทึ่พ่อแม่จะเป็นผู้ฟังที่ดีให้แก่ลูกนั้นทำไม่ยากเลย เพียงแค่พ่อแม่ทุกคนเปิดใจรับฟังว่าลูกมีแนวคิดอย่างไร

ด้านนพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์และหัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้แนะเคล็ดลับวิธีการเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ว่า การ “ครองสติ” คือสิ่งแรกที่มีความสำคัญ โดยพ่อแม่ต้องมีสติที่จะคอยเตือนตัวเองให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อีกทั้งพ่อแม่ทุกคนต้องมีสติเพื่อระลึกอยู่ทุกชั่วขณะว่า เราสามารถเลี้ยงตัวของเขาได้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงหัวใจของเขาให้เป็นอย่างที่เราต้องการได้เสมอไป ดังนั้นพ่อแม่ต้องเคารพในการตัดสินใจของลูก

จากนั้น เมื่อชีวิตคู่เข้าสู่การรับตำแหน่งพ่อและแม่แล้ว พ่อแม่ต้องมี“สัมพันธภาพเชิงบวก” โดยมีแนวทางในการเลี้ยงลูกที่เหมาะสมและชัดเจน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังและครอบครัวสั่นคลอน

การกระทำ เกิดแบบอย่าง” คือประการถัดมา จริงอยู่ที่พ่อแม่ต้องการเลี้ยงลูกให้เติบโตมาอย่างมีคุณภาพและศักยภาพ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อลูกมีต้นแบบ มีแนวทางให้เขาปฏิบัติตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดนั้น ไม่ใช่ใครอื่นเลยนอกจากพ่อและแม่

ถัดมาคือ “การใช้แรงเสริมบวก” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ย่อมอยากได้กำลังใจในการดำรงชีวิต ดังนั้นพ่อแม่และลูกควรมีกำลังใจแบ่งปันกันทุกวัน ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เด็กเดินอยู่บนถนนสายความถูกต้องนั้น นอกจากแบบอย่างและแรงจูงใจแล้ว กำลังใจนับเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เด็กๆหวังที่จะได้รับจากพ่อแม่

ประการต่อไปคือ “รับฟัง” เมื่อคนในครอบครัวเจออุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระหว่างพ่อ-ลูก แม่-ลูกหรือพี่-น้อง ทุกคนควรรับฟังเสียงของเขา โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่ควรจะเปิดใจรับฟังเด็ก เพื่อที่ว่าเราจะได้รู้ว่า เด็กต้องการอะไร

อีกประการที่สำคัญในการเลี้ยงดูคือ“กลเม็ดเคล็ดลับ” พ่อแม่ควรมีเทคนิคหรือกลเม็ดต่างๆในการเลี้ยงลูก ซึ่งตรงนี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว เพราะพื้นฐานนิสัยและความประพฤติของเด็กนั้นๆไม่เหมือนกัน บางครอบครัวอาจมีการสร้างเงื่อนไขเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในขณะที่บางครอบครัวอาจมีการตั้งกฏกติกาในปฏิบัติก็เป็นได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างมีจุดประสงค์เดียวกันในเรื่องของการสร้างวินัยเชิงบวก

สองประการสุดท้ายคือ“เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้”และ “การสร้างชุมชนครอบครัวจำลอง” สำหรับการเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็ก นั้นนับเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจมาก เพราะครอบครัวจะได้มีกระบวนการเรียนรู้ระหว่างพ่อแม่และลูก ซึ่งพ่อแม่ต้องรู้จักสังเกตพฤติกรรมและทำความเข้าใจเด็กในวัยนั้นๆ ด้วย ขณะที่การสร้างชุมชนครอบครัวจำลองหมายความว่า ครอบครัวไทยควรมีการสร้างเครือข่ายครอบครัวขึ้นมา อันเปรียบเสมือนครอบครัวขยายที่มีผู้ใหญ่และเด็กอยู่รวมกันในสังคมนั้นๆ ซึ่งข้อดีของการสร้างชุมชนครอบครัวจำลองหรือครอบครัวขยายนี้จะส่งผลดีให้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในเรื่องของการแบ่งปันปัญหาที่พบเจอ และการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันในการให้คำแนะนำและปรึกษา เพื่อทุกคนจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่า เดิม

และทั้งหมดนี้คือวิธีการสร้างวินัย เชิงบวกที่ผู้ใหญ่ทุกคนควรตระหนักอยู่เสมอว่า เมื่อมนุษย์ทุกคนมีพลังชีวิตที่จะเรียนรู้ และมีศักยภาพที่จะเป็นคนดีได้ เราจึงจำเป็นที่จะต้องจัดระบบความปรารถนาดีให้แก่เด็กๆ ลูกๆและหลานๆของเราทุกคนเพื่อให้สังคมเข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อ้างอิงจาก http://122.155.3.34/~muslimah/islamichomeschool/?q=node/91

หมายเลขบันทึก: 283641เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • วินัยเชิงบวกได้ผลเป็นที่ประจักษ์ค่ะ
  • พยายามใช้กับเด็กมัธยมต้นอยู่ค่ะ
  • ข้อสำคัญครูหรือคนทีทเกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือกัน
  • ถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟังนะคะ
  • และเคยเล่ามาบ้างแล้วในบันทึกต้น ๆค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

วินัยเชิงบวก มีการพูดกันมากในวงวิชาการครับ

ในโรงเรียนเอง  ก็มีการพูดถึงอยู่บ้างครับ

สวัสดีครับ

P ครูคิม

P ท่านรองผอ.เขตฯ
ขอบคุณครับ
ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท