moopum
นางสาว ประภาพร moopum ศรีสมบูรณ์

สาเหตุที่คนพูดกันไม่รู้เรื่อง


พูดภาษาเดียวกันแต่ฟังไม่รู้เรื่อง

คุณเคยมีประสบการณ์ที่เวลาพูดกับบางคนแล้วพูดกันไม่รู้เรื่องบ้างไหม ? ทั้ง ๆ ที่พูดภาษาเดียวกัน
       
        การพูดกันไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจกันนี้จะเป็นอุปสรรคใหญ่ในการทำงานร่วมกัน บางครั้งถึงขั้นแตกความสามัคคีในองค์กร หรือทะเลาะเบาะแว้งกันได้
       
        สาเหตุของการที่มนุษย์พูดกันไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง
       
        อาจมาจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุรวมกันก็ได้ เช่น
       
        1. สนใจตัวเองมากไป คนพวกนี้มักสนใจแต่ความคิดของตนเอง ไม่รับฟังและไม่สนใจคนอื่น
       
        ลักษณะของคนที่ไม่สนใจฟังคนอื่น เช่น
       
        ก) ถามในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องถาม
       
        ข) ให้ความเห็นนอกเรื่องบ่อย ๆ
       
        ค) พูดซ้ำ ๆ ในเรื่องที่ชี้แจงถกเถียงไปแล้ว

       
        พวกนี้เป็นพวกน่าเบื่อ แต่ชอบพูดมาก ๆ และไม่ฟังคนอื่น พบได้ทุกวงการ
       
        2. ชอบต่อต้านการเปลี่ยนแปลง พวกนี้ไม่ยอมพัฒนาตัวเองหรือแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง แม้จะรู้ว่าไม่ดี มักมีนิสัยที่ดื้อรั้นและไม่สนใจคนอื่นต่อไป
       
        3. มีการเสริมแต่งสิ่งที่ได้ยินมาให้มากขึ้น
       
        โดยยึดเอาประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึกของตัวเองเป็นหลัก และนำไปรวมกับข้อมูลหรือข้อความที่ได้ยินมา ทำให้ข้อมูลและความหมายบิดเบือนไปไม่เหมือนเดิม อย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่า
       “ใส่ไฟ” นั่นแหละ
       
        4. ยกเมฆเอาโดยไม่มีเหตุผล
       
        พวกนี้มักคิดยกเมฆเอาเอง แต่งเรื่องเอาเองทั้ง ๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย เวลาคู่สนทนาปล่อยให้มีช่องว่างในการพูดก็จะเสริมข้อความที่ยกเมฆเอาเองเข้าไปดื้อ ๆ
       
        พวกนี้เข้าข่ายมีความแปรปรวนทางบุคลิกภาพ ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่รับผิดชอบในสิ่งที่พูด ปั้นเรื่องต่าง ๆ ขึ้นมาเอง เหมือนโกหกทั้งเรื่องซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมมาก
       
        5. มีนิสัยชอบซ่อนเร้น
       
       บางคนไม่ชอบแสดงออก ขี้อาย กดเก็บ หรือมีทีท่าสมยอมได้ง่าย (เป็นพวก Passive Dependent Personality) จึงพูดน้อยมาก ใครพูดอะไรมาก็เฉย ๆ หรือยิ้ม ๆ หรือถามคำตอบคำ ทำให้อีกฝ่ายแปลความหมายผิด เข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจได้ง่าย
       
        6. มีลักษณะการพูดที่ไม่ปกติ
       
       พบในคนที่มีลักษณะการพูดที่แปรปรวน เช่น การพูดแบบผิวเผินไม่จับประเด็น ( Circumstantial )
       
        บางคนพูดแบบอ้อมค้อม ( Around The Bush ) เสียเวลาในการฟัง จับประเด็นยากหรือแปลประเด็นความหมายไม่เหมือนกัน
       
        บางคนพูดแบบขาดสติ ขาดความต่อเนื่อง ( Blocking ) หรือเริ่มต้นอย่างหนึ่งแล้วไปลงท้ายอีกเรื่องหนึ่ง เป็นคนละเรื่องกัน หรือพูดแล้วหาทางจบเรื่องที่พูดไม่ได้เพราะลืมประเด็นที่เริ่มพูดเอาไว้
       
        บางคนพูดแบบคนพิการหรือมีความบกพร่องทางการพูด เช่น ติดอ่าง พูดตะกุกตะกัก พูดขาดเป็นห้วง ๆ ไม่ติดต่อ ทำให้เข้าใจการสนทนาได้ยาก
       
        7. ขาดสมาธิในการฟัง เช่น ใจลอย หรือกำลังเครียด ทำให้ไม่ตั้งใจฟัง หรือฟังแบบผิวเผิน ทำให้จับประเด็นไม่ได้ ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น แปลความหมายของการสนทนาไม่ถูกต้อง
       
        บางคนขาดสมาธิในการพูด มีความคิดเห็นมากมาย ( Frightening of idea ) จับประเด็นไม่ได้ พูดมาก เข้าข่ายเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน
       
        8. ป่วยทางจิต บางคนป่วยทางจิตเข้าข่ายจิตเภท มีประสาทหลอน ( Hallucination ) พูดคนเดียว สร้างภาษาของตนเองใช้อยู่คนเดียว คนอื่นไม่เข้าใจ
       
        การพูดกันให้รู้เรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญมากในชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตที่บ้าน ที่ทำงาน หรือในการติดต่อสังคมรูปแบบต่าง ๆ
       
        สาเหตุก็มีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่บุคลิกภาพเฉพาะตัวจนถึงป่วยทางจิตในระดับต่าง ๆ ซึ่งต้องหาทางเข้าใจเพื่อจะได้เกิดการพัฒนาแก้ไขหรือรักษาต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ทรัพยากรมนุษย์
หมายเลขบันทึก: 283276เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คนไหนคุยไม่รู้เรื่องก็อย่าใส่ใจนะนู๋

เห็นด้วยค่ะว่าการที่จะพูดอะไร ควรคิดก่อนพูด

..เข้าข่าย..พูดมากปากเหม็น..นิ่งเสียตำลึงทองหรือเปล่าคะเนียะ...

คนเราอย่าเพียงแต่พูดฝ่ายเดียว หัดเป้นผู้ฟังซะบ้างก็จะดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท