เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่ในจิตสำนึกของผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน


เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่ในจิตสำนึกของผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน

ทำไมต้องเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่ในจิตสำนึกของผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน

 

ในปัจจุบันเมื่อพูดถึงคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชน จนทำให้ผู้คนคิดว่าผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจกำลังขาดหลักการบริหารจริงหรือไม่

คุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหารจะต้องเสริมสร้างเรื่องใด เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สนองตอบและส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมไทยได้

ผู้บริหารที่ดีนั้นควรจะมีหลักธรรมที่เรียกว่า พรหมวิหาร 4” (Holy Abidimg) ได้แก่

1. เมตตา (Living Kindness) แปลว่า ความรัก หมายถึง รักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ

2. กรุณา (Compassion) แปลว่า สงสาร หมายถึง ความปรานี ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ สงเคราะห์สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์

3. มุทิตา (Sympathetic Job) แปลว่า มีจิตอ่อนโยน หมายถึง จิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน มีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสตลอดเวลา

4. อุเบกขา (Neutrality) แปลว่า ความวางเฉย นั่นคือมีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบและทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง

เราชาวพุทธ คงเข้าใจดี แต่ว่าผู้บริหารก็คงไม่หลงไปยึดเอาพรหมวิ.....อย่างอื่นแทน?

หมายเลขบันทึก: 282124เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร แต่ก็ยังมีผู้บริหารที่ยังขาดการบริหารด้านคุณธรรมจริยธรรม อยากให้ผู้บริหารทุกคนนำหลักนี้ไปใช้

จะพรหมวิหาร 4 หรือทศพิธราชธรรม ก็ขอให้คนเป็นผู้บริหารมีไว้เถอะค่ะ ดี ๆ ทั้งนั้น

ถ้าผู้บริหารทุกคนมีครบทุกข้อ ทุกคนก็ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท