ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย


คำสอนเตือนสติ

                  

สุภาษิต    คือ คำพูดที่ถือเป็นคติ มีความลึกซึ้ง ใช้สั่งสอน ถือเป็นการวางแนวและแสดงค่านิยมของมนุษย์มาแต่โบราณกาล เช่น สุภาษิตสอนหญิง สุภาษิตพระร่วง ก็มีข้อความสั่งสอนที่แสดงค่านิยมของสมัยนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนพุทธภาษิตคำสั่งสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา เช่น

"รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี (สุภาษิต)

"บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร" (พุทธศาสนาสุภาษิต)

 

           คำพังเพย  เป็นคำเปรียบเทียบเรื่องต่าง ๆ เพื่อใช้ติชม ซึ่งสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อถือ และค่านิยม อันเป็นลักษณะของคนไทย เช่น ค่านิยมในการยกย่องผู้มีอาวุโส เคารพครูบาอาจารย์ และนิยมความสุภาพอ่อนโยน เช่น

"พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง"

หมายความว่า พูดไปไม่มีประโยชน์นิ่งเสียดีกว่า

 

        สำนวน    คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ตามปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เป็นลักษณะคำพูดที่รวบใจความยาว ๆ ให้กะทัดรัด บางสำนวนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย เช่น

"ป้ามาลีรู้ตื้นลึกหนาบางของคุณนายสุรีย์หมด"

หมายความว่า รู้ความเป็นมาอย่างละเอียด

 

 

คำสำคัญ (Tags): #คำสอน
หมายเลขบันทึก: 281756เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณ  คุณมิ้น ที่แวะมาเยี่ยม มาดู

แค่ผ่านมาเจอ

มาทักทายกัน^_^

ไม่มัอะรัยมาก

ไปก่อนนะ*_*

บายจ้า^^//

ขอให้โชคดี

ส๊าธุๆ=/\=

555+

  • ขอบคุณที่ผ่านมาเยี่ยม มาทักทาย

รักจิงไม่ทิ้งหลอก

เมื่อโดนหรอก

หงอกกินหัว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท