ฝนชุก ดินแฉะ แนะวิธีรับมือกับ “โรครากเน่าโคนเน่า”


พอเข้าถึงช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี เกษตรกรก็มักจะมีปัญหาในแปลงพืชผักไม้ผลของตนเองกันถ้วนหน้า

พอเข้าถึงช่วงฤดูฝนของทุก ๆ ปี เกษตรกรก็มักจะมีปัญหาในแปลงพืชผักไม้ผลของตนเองกันถ้วนหน้า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “โรครากเน่าโคนเน่า”  และโรคเชื้อราทางใบทำให้เกิดปัญหาใบไหม้ ใบดำ ใบด่าง อยู่เป็นประจำทุกปี เกษตรกรที่มีความชำนาญเข้าใจระบบนิเวศน์และกระบวนการทางธรรมชาติก็จะหาวิธีในการดูแลป้องกันรักษาให้ปัญหาดังกล่าวกระทบกับอาชีพของตนเองให้น้อยที่สุด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเคมีฉีดพ่น หลีกเลี่ยงการปลูกพืชทีอ่อนแอต่อสภาวะฝนชุก น้ำท่วมขัง ยกร่องยกแปลงเพื่อหนีน้ำไม่ให้ท่วมขังระบบรากซึ่งทำให้ขาดอากาศหายใจและตายได้ในที่สุด  ซึ่งก็ยังมีอีกหลากหลายวิธีที่แตกต่างกันไป

ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมาแนะนำพี่น้องเกษตรกรในวันนี้ก็คือ วิธีการรับมือกับโรครากเน่าโคนเน่าแบบปลอดสารพิษ เพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศน์และธรรมชาติอีกทั้งต่อร่างกายของเกษตรกรเองทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว ไร้โรคภัยมาเบียดเบียน มีชีวิตอยู่กับลูกหลานได้อย่างยาวนาน อีกทั้งผลผลิตที่ออกมาก็เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะปลอดภัยไร้สารพิษ วิธีการดังที่ว่านี้ก็คือการใช้ เชื้อจุลินทรีย์ “ไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma sp.  เข้ามาทำหน้าที่รักษาดูแลตรงระบบรากใต้ทรงพุ่มของพืชที่เราปลูกโดยตรง

จุลินทรีย์ “ไตรโคเดอร์ม่า” คือจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราด้วยกัน โดยเฉพาะเชื้อราโรคพืชซึ่งเป็นปัญหาหลักของพี่น้องชาวไร่ชาวสวน เช่น ฟัยท้อพธอร่า ( Phytophthora) ซึ่งก่อปัญหาทำให้เกิดโรคกล้าเน่ายุบตายในพืชตระกูลแตง, มะเขือเทศ, มะละกอ, ถั่ว, พริก, ผักชนิดต่างๆ อีกทั้งพวกพิธเทียม (Pythium spp) ไรซอกโทเนีย (Rhizogtonia spp) และสเคอร์ไรเทียม (Stentium spp) ซึ่งเกิดในไม้ดอกไม้ประดับ ถ้าเรานำเชื้อไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม นำมาขยายจำนวนให้มากขึ้นโดยผสมร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกพรมน้ำพอชื้นหมักทิ้งไว้ 1 – 2 คืน จำนวนเชื้อไตรโคเดอร์ม่าก็จะงอกออกจากสปอร์แล้วเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากขึ้น หลังจากนั้น ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังฝนตกให้นำไปโรยไว้รอบโคนต้นใต้ทรงพุ่ม จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่าก็จะเริ่มทำหน้าที่กำจัดศัตรูของเขาไม่ให้เข้ามาในอนาเขตที่ตัวเองปกครองอยู่ ทั้งแย่งที่อยู่อาศัย แย่งอาหารการกินอีกทั้งยังกินตัวเชื้อราที่เป็นศัตรูของพืชด้วย ทำให้แปลงพืชผัก ร่องสวนที่มีเชื้อ “ไตรโคเดอร์ม่า” อาศัยอยู่ก็จะไม่มีเชื้อราโรคพืช ทำให้หมดปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าได้อย่างถาวรยั่งยืน

 

มนตรี   บุญจรัส 

www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 280752เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้วถ้าใส่ปุ๋ยหมักจะช่วยลดโรครากเน่า

แล้วปัญหาเกี่ยวกับดินได้ไหมครับ

ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกคืออาหารของพืชครับ....ไม่ใช่ยารักษา อาจจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อโรคอยู่บ้างแต่จำนวนอาจจะน้อยไม่เพียงพอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท