ข่าวสะเทือนใจ


แพทย์ที่สามารถทำเวชปฏิบัติได้ของประเทศไทย มี 31,939 คน โดยสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรคือ 1 : 1,985 คน ....เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก แพทย์ไทยยังอยู่ในสัดส่วนที่ดีกว่า

วันนี้ได้รับข่าวจากพี่ไหลรีบเปิดดู มีสองข่าว ข่าวแรกอ่านดูก็งั้นๆ แต่ข่าวหลังลองอ่านดูครับ

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu20240752&sectionid=0107&day=2009-07-24

ระวัง!มีจำนวนแพทย์เกินฐานะการเงิน

สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาโครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ ในกลุ่มข้าราชการครู ตำรวจ และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีจำนวนมาก คิดรวมกันร้อยละ 70 ของข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งหมด เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกำลังคนมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และทิศทางการพัฒนาประเทศ

จากการศึกษากรณีบุคลากรทางการแพทย์ได้แก่ แพทย์และพยาบาล มีข้อสรุปดังนี้ แพทย์ที่สามารถทำเวชปฏิบัติได้ของประเทศไทย มี 31,939 คน โดยสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรคือ 1 : 1,985 คน แบ่งเป็นแพทย์ภาครัฐจำนวน 21,500 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 : 2,948 คน แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 11,025 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 : 5,750 คน

เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 1 : 5,000 คน และของประเทศต่างๆ แล้ว แพทย์ไทยยังอยู่ในสัดส่วนที่ดีกว่า
     อ่านแล้วได้แต่คิดว่า.....มันอะไรกันวะนี่   เมืองไทย

หมายเลขบันทึก: 279655เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2009 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สงสัยรวมหมด ทั้งแพทย์ที่ทำการรักษาและไม่ทำการรักษา รวมปลัดกระทรวงด้วยแน่เลย จริงๆน่าจะนับเฉพาะแพทย์ที่ดูแลรักษาประชาชนนะ ถึงจะสะท้อนภาพจริง

อีกกว่า 10,000 คน ในภาครัฐอยู่ที่ไหนเหรอครับ

แสดงว่าภาระงานของแพทย์ภาคนี้แค่ครึ่งหนึ่งของพทย์ในสธ.ใช่ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท