เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ตอน 2


การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (27)

สำหรับการประชุมครั้งที่ 15 ถึง 17 กำหนดการประชุมในปีพ.ศ. 2552 มีข้อตกลงว่าจะมุ่งเน้นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ในมิติต่างๆ  โดยครั้งที่ 15 เจ้าภาพ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร จะมุ่งเน้นเรื่อง HRD  ครั้งที่ 16 เจ้าภาพ ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะมุ่งเน้นเรื่อง Career Path  และครั้งที่ 17 เจ้าภาพ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมุ่งเน้นเรื่อง Quality and Competency

ภาพการลงนามความร่วมมือ UKM ครั้งที่ 2  เมื่อวันที่ 1  สิงหาคม 2551

รูปแบบการจัดงานจะให้ความสำคัญกับกระบวนการที่สกัดความรู้จากภายในผ่านการเล่าเรื่องความสำเร็จ เคล็ดลับและปัจจัยความสำเร็จ มีกระบวนการบันทึกอย่างเป็นระบบ ใช้บรรยากาศแบบกัลยาณมิตร ไม่เน้นพิธีกรรมพิธีการ ปกติมักจะเริ่มที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิช ปาฐกถานำ แล้วตามด้วยกระบวนการเล่าเรื่องความสำเร็จ ตามกลุ่ม ประเภทต่างๆ การสรุปในภาพรวม ตอนเย็นเป็นการประชุมระหว่างคณะกรรมการที่เรียกว่า Business Meeting ตามด้วยงานเลี้ยงต้อนรับของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพ ใช้เวลารวมประมาณ 1 วันครึ่ง

เครือข่าย UKM มีข้อตกลงว่าจะไม่เน้นการขยายจำนวนเครือข่าย แต่จะมุ่งเน้นในเชิงสาระและประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของชาวมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกัน แตกต่างกันบ้างตามจุดเน้นและบริบท หากใช้กระบวนการ KM จะทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละได้เรียนรู้และเรียนลัด ก้าวข้ามความผิดพลาดได้เร็วกว่า

ตัวอย่างเมื่อครั้ง UKM ครั้งที่ 9 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมในหัวข้อการก่อเกิดและการดำรงอยู่ของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง ซึ่ง ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิช ได้ให้ข้อเสนอเมื่อคราวประชุม UKM ครั้งที่ 8 ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรไว้ว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นควรจัดประชุมในหัวข้อนี้เพราะมีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการศูนย์วิจัยเฉพาะทาง จากการเล่าเรื่องความสำเร็จจากชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปได้ดังนี้

การวิจัยเป็นภารกิจหลักส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสร้างสรรค์ บุกเบิก แสวงหาความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาวิชา เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งนำผลการวิจัยไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการศึกษาวิจัยในแต่ละสาขากว่า 200 โครงการ โดยได้รับการอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน หน่วยงานภายนอกทั้งในและต่างประเทศที่ให้การสนับสนุน อีกทั้งมีสถาบันวิจัยและพัฒนาให้การส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลด้านการวิจัยแก่คณะวิชาขิงหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเครือข่ายองค์กรของรัฐและเอกชน กับองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชาวบ้านเพื่อให้การวิจัยพัฒนาชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างแท้จริง

ศูนย์วิจัยเฉพาะทางมีพัฒนาการจากการพยายามจัดระบบและกลไกสนับสนุนการวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการวิจัยของมหาวิทยาลัย จากเดิมโครงการเดี่ยวเป็นโครงการชุด เพื่อวิจัยปัญหาอีสาน ด้วยมาตรฐานสากล และจากโครงการชุดเป็นการจัดตั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทางขึ้น

การบริหารจัดการองค์กรและการจัดการความรู้ (รวมบท)

เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ตอน 1  ตอน 2  ตอน 3  ตอน 4  ตอน 5  ตอน 6

หมายเลขบันทึก: 279428เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท