การพัฒนาความสามารถของนักพัฒนาบุคลากร (HRD)


สัมพันธภาพที่ดีกับพนักงานทุกระดับ

การพัฒนาความสามารถของนักพัฒนาบุคลากร (HRD)

ความสามารถด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคล (Interpersonal Competency) 
           นอกจากความรู้ในวิชาชีพที่นัก HRD จะต้องมีแล้ว ความสามารถอีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ ความสามารถในด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรือ Interpersonal Competency เนื่องจากนัก HRD ที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงานทุกระดับ ย่อมจะทำให้พวกเขาได้รับความร่วมมือ ความช่วยเหลือจากพนักงานเหล่านั้น และสัมพันธภาพที่ดีย่อมจะทำให้พนักงานพร้อมที่จะเปิดใจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับจากพนักงานทุกระดับนั้นจะนำไปใช้ประกอบการวางแผนเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์การต่อไป 
                พบว่าความสามารถในด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคลนั้นจะประกอบด้วย Competency ย่อย ๆ อีก 8 ข้อตามผลการศึกษาของสมาคมเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American for Training Development : ASTD) โดย McLagan ดังต่อไปนี้

 

ความสามารถ

ความหมาย

1.  ทักษะการสอนงาน(Coaching Skill)                                                          

ความสามารถในการช่วยให้บุคคลตระหนักและเข้าใจถึงความต้องการของตนเอง เข้าใจในคุณค่า ปัญหาทางเลือก และเป้าหมายการทำงาน

2.  ทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback Skill)

ความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ทางเลือก ความคิดเห็นและข้อสรุปให้กลับบุคคลได้เข้าใจ และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

3.  ทักษะกระบวนการกลุ่ม(Group-Process Skill)

การมีอิทธิพล กระตุ้นการทำงาน ความสัมพันธ์และความต้องการส่วนบุคคล/กลุ่มให้ประสานงานเข้ากันได้

4.  ทักษะการเจรจาต่อรอง(Negotiation Skill)

ความสามารถในการดำเนินการเจรจาให้เกิดผลลัพธ์ที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวแสดงให้เห็นจากประโยชน์ที่ได้รับ

5.  ทักษะการเสนอ (Presentation Skill)

ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลทางวาจาหรือด้วยคำพูดให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6.  ทักษะการตั้งคำถาม (Questioning Skill)

การรวบรวมข้อมูลโดยการกระตุ้นความเข้าใจของบุคคล และกลุ่มได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเป็นต้น

7.  ทักษะการสร้างสัมพันธ์ (Relationship building Skill)

ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายระหว่างบุคคลและกลุ่มได้

8.  ทักษะการเขียน (Writing Skill)

ความสามารถในการจัดเตรียมข้อมูลในการเขียนให้เป็นกฎระเบียบและแบบแผนของการเขียนที่เป็นที่ยอมรับได้ รวมทั้งมีความเหมาะสม กับผู้ฟัง มีความสร้างสรรค์ และได้รับผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

      ดังนั้นขีดความสามารถดังกล่าวจะช่วยทำให้นัก HRD สามารถเข้าถึงพนักงานได้ง่าย และส่งผลต่อไปยังบทบาทของการเป็นตัวแทนของฝ่ายบริหาร (Employee Champion) ที่นัก HRD จะต้องสื่อสารพูดคุยกับพนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันของพนักงานที่มีต่อระดับจัดการ 

ความสามารถด้านสติปัญญา (Intellectual Competency) 
      ความสามารถอีกด้านหนึ่งที่ช่วยทำให้นัก HRD ได้รับการยอมรับจากฝ่ายบริหารจัดการนั่นก็คือ ความสามารถในการด้านสติปัญญา (Intellectual Competency) ที่เน้นทักษะในด้านความคิดเป็นหลัก เป็นการคิดและการคาดการณ์ถึงอนาคตไปข้างหน้า ความสามารถในด้านนี้จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในองค์การ ซึ่งนัก HRD ที่ดีจะต้องกล้าเปลี่ยน กล้าคิดและนำระบบงานใหม่ ๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ซึ่งความสามารถในการด้านสติปัญญาจะส่งผลให้นัก HRD สามารถเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่ดีให้กับองค์การต่อไปได้ 
      จากการศึกษาของสมาคมเพื่อการฝึกอบรมและพัฒนาของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American for Training Development : ASTD) โดย McLagan พบว่าความสามารถในด้านสติปัญญานั้นจะประกอบด้วยความสามารถย่อย ๆ อีก 7 ข้อที่สำคัญ ได้แก่

ความสามารถ

ความหมาย

1.  ทักษะการสรุปข้อมูล (Data Reduction Skill)

ความสามารถในการตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปใจความสำคัญของข้อมูลได้

2.  ทักษะการค้นหาข้อมูล (Information Search Skill)

ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ และแหล่งข้อมูลที่มีการบันทึกได้ ระบุ และใช้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งใช้บริการความช่วยเหลือจากแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ ได้

3.  ความหลากหลายในความคิด (Interlectual Versality)

การตระหนัก และมีความคิดที่หลากหลาย รวมทั้งมีความคิดที่เป็นเหตุผลและสร้างสรรค์โดนปราศจากอคติส่วนบุคคล

4.  ทักษะการสร้างรูปแบบทางความคิด (Model Building Skill)

ความสามารถในการประมวลผล และพัฒนาทฤษฎี/กรอบความคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่ออธิบายความซับซ้อนของความคิดให้เข้าใจได้

5.  ทักษะการสังเกต (Observing Skill)

การตระหนักเห็นถึงวัตถุประสงค์ของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น หรือเข้าใจเหตุการณ์ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

6.  ทักษะการรู้และเข้าใจตนเอง (Self Knowledge)

การรู้และเข้าใจถึงค่านิยม ความต้องการ ความสนใจ รูปแบบ และความสามารถส่วนบุคคล และผลกระทบที่จะเกิดกับผู้อื่น

7.  ทักษะการมีวิสัยทัศน์ (Vision Skill)

ความสามารถในการทำนายแนวโน้ม มองเห็นความเป็นไป ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติ

 

 

       ******ผู้เขียนคิดว่านักพัฒนาบุคลากร (HRD) ที่ดีต้องมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวงอยู่ในตัวตนของผู้นั้นควบคู่กันไปเสมอ พร้อมทั้งต้องเป็นผู้ให้ด้วยอย่าเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียว เมื่อหมดอำนาจวาสนาแล้วจะไม่เหลืออะไรและใครเลยที่รักเราจริง(เพื่อนแท้)

 

 

มาจากเว็บ  http://www.hrtothai.com/index.php?Itemid=164&id=1640&option=com_content&task=view

 

หมายเลขบันทึก: 277581เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาร่วมแสดงความคิดเห็นให้รุ่นน้องหน่อยจ้า,,,

ขอบใจนะจ้ะหนูที่มาให้กำลังใจรุ่นน้อง

เป็นข้อมูลที่น่าชื่นชม และวิเศษที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท