อะไร คืออะไร เพราะอะไร


ความสุขในการดำเนินชีวิต

อึดอัด

 ลำบาก

 ทรมาณ

 จะได้รู้ว่าคนที่เขาลำบากกว่าเราเป็นอย่างไร

 เป็นการออกไปพบความจริง

อย่างเช่นที่พระพุทธเจ้าเคยออกไปพบความจริง

 ว่ามีคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย

และตัดสินใจออกผนวช

บวชเป็นอาจารย์ให้ตัวเอง

 แล้วตรัสรู้ในเวลาต่อมา

 อริยสัจ 4

 ความจริงอันประเสริฐ

 4 ประการ

 ทุกข์ - ความทุกข์

 สมุทัย - เหตุแห่งทุกข์

turbo says:

 นิโรธ - ความดับทกข์ทั้งปวง

 มรรค – หนทางไปสู่ความดับทุกข์

 

 เช่น กาย วาจา ใจ ให้ดีๆ

ทางสายกลาง

 ไม่ตึงไม่หย่อน

 เปรียบได้กลับเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

 ที่ได้ประยุกต์แนวคิดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน

 เป็นความจริงที่ว่าหากเราปรับสายพิณตึงไปมันจะขาด

ดั่งกับที่ประเทศทางฝั่งทุนนิยม

 ฝั่งตะวันตก

 ได้สอนให้เรานับถือลัทธิทุนนิยม

 ให้เราเป่าลูกโป่งเศรษฐกิจ

 พอเราได้มาเจอว่าการเป่าลูกโป่งแข่งกันเป็นเรื่องสนุก

 เป็นเรื่องที่ท้าทาย

 โดยที่เราไม่รู้จักว่าจุดสุดท้ายมันอยู่ที่ไหน

 จุดที่จะทำให้มันระเบิดมันอยู่ตรงไหน

 เมื่อนั้น ลูกโป่งก็ต้องถึงวันแตก

 สายพิณก็ต้องถึงวันขาด

 และเราจะทำอย่างไรต่อไปกับเส้นทางสายทุนนิยม

 เส้นทางที่ขาดความพอเพียง

 เส้นทางที่ไม่อิงกับหลักความเป็นจริง

 เราในฐานะนักพัฒนาการมนุษย์ จะต้องสนใจในเรื่องเหล่านี้

 จะต้องตีโจทย์ให้แตก

 จะต้องสร้างสมการแห่งความสำเร็จ

 ความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์ให้เข้าใจความเป็นจริง

 ให้มนุษย์มีความสุข

 และเข้าใจว่า ความสำคัญที่แท้จริงในชีวิตชีวิตหนึ่งที่ได้เกิดมานั้น

 คืออะไรกันแน่

 ศาสตร์ต่างๆที่เกิดขึ้นมานั้น

 ถามว่าเกิดขึ้นมา จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคืออะไร

 คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์

 ไม่ว่าจะวิชาอะไรก็ตาม

 จุดมุ่งหมายของวิชาเหล่านี้

 คือทำให้สิ่งมีชีวิต ที่เราสมมติให้เรียกว่ามนุษย์นั้น

 พบกับ "ความสุขในการดำเนินชีวิต"

 Patrick Theparak

Human Devlopment

 ตามความคิดของเรา

 

หมายเลขบันทึก: 277080เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ความพอดีอยู่ที่ไหน ความสุขอยู่ที่นั่น...

แต่กว่าจะพบกับคำว่าพอดี

บางทีทั้งชีวิตของคนๆนึงก็ไม่เคยได้รู้จักกับคำๆนั้น

แล้วสิ่งที่นักพัฒนาการมนุษย์คนนึงควรทำ จะต้องทำอะไรบ้าง

สำหรับเรา...

ทุกคนเป็นนักพัฒนาการมนุษย์ได้

เหมือนอย่างที่เคยพูดกันเล่นๆว่า "จะไปพัฒนาคนอื่น ขอพัฒนาตัวเองก่อนนะ"

คำพูดที่ขำๆ แต่มันคือความจริง

เพราะการที่เราจะเริ่มต้นเป็นนักพัฒนา...

สิ่งที่เราต้องพัฒนามากที่สุด คือ ตัวเราเอง

เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยขยายไปเป็นครอบครัว คนใกล้ชิด สังคม ประเทศ หรือโลก

อะไรก็ว่ากันไปตามแต่ศักยภาพของคนๆนึงจะทำได้

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า

......แล้วความพอดี.....อยู่ที่ไหน

Benjarat Nuchana

"In my opinion"

Turbo

ความพอดี...อยู่ที่ไหน

นั่นสิ

มันอยู่ที่ไหน...

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม ครับ

อึดอัด ลำบาก ทรมาน ลองนึกถึงตอน ตัวร้อน ไม่สบาย คนที่เป็นไข้หวัด 2009 H1N1 ก็มีอาการอย่างนี้ ช่วยกันป้องกันตัวเองและคนรอบข้าง กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ช่วยลดการแพร่กระจายได้บางส่วน เกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป ครับ

สุข หรือ ทุกข์ แท้จริงคืออะไร?

มนุษย์ดิ้นรนให้ตนปราศจากทุกข์ และ ปรารถนาหาความสุขมาครอบครอง

โดยแก่นแท้แล้ว สองสิ่งนี้มิใช่ตรงกันข้าม แต่เกิดขึ้นควบคู่กันไป

แท้จริงแล้ว..ทุกข์นั้นคือสัจธรรม คือความทนและคงสภาพอยู่ไม่ได้

ทุกสิ่งล้วนไม่แน่นอน ไม่ยั่งยืน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นกระทั่งทุกข์ที่ปราศจากเวทนา

รูป สังขาร สัญญา เวทนา หรือแม้แต่วิญญาณ ล้วนเกิดและดับอย่างนับไม่ได้

แล้วแท้จริง..สุขนั้นอยู่ที่ใด สุขนั้นใช่สัจธรรมหรือไม่

สิ่งที่เรียกว่า สุข ที่มนุษย์ต้องการ ล้วนมาจาก รูป และ สังขาร ที่ก่อให้เกิดเวทนา

สุข...ที่มนุษย์ปรารถนา คือสัญญา เงื่อนไข แตกต่างกันไปสุดแล้วแต่จริตของวิญญาณ

ดังนั้น..สุขในทางโลกล้วนเป็น อัตตา แต่สุขในทางธรรมนั้น ที่สุดแล้ว คือ อนัตตา

สุดท้ายแล้ว..ทั้งหมดล้วนเป็นภาวะของจิต จิตเสพทีละหนึ่ง

เมื่อมีสุขก็ต้องมีทุกข์ เพราะสัจธรรมของความสุขก็มีทุกข์เป็นที่ตั้ง

กล่าวคือ สุขคือภาวะที่ไม่ทุกข์ เป็นเพียงขณะจิต ไม่เสถียร ไม่จีรัง

ขันธ์ 5 เปลี่ยนแปลงไปตามกาล และ เวลา ถือเป็น อนิจจัง

ในเมื่อมนุษย์ไม่สามารถควบคุมเวลาให้หยุดเดินได้

เหตุใดเราถึงปรารถนาว่าจะได้มาแต่สุขเพียงอย่างเดียว

ปัจจัยที่สำคัญด้วยเนื้อแท้ของการเป็นมนุษย์ ที่เราพึงปรารถนาและฝึกตนให้ได้มา

หาใช่ความสุขที่เราเข้าใจ แต่เป็น ศีล สมาธิ และ ปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องมีสติเป็นที่ตั้ง

ความพอดี ไม่มีข้อกำหนด เป็นเรื่องของอัตตา

มีแต่จิตเราเท่านั้นที่เรากำหนดได้...

เมื่อสุข...กำหนดรู้ว่า พอๆๆๆๆ

เมื่อทุกข์...กำหนดรู้ว่า ดีๆๆๆๆ

เพราะสุขและทุกข์ล้วนเป็นอนิจจัง

ทั้งที่สมมุติขึ้นก็ดี หรือเป็นสัจธรรมก็ดี

ทั้งหมดคือธรรมชาติของมนุษย์ทั้งสิ้น

การเป็นนักพัฒนามนุษย์ แท้จริงก็คือบทบาทที่สมมุติขึ้น

สิ่งสำคัญคือหน้าที่ ความรับผิดชอบ และประโยชน์ที่เราสร้างจากการกระทำในบทบาทนี้

ทุกสิ่งอย่างเริ่มต้นที่ตัวตนของเรา เราต้องเป็นมนุษย์ที่ดีด้วยตัวเองให้ได้ก่อน

การพัฒนาผู้อื่นให้ดีนั้น ไม่มีข้อกำหนด หรือสูตรสำเร็จที่ตายตัว

กุญแจสำคัญอยู่ที่การยอมรับความแตกต่าง พร้อมจะเข้าใจผู้อื่นด้วยการละอัตตา

เพราะที่สุดแล้ว ความสุขไม่มีใครสร้างให้ หรือ แทนใครได้

ความสุขที่แต่ละบุคคลแสวงหา ล้วนต่างกัน และเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้

สิ่งใดที่เราคิดว่าดี ไม่จำเป็นที่เค้าจะคิดว่าดีเสมอไป รวมทั้งสิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหาก็ตาม

เพราะฉนั้น..จึงมองว่า นักพัฒนามนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

คือผู้ที่สร้างความสมดุล ซึ่งมุ่งเน้นที่ประโยชน์สุขของมนุษย์ในสังคมองค์รวม

โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเห็นบุคคลนั้นๆดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเป็นสิ่งตอบแทน

...In my perspective...

Patthra Seankongsuk :)

สุขหรือทุกข์

บางครั้งคนที่พบกับความทุกข์เป็นอาจินอาจจะมองความสุขเล็กๆเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับเขาเป็นที่สุด กลับกันคนที่อยู่กับความสุขแล้วยังปรารถนาความสุขนิรันด์คนนั้นแหละจะเป็นทุกข์

ใจหนอใจ เปิดปิดได้ดังบานประตู......

แต่บางที เปิดแล้วไม่ยอมปิด หรือบางครั้ง ปิดแล้วก็ไม่ยอมเปิด ขึ้นอยู่กับว่า กุญแจหายในช่วงไหน ถ้าหายช่วงประตูปิด ก็สบายดี ใครก็เข้าไม่ได้ แต่ถ้าหายช่วงประตูเปิด ก็แย่หน่อย ไม่ว่าอะไรเข้ามาในใจเย้อะแยะมากมาย ต้องใช้เวลานานเลยกว่าจะปัดออกไปได้หมด

narathip Yothasiri

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท