งานเอดส์ : การป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วีหลังจากการมีเพศสัมพันธ์


การป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วีหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

    จะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ ต้องทราบถึงปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อน

   ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่

  1. ชนิดของการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางทวารหนัก โดยเป็นฝ่ายรับมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่า  การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางช่องคลอดโดยเป็นฝ่ายรับ  และสูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ ทางทวารหนักและทางช่องคลอด โดยเป็นฝ่ายสอดใส่ตามลำดับ การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก มีรายงานว่า ทำให้การติดเชื้อ ได้แต่ยังไม่มีการประมาณอัตราเสี่ยง

  2. มีการบาดเจ็บที่ปาก ช่องคลอด หรือทางทวารหนัก และ/หรือมีเลือดออกร่วมด้วยหรือไม่ ถ้ามีจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  3. ตำแหน่งที่มีการหลั่งอสุจิ ถ้ามีการหลั่งในทวารหนักจะมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าช่องคลอดและปาก

  4. ปริมาณเชื้อ เอชไอวี ในน้ำอสุจิ ถ้าปริมาณเชื้อมากจะมีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น

  5. การมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือรอยโรคที่อวัยวะเพศ พบว่าการมีแผลที่อวัยวะเพศทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี สูงขึ้น ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

หมายเลขบันทึก: 276156เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท