แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

จิตวิทยาสำคัญอย่างไรต่อการศึกษาโยคะ By ครูกวี


 

เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ
 


จิตวิทยาสำคัญอย่างไรต่อการศึกษาโยคะ

Why is Psychology Important to Yoga Study

โดย

Prof. R.S. Bhogal

(อาจารย์ใหญ่และผู้บรรยายวิชาYoga and Mental Health
สถาบันโยคะไกวัลยธรรม ประเทศอินเ้ดีย)

วันที่ ๘ กรกฏาคม ๑๕๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
ห้องบรรยาย ๒๖๘ มศว.ประสานมิตร

ผู้แปล กวี คงภักดีพงษ์
ผู้ถอดความและเรียบเรียง
กรพิณน์ แพ่งนคร ลิขิตกิจสมบูรณ์

 

ท่ามกลางกระแสแห่งความนิยมโยคะในโลกยุค ปัจจุบัน จะพบว่ามีการฝึกโยคะกันหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสำนัก ก่อให้เกิดคำถามว่า อะไรคือโยคะที่แท้จริง อะไรเป็นโยคะแบบปลอมๆ 

จิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์สมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกจึงเข้ามาบทบาทสำคัญใน เรื่องดังกล่าว เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการแยกแยะและให้ความกระจ่างแก่คนทั่วไป เช่น เรามักจะได้ยินคำถามว่า โยคะร้อนใช่โยคะหรือไม่ หรือหากในอนาคต อาจมีโยคะแบบใดก็ตาม เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลก เช่น โยคะแบบเกาหลี อัฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ เป็นโยคะที่แท้จริงหรือไม่ หากเรายึดตำราดั้งเดิมเป็นแนวทาง และใช้จิตวิทยามาศึกษาควบคู่กันไป ก็จะขจัดข้อสงสัยดังกล่าวได้ หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. วิธีการหรือคำสอนและทิศทาง
2. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 

ทั้ง 2 ประการนี้ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตำรำโบราณหรือตรงตามประเพณีที่สืบทอดมา ยกตัวอย่างเช่น

1. การเปล่งเสียง โอม เป็นโยคะหรือไม่

เราจะทราบได้อย่างไร ในคัมภีร์ศรีมัท ภควัต มหาปุราณ เล่มที่11 บทที่ 14 โศลกที่ 32-35 ระบุเรื่องนี้ไว้ โดยมีรายละเอียด3 ประการคือ 

1. เกิดแรงสั่นสะเทือนบริเวณหัวใจ (Heart region vibration)
2. เสียงที่ค่อยๆ สอบเบาลง (Tapering sound)
3. ประหนึ่งใยบางเบาของก้านบัว (Like lotus stalk pipe)

ดังนั้นวิธีการเปล่งเสียงโอม ต้องใช้โทนเสียงต่ำ จึงจะเกิดแรงสั่นสะเทือนบริเวณหัวใจและจะทำให้ทอดเสียงยาวค่อยๆจางหายไป เหมือนใยบัวได้ง่ายกว่าการใช้โทนเสียงสูง เป็นต้น

2. ท่าศพ

 มีระบุไว้ในหฐปฎีปิกะ โศลกแรก กล่าวถึงวิธีการคือ ให้นอนลงประดุจดังศพ โศลกที่สองเป็น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมี 2 ประการคือ ความเหนื่อยล้าหมดไปเและจิตมีความผ่องใส เมื่อวิเคราะห์ท่าศพผ่านคำจารึกจากคัมภีร์โบราณ จะช่วยให้เราเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงของท่าศพ นั่นคือ มิใช่แค่การขจัดความเหนื่อยล้าทางกายเท่านั้น แต่เป็นการผ่อนคลายชำระล้างในระดับจิตใจ จิตของมนุษย์ มี 3 ระดับ คือ มนัส อหังการ์ และพุทธิ หากเราฝึกท่าศพ จะมีการพัฒนาระดับของความมีสติ (Awareness) มากขึ้นเรื่อยๆ คือเมี่อเริ่มฝึกใหม่ๆ จะมีสติรับรู้ร่างกายทีละส่วน จนเมื่อมีความชำนาญขึ้นจะเกิดการขยายผลครอบคลุมทั้ง 3 ระดับของจิต นำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของท่าศพ

คำอธิบายทางจิตวิทยาคือ ขณะที่อยู่ในท่าศพ จะเกิดมีสภาวะ 2 ประการเกิดขึ้น ค้นพบ (Detect) และ ปล่อยวาง (Reject ) เป็นการใช้สติตรวจพบสิ่งที่สะสมและหยั่งรากลึกอยู่ในรูปของความเก็บกด ความเศร้าหมอง ความกลัว ความปรารถนา แรงจูงใจต่างๆ ซึ่งจะปรากฏขึ้นในพื้นจิต จากนั้นจึงปฎิเสธหรือละวางสิ่งเหล่านี้ โดยปราศจากอารมณ์ในเชิงลบ ค้นพบแล้วขับออกด้วยอาการปล่อยวาง ไม่ยึดถือไว้ ไม่ตัดสิน ไม่มีอคติใดๆ ซึ่งจะนำไปสู่การผ่อนคลายอันซับซ้อนละเอียดอ่อน ที่เรียกว่า จิตวิชาญ (Citta - Vishranti ) จิตจะถูกชำระล้างให้มีความบริสุทธิ์ผ่องใส การผ่อนคลายซึ่งคู่ขนานไปกับการตื่นรู้ของจิตนี้ ( Parallel Vigilance) จะไม่เกิดขึ้น หากเราฝึกโยคะแบบการออกกำลังกาย สภาวะนี้เป็นความโดดเด่นประการสำคัญของท่าศพ ที่ระบุไว้ในคัมภีร์โบราณ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ ธารณะ และ ฌาน ได้ในที่สุด

3. ตราตากะ

 เป็นการฝึกเพ่งจ้องเปลวเทียน หรือหัวแม่มือ ด้วยความผ่อนคลาย เป็นการชำระล้างดวงตาและจิตใจ ดวงตาเป็นช่องทางที่สำคัญต่อการเปิดรับข้อมูลเข้าสู่สมองและจิต คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้ามากเกินไป ดังนั้นการควบคุมดวงตาจึงเท่ากับเป็นการจัดสมดุลของระบบประสาทเสียใหม่เพื่อ ให้รับและตอบสนองต่อสิ่งเร้าแต่เพียงพอดี

ในทุกเทคนิคของโยคะ เป็นการประหยัดพลังงาน ฝึกร่างกายให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด แต่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น การทำสมาธิ ซึ่งใช้พลังงานน้อยมากแต่มีประโยชน์มากมาย การฝึกโยคะมี 4 สภาวะ คือ

1 วิตารกะ (Vitarka) ตั้งคำถาม หรือลังเล สงสัย ต่อต้าน
2 วิจาระ (Vichara) พิจารณาอย่างรอบคอบ
3 อนันทะ (Saananda) เกิดความยินดี เป็นสุข พอใจ
4 อาสมิสตะ (Asmita) เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติหรือจักรวาล

ใน ทางจิตวิทยานั้น ใช้สภาวะที่1-3 เป็นการบำบัดรักษา เช่น ช่วยขจัดการนอนไม่หลับ ขจัดความวิตกกังวล คลายความเครียด ช่วยให้ระบบประสาทเป็นปกติ เป็นต้น สภาวะที่ 1-3 นั้น สามารถเรียนรู้หรือสอนกันได้ เป็น "โยคะทางกาย" ( Material Yoga) ส่วนสภาวะที่ 4 นั้น ต้องเรียนรู้ค้นพบด้วยตัวเอง ไม่อาจสอนกันได้ เป็นโยคะทางจิตวิญญาณ ( Spiritual Yoga)

4. Yoga Citta Vritti Nirodtha

เป็น โศลกสำคัญที่สุดซึ่งระบุไว้ในปตัญชลีโยคะสูตร บทที่ 1.2 กล่าวว่า โยคะเป็นไปเพื่อดับการปรุงแต่งของจิต แต่เมื่อนำจิตวิทยามาศึกษาประโยคนี้ เราจะพบข้อโต้แย้งว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะดับการปรุงแต่งของจิตทั้ง 5 ประการอย่างสิ้นเชิงคือ

1 นิทรา/Nidra/Sleep/นอนหลับ
2 สมฤดี/Smrti/Memory/ความจำ
3 ประมาณะ/Pramana/Right knowledge/ความรู้ที่ถูกต้อง
4 วิปารยายะ/Viparayaya/Wrong knowledge ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง
5 วิกัลปะ/Vikalpa/Imagine/จินตนาการ

ดังนั้นในแง่จิตวิทยา จึงอธิบายว่า ให้มีการปรุงแต่งของจิตเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และปรับการปรุงแต่งนั้นให้มีความพอดี เช่น ไม่นอนมากเกินไป ไม่จำมากเกินไป คิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ในมิติด้านจิตวิทยา โยคะคือการฝึกควบคุมอารมณ์ขั้นพื้นฐาน กายกรรม และวจีกรรม ซึ่งจะนำความสงบสุขมาสู่ชีวิตของเรา

หมายเหตุผู้ถอดความ:
ในการถอดคำบรรยายซึ่งเป็นการพูดและมีการพาดพิงเชื่อมโยงและอธิบายรายละเอียด ข้ามไปมานั้น เมื่อจะแปรเนื้อความเป็นภาษาเขียนที่เข้าใจได้กระชับชัดเจนนั้น จำเป็นต้องมีการเรียบเรียง วางลำดับประโยคใหม่ เพิ่มเติมข้อความ และตัดคำถามบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปบ้าง โดยพยายามคงเนื้อหาให้ใกล้เคียงมากที่สุด มีแผ่นซีดีที่บันทึกการบรรยายให้ขอยืมไปฟังได้ที่ห้องสมุดสารัตถะค่ะ



มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 275971เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ.อุทัย

ขอบพระคุณมากนะคะ

ที่แวะเข้ามาทักทาย

อาจารย์รักษาสุขภาพมากๆ นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท