Rain
นางสาว วารุณี จิรัญเวทย์

การก่อตัว (Policy Formation )


นโยบายคือเข็มทิศ

ขั้นตอนการก่อตัวนโยบายเริ่มต้นพิจารณาจากปัญหานโยบาย ประเด็นปัญหาจะถูกรวบรวมเพื่อกำหนดเป็นวาระนโยบายซึ่งมีการจัดวาระสองประเภทคือ

-Systemic Agenda

-Institutional Agenda

จากนั้นนำเสนอออกมาเป็นทางเลือกนโยบาย เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญในส่วนของการก่อตัวนโยบายคือความสำคัญของปัญหานโยบาย เราพิจารณาถูกต้องหรือไม่ว่าปัญหานี้เป็นปัญหานโยบาย

ความสำคัญของปัญหานโยบาย พิจารณาได้ในหลาย ๆ ส่วนดังนี้

1. การรับรู้สภาพปัญหานโยบาย ปัญหานั้นถูกรับรู้ว่าเป็นปัญหาต่อคนส่วนใหญ่หรือต่อชนชั้นนำเท่านั้น

2. สถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบาย

3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพปัญหากับสถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

คุณลักษณะของปัญหานโยบายที่นำไปพิจารณาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

1. ความแปลกใหม่ของปัญหานโยบาย ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมักเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชน ปัญหาการคมนาคมขนส่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไปเหล่านี้รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่บางครั้งเกิดปัญหาแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนและอาจลุกลามใหญ่โต เกิดความยากลำบากในการแก้ไข ต้องหาผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการ เช่น ปัญหาการแฮ็กข้อมูลจนรัฐบาลต้องออก พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร หรือการเปิดเสรีทางการค้าเมื่อลงมือปฏิบัติจริงประเทศไทยต้องเสียเปรียบในหลายเรื่องจำต้องเร่งหามาตรการในการแก้ไข

2. การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ของการแก้ปัญหา ปัญหานโยบายแต่ละปัญหาใช้ต้นทุนในการแก้ไขต่างกัน บางปัญหาต้องลงทุนในระยะยาวจึงจะเห็นผล เช่น ระดับการศึกษาของประชาชน รัฐบาลต้องดำเนินหลาย ๆ มาตรการเพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษา ขยายการศึกษาภาคบังคับ ให้ทุนการศึกษา และยังมีปัญหาที่คาดไม่ถึงตามมาอีก เช่น เมื่อ 2 3 สัปดาห์ก่อนก็มีเด็กฆ่าตัวตายเพราะกู้เงินไม่ได้ หรือไม่ 2 3 ปีก่อนมีโครงการหนึ่งทุนหนึ่งอำเภอ เด็กหญิงคนหนึ่งต้องไปฆ่าตัวตายที่เยอรมัน ดังนั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบทุก ๆ ด้าน

3. ความซับซ้อนของปัญหานโยบาย บางปัญหาซับซ้อนเป็นทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ไขต้องพิจารณาให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้านเพื่อจะแก้ปัญหาได้ตรงและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบหรือผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนา บางปัญหามีคนกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์กลุ่มหนึ่งเสียประโยชน์

4. ค่านิยมของรัฐบาลในการพิจารณาปัญหา ผู้ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์นโยบายจะต้องคำนึงถึงรัฐบาลที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้วยว่าผู้ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายมีค่านิยมในลักษณะใด ถ้าทางเลือกไม่สอดคล้องกับค่านิยมของผู้กำหนดนโยบาย โอกาสที่ทางเลือกดังกล่าวจะถูกปฏิเสธย่อมเป็นไปได้มาก ถ้าผู้นำเป็นแบบอนุรักษ์นิยมทางเลือกนโยบายควรเป็นแบบค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด โอกาสที่ทางเลือกนั้นจะได้รับความเห็นชอบย่อมมีมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #นโยบาย
หมายเลขบันทึก: 275517เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท