แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

PR;“เรื่องเล่า – ประสบการณ์ที่แม่สอด” By ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร (2)


                                              

1.) เกริ่นนำ

2.) เรื่องเล่า-
     ประสบการณ์ที่แม่สอด

3.) จดหมายจากแม่สอด

เรื่องเล่า - ประสบการณ์ที่แม่สอด

ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร


ฉันยังได้เรียนรู้ในตนเองที่จะเติบโตไปพร้อมกับพวกเขา
เติบโตทางความคิดความรู้สึก ที่พร้อมเปิดโอกาสให้กับทุกๆ คน
ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ทั้งยังได้เสริมพลังในตนเอง
จากการร่วมกิจกรรมสงบไปด้วยกัน และเสริมสร้าง
แรงบันดาลใจภายในให้ก้าวต่อไป
เพื่อสร้างสรรค์โลกใบนี้ร่วมกัน

เป็นประสบการณ์ครั้งแรกที่ฉันได้ไปอยู่และสัมผัสกับชีวิตจริงของผู้อพยพชาวพม่าที่แม่สอด ที่น่าจะเรียกว่า "ผู้ (แอบ) ลี้ภัยชาวพม่า" เพราะจากการพูดคุยกับครูชาวพม่าที่เราไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอน "โปรแกรมการศึกษาคุณค่าเพื่อชีวิต" ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่าชาวพม่าในหลายหมู่บ้านติดชายแดนไทย-พม่านั้น มีทั้งผู้ที่อพยพ และจดทะเบียนถูกต้อง และมีไม่น้อยที่เป็นชาวพม่าที่หนีข้ามมาแล้วไม่กลับไปอีก


ช่วงเย็นหลังการอบรมได้นั่งรถตุ๊กไปที่ตลาดริมเมย เห็นแล้วก็เข้าใจทันทีว่า ทำไมชาวพม่าถึงข้ามมาไทยกันได้ง่ายและมาก ก็แม่น้ำเมยวดีที่เห็น นั้นบ้านฉันเขาเรียกว่าคลอง ซ้ำบางช่วงน้ำก็ลึกแค่ตาตุ่ม เดินข้ามไปมาได้เลย มองไปทั้งที่ฝั่งไทยและฝั่งพม่าก็เห็นทหารของทั้ง 2 ประเทศ ยืนและเดินปฏิบัติงานกันไปมา ครูพม่าบอกว่าจ่ายเงินให้ทหารพม่านิดหน่อย (แต่คนพม่าส่วนใหญ่มีไม่พอ!?!) ก็ข้ามมาอยู่ฝั่งไทยได้


แม้จะต้องเป็น "คนต่างด้าว" เป็นกลุ่มผู้ไร้โอกาสที่บางคนมองว่ามาแฝงในสังคมไทย แต่การเป็นพลเมืองชั้น 2 หรือ 3 ในไทย การขาดซึ่งสิทธิและอิสระบางอย่างในผืนแผ่นดินที่มีพระมหากษัตริย์ไทยเป็นองค์ประมุขนั้น เป็นโอกาสที่ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับชีวิตที่อยู่อีกด้านของฝั่งน้ำ

(คลิ๊กที่นี่เข้าสู่ Homepage of PPDD)

แอนนา มาลินด็อก ผู้ก่อตั้งองค์กรไม่หวังผลกำไร Peoples Partner for Development and Democracy (PPDD) เพื่อช่วยผู้อพยพชาวพม่าในแม่สอด และทีมงานมองเห็นว่า การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณค่าให้กับเด็กๆ จะเป็นวัคซีนชีวิตที่สำคัญ เมื่อ search คำว่า "value" ก็ได้พบกับองค์กร Living Values Education ที่มีโปรแกรมการศึกษาคุณค่าเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นผลงานการรวมตัวของนักการศึกษาทั่วโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ UNESCO ได้รับการอุปถัมภ์โดยคณะกรรมการองค์การยูนิเซฟแห่งประเทศสเปนและบราห์มา กุมารี โดยมีกลุ่มการศึกษาขององค์การยูนิเซฟ แห่งนิวยอร์คเป็นที่ปรึกษา

โปรแกรมนี้ คือส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทั่วโลกเพื่อวัฒนธรรมแห่งสันติภาพในช่วงทศวรรษสากลของวัฒนธรรมแห่งแห่งสันติภาพละความไม่รุนแรงต่อเยาวชนของโลก

โปรแกรมนี้พัฒนาเพื่อนำเสนอคุณค่าแนวใหม่ที่เป็นสากล โดยบรรจุกิจกรรมในเชิงปฏิบัติที่หลากหลายและวิธีนำไปใช้ในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอนและผู้ดูแลกลุ่มผู้เรียนเพื่อเอื้อให้ผู้เรียนสามารถค้นหาและพัฒนาคุณค่าสากลหลัก 12 ประการ ได้แก่ ความสงบ ควมเคารพ ความร่วมมือ ความมีอิสระ ความสุข ความซื่อสัตย์ ความถ่อมตน ความรัก ความรับผิดชอบ ความเรียบง่าย ความอดทน และความเป็นหนึ่งเดียวกัน

เมื่อเขาติดต่อมา ผศ.ประภา วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้ประสานงานขององค์กร Living Values Education สาขาประเทศไทย จึงบอกบุญให้ไปช่วยกันจัดหลักสูตรดังกล่าวให้ครูพม่า และนำสิ่งของ อุปกรณ์การเรียนบางอย่างไปบริจาคด้วย แม้จะต้องสื่อสารกัน 3 ภาษา (อังกฤษ-พม่า-ไทย) แต่เราก็เข้าใจกันดี ทั้งสนุกสนานและสงบกับกิจกรรมในหลักสูตร จากการพูดคุยกับครูพม่าที่มาเข้าอบรม เขาบอกว่าครั้งนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง และเขาสัญญาจะนำแนวทางนี้ไปบูรณาการให้เด็กๆ ชาวพม่าเติบโตอย่างมีคุณค่า

 

(เข้าดูภาพทั้งหมดที่นี่ค่ะ)

 

ไปครั้งนี้ไม่มีค่าวิทยากร ไม่มีผู้นำผู้ตาม ช่วยกันอย่างกัลยาณมิตร เราไปกันแบบจิตอาสา เช่ารถตู้หารเฉลี่ยค่าเดินทางกัน กิน-อยู่กันอย่างเรียบง่าย ช่วงตี 4 ครึ่ง ทีมอาสาสมัครชาวราชาโยคะ (บราห์มา กุมารี) จะรวมตัวรับพลังช่วงอมฤตเวลา ส่วนฉันแยกเดี่ยวทำกายานุสติด้วยโยคะอาสนะ ประมาณ 6-7 โมงเช้าทำสมาธิร่วมกันเพิ่มพลังจิตปัญญา แล้วช่วยกันเตรียมอาหารอย่างง่ายๆ หลังจบกิจกรรมแต่ละวัน เราสะท้อนสิ่งที่ดำเนินไปในวันนี้ และทบทวนแผนของวันรุ่งขึ้น ขณะที่เขารับประทานอาหารเย็นกัน ฉันก็ใช้เวลาออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ร่างกายพร้อมมีเรี่ยวแรงพลัง เราทำสมาธิด้วยกันอีกรอบประมาณครึ่งชั่วโมงตอน 2 ทุ่มครึ่ง แล้วก็แยกกันปฏิบัติภารกิจส่วนตัว ซึ่งฉันก็ไม่ลืมที่จะสวดมนต์ทำวัตรเย็นก่อนนอน ไปคราวนี้ ไม่เหมือนไปทำงานเลย เพราะรับรู้ได้ถึงพลังสงบและความสุขทุกช่วงขณะ

ประสบการณ์ในครั้งนี้ นอกจากได้มิตรต่างวัยต่างเชื้อชาติที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนเด็กๆ ที่เป็นพลเมืองสำคัญของโลกในวันหน้าได้ "เติบโตอย่างมีคุณค่า ฉันยังได้เรียนรู้ในตนเองที่จะเติบโตไปพร้อมกับพวกเขา เติบโตทางความคิดความรู้สึกที่พร้อมเปิดโอกาสให้กับทุกๆ คน ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ทั้งยังได้เสริมพลังในตนเองจากการร่วมกิจกรรมสงบไปด้วยกัน และเสริมสร้างแรงบันดาลใจภายในให้ก้าวต่อไปเพื่อสร้างสรรค์โลกใบนี้ร่วมกัน "

"รอยยิ้มสดใส มิตรภาพอันอบอุ่น และพลังที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะพัฒนาก้าวไปข้างหน้า แม้ว่าเขา (อาจจะ) มองไม่เห็นอนาคต ...

อนาคตของเขาดูเป็นสิ่งไม่แน่นอน แต่เขาก็มีศรัทธาและพร้อมจะก้าวต่อไป ...

แล้วฉันล่ะ พวกเราล่ะ"

 

ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร

ผู้จัดการแผนงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย สสส.
สมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

ทางโรงเรียนใคร่ขอให้ผู้มีจิตอาสา
ช่วยประสานกับเครือข่ายที่มีใจเมตตา
มาช่วยสนับสนุนงบประมาณและปัจจัยอื่นๆ กับทางโรงเรียน
เพื่อให้โรงเรียนนี้สามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้





เรื่องเล่า - ประสบการณ์ที่แม่สอด

It is my first time to see the real life of "illegal" people, both adults and children from Burma that are actually living, studying and working in Thailand. They are unofficial refugees from Burma that are living in makeshift villages on the Thai/Burmese border in Mae Sot. There is almost no support for the refugees. The UN's ability to provide support is limited because they have not officially defined the conflict in Burma as war. Thailand also prefers not to recognize refugees, and our policy has been, at best, tolerance. Thai government prefers not to risk acknowledging the refugees because of the potential financial cost. It seems that our policy is to have little interest in stirring things up with our neighbor and confronting to the neighborhood country. As a result, refugees are forced to fend for themselves.

Our first Living Values Education, Thailand Project with a new coordinator, "Asso.Prof.Prapa Wittayarungruengsri" was in June, 2009. An American volunteer for the Peoples Partner for Development and Democracy (PPDD), a non-profit organization that operates and supports the "Light School" in a Burmese migrant village in Mae Sot, had e-mailed to Ms.Prapa in early June after getting the assignment from Ms.Anna Malindog, the PPDD founder, to create a course of values for migrant kids. This school caters to 136 migrant kids from Burma from different ethnic backgrounds. PPDD offers them almost everything for free since their parents and family cannot afford anything at all. It actually provides them with meals, health and medical assistance, and anything related to their educational and psycho-social needs as kids. There are 60 boarding kids and most of these kids come from inside Burma. Their parents sent them to the school to study and for them to have better chances of being away from conflict and also to have educational opportunities. As seen, PPDD staffs try to provide them for almost everything they need to have comfort at the school.

Few weeks later, 3 volunteers from Bangkok, 3 from Chiengmai, 1 from Lampang and a New Zealand trainer "Ms.Trish Summerfield" from Vietnam had met and ran out three-day LVEP workshop for 8 Burmese teachers. With 3 languages: English-Burmese-Thai communication, the workshop was a fun and challenging time to participate in processes and discussions designed to bring clarity on Living Values concept and its benefit. Talking with Burmese teachers after sessions, they reflected that it was their great time to discover their own values, experience in real peace, and exercise with LVEP techniques and activities to integrate the learning into their daily life and for students in the school.

I would like to conclude that outcomes of this valuable three-day workshop include:

  • Clarify values in one's life.

  • Create structures and practices to live one's values in an easy and effortless way.

  • Learn to create relationships - personal, professional and with family that are based on alignment with one's values.

  • Learn "how to" teach values within one's relationships.

  • Learn "how to" create value based conversations to resolve conflict.

  • Experience the connection between values based living and creation of one's dreams in life.

  • Gain clarity as to areas of one's life that support one's values.

  • Become aware of where shifts may be desired to live aligned with one's values.

It is my great experience to work cooperatively with non-profit organization in the limited support area to serve the needs of the migrants, and encourage them a sense of personal values, worth, responsibility, and peace in lives. Moreover, we are a part of the Thai/Burmese border school team to enlighten the migrant kids and unofficial refugees to the opportunity and obligation of sharing equally all the benefits and warmth of community life in Thailand.

Dr.Patcharaporn Panyawuthikrai (Apple) - 8 July, 2009

หมายเลขบันทึก: 275249เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ อาจารย์กู้เกียรติ ญาติเสมอ

ขอบพระคุณมากนะคะ
ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

รักษาสุขภาพกายใจและครอบครัว ให้เข้มแข็งและแข็งแรงอยู่เสมอนะคะ

 

สวัสดีค่ะ พี่แตง

พอลล่าคิดถึง นะคะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ

สบายดีนะคะ หายไปนาน คิดถึง

 

♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

เย้....สาวสวยคนเก่งแวะมาทักทายแล้ว

ตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน๊อต หรือยังจ๊ะเนี่ย

คิดถึงจ้าน....เลย...นิ

 

สวัสดีค่ะ แม่ครูkrutoi

ช่วงนี้แม่ครูมีเวลาแวะมาอ่าน G2K ด้วยหรือค่ะเนี่ย

พักผ่อนบ้างนะคะ

เอ๊ะ เอ๊ะ.... แต่ว่า

รูปที่โชว์หน่ะ....เล่นกับหลาน...หรือกับ...เหลน...คะเนี่ย

คิดถึง...........กอดดดดดดดดดดดดด.....ค่ะ

 

  • เคยไปเก็บข้อมูลทางด้านสาธารณสุขที่แม่สอดคะ
  • อากาศดีนะคะ
  • แต่ยังไม่เคยไปทีลอซูคะ
  • อยากไปอุ้มผางบ้างก่อนที่จะเลิกลากับอาชีพคะ

สวัสดีค่ะ คุณตั้งบรรเจิดสุข

ลองจัดกลุ่มจิตอาสาเหมือน อาจารย์พัชราภรณ์ ซิคะ

แล้วจะรู้ว่า "ชีวิต คือ ชีวิต" มากยิ่งขึ้นค่ะ

เข้าอ่านบันทึกของ "คุณนายตั้ง" แล้วนะคะ

ชอบคำนี้ค่ะ "เปิดตามองหาภาพจิ๊กซอร์ที่จะเชื่อมต่องาน"

ใช่เลยค่ะ การทำงานเป็นทีมคือ การต่อภาพจิ๊กซอร์ดีๆ นี่เองค่ะ

รักษาสุขภาพมากๆ นะคะ

(เฮ้อ...แล้วผ่านไปด้วยดี...อีกหนึ่งงาน...ใช่ไหมล้าาาาาาาาา)

 

 

สวัสดีคะ

  • แวะมาเยือน
  • ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ เจ้าคะ

แวะมาเยี่ยมพี่แตงไทยครับ

สบายดีนะครับผม

ว้าว....สาวสวยแวะมาทักทาย

น้อง paula มีคู่แข่งแล้วจ้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

สวัสดีค่ะ คุณRattanaporn Chaichon

เข้าไปอ่านบันทึก
ในความล้มเหลว ย่อมมีความลับสู่ความสำเร็จซ่อนอยู่เสมอ

แม้แต่หัวข้อก็เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยมค่ะ

ขอบพระคุณเช่นกันนะคะ สำหรับบทความดีๆ

รักษาสุขภาพมากๆ นะคะ

 

เย้....เย้....ดีใจ...โคตร ...โคตร

ครูโย่ง ...แวะมาตรวจการบ้าน

คุณครูหายไปไหนมาคะเนี่ย

เดินสายเล่นดนตรี...หรือว่า...เดินสายทำกิจกรรมคะ

คิดถึงจ้าน....จ้าน....จ้าน.....จ้าน....เลย...นั้น

กอดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

เว่อ...มั๊ย............

 

ภญ.ดร.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร

ขอบคุณค่ะ คุณแตงไทย (และกัลยาณมิตรทุกๆ คน)สำหรับการแบ่งปัน และเป็นศูนย์กลางส่งต่อพลังให้กันและกัน

Peacemaker

The first step on my path to becoming a peacemaker is to be at peace with myself. It is only then that I can make peace in the rest of my world.

APPLE

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท