ประสบการณ์ทางใจ : เป็นทุนทางสังคมหรือต้นทุนทางสังคม


ประสบการณ์ที่ส่งผลดีน่าจะเป็นทุนทางสังคม ส่วนประสบการณ์ที่ส่งผลไม่ดีน่าจะเป็นต้นทุนทางสังคมนะ

ประสบการณ์ทางจิตใจ เป็นทุนทางสังคม หรือต้นทุนทางสังคม

บนเส้นทางชีวิต เรามักมีเวลาที่ดี เวลาที่แย่ เวลาที่มีความสุข เวลาที่มีความทุกข์

ทุกครั้งที่เราพบความสุขและความทุกข์ เรามักหลงลืมสติไปชั่วขณะหนึ่ง

ดังนั้นเมื่อเราผ่านความรู้สึกเหล่านั้นไปสักพัก เราจะได้สติและกลับมาตั้งหลัก

และตกตะกอนเป็นบทเรียน

บทเรียนชีวิตที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจส่งทั้งผลดีและผลเสียต่อความสำเร็จและความสุขของชีวิต

เวลาที่เราเจ็บปวด เราผิดหวัง เรามีทางเลือกที่จะตัดสินแก้ปัญหาสามแบบ คือ ตอบสนองด้วยการโต้ตอบอย่างรุนแรง การตอบสนองด้วยการยอมแพ้ การตอบสนองด้วยการนิ่งเฉย คือวางอุเบกขา นั่นเอง

เวลาที่เราดีใจอย่างที่สุด อารมณ์ของเราก็สุดโต่งอีกอย่าง หลงลืมอุปสรรค หลงในสุขจากความดีใจ ยากที่จะนิ่งเฉย 

อย่างไรก็ตาม ทั้งเจ็บปวดใจ ทั้งดีใจ ทำให้เราหลงทางไปได้ไกลอย่างขาดไม่ถึงทีเดียว 

การวางเฉย การไตร่ตรอง การทบทวน การมีเวลาให้สติได้ทำงาน จะทำให้เราได้มองเห็นชีวิตอย่างที่ควรเห็น ไม่คาดหวังต่อชีวิต หากแต่เข้าใจชีวิตนั่นเอง

ขอบคุณgotoknow.org ที่ทำให้ได้ตั้งสติโดยไม่ต้องไปอธิบายให้ใครพยายามเข้าใจ ได้เปิดโอกาสให้เราได้พัฒนาตนเอง อย่างน้อยก็ด้วยการดูใจตนเอง

ประสบการณ์ในชีวิตไม่ว่าจะดีหรือร้าย หากเราสามารถไตร่ตรองด้วยสติและเรียนรู้จากเหตุการณ์เหล่านั้น เรามองโลกเชิงบวก เหตุการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็น "ทุนทางสังคม" ของคนๆนั้นไปเลย

แต่หากเรามองโลกด้วยอคติเชิงลบ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจกลายเป็น "ต้นทุนทางสังคม" เลยทีเดียว เช่น อาการดีใจจากการได้ดังใจอาจทำให้เราหลงผิด บ้ายอ หลงในลาภ ยศ ชื่อเสียง ขณะที่ความผิดหวังอาจทำให้บางคนท้อแท้ ไม่สามารถพาใจให้ขึ้นจากความพ่ายแพ้

สำหรับคนทำงานสังคม บางครั้งดีใจ ก็เป็นกำลังใจให้ได้ทำงานต่อไป 

บางครั้งเจออุปสรรคใหญ่ๆ ท้อแท้ อาจทำให้เลิกคิดที่จะทำงานดีๆเพื่อสังคมไปเลย

เขียนไปเขียนมา คงสรุปได้หล่ะว่า ใจ เป็นเครื่องมือแปลค่าผลกระทบทางใจของเหตุการณ์ต่างๆ ว่าจะเป็น ทุนทางสังคม หรือ ต้นทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาคนนั้น

หมายเลขบันทึก: 274831เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท