สัมผัสระบบนิเศรอยต่อ ที่ท่าปอม คลองสองน้ำ สามป่า จังหวัดกระบี่


Ecotone

กิจกรรมท่องเที่ยวรายทางในช่วงวันหยุดยาวเข้าพรรษา บนเส้นทางพังงา-หาดใหญ่ตอนเดินทางกลับจากไปร่วมกิจกรรมที่ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์จังหวัดพังงา สถานที่แรกคือการสัมผัสระบบนิเวศรอยต่อท่าปอมคลองสองน้ำ ในวันที่น้ำขึ้นเต็มที่ได้เห็นสภาพแวดล้อมอีกรูปแบบหนึ่งครับ

ระบบนิเวศรอยต่อ(Ecotone) คือเขตรอยต่อระหว่างกลุ่มพืชที่แตกกันที่คลองท่าปอมคลองสองน้ำสามป่า ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านหนองจิก ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี ภายใต้การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาคราม ได้จัดสร้างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติพร้อมป้ายสื่อความหมาย และจุดบริการนักท่องเที่ยว เพื่อเเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางระบบนิเวศวิทยา ด้วยยความพิเศษของพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)สูง เพราะเป็นคลองรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็มขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล(Sea level) ทางฝั่งทะเลอันดามันน้ำจะมีน้ำขึ้น-ลงวันละ 2 ครั้ง ต่างจากฝั่งอ่าวไทยที่มีเพียงวันละครั้งเดียวเท่านั้นในช่วงที่ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง(Height tide) น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกันกลายเป็นน้ำกร่อยและเมื่อระดับน้ำทะเลลดลง(Low tide) น้ำจืดที่ปลดปล่อยไหลรินจากป่าต้นน้ำจะผลักดันน้ำเค็มออกไป มีสภาพเป็นน้ำจืดทำให้มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่ชุกชุมหลากหลายชนิดพันธุ์

 

พืชพรรณเป็นจุดบรรจบของป่า 3 ชนิด ที่น่าทึ่งผืนป่าผสมผสานสังคมพืชได้อย่างกลมกลืน คือป่าดิบชื้น(Evergreen forest), ป่าพรุ(Swamp forest) และป่าชายเลน(Mangrove forest) สภาพน้ำใสสีเขียวดุจดังมรกตสามารถมองเห็นหญ้าทะเลพลิ้วใบตามกระแสน้ำได้อย่างชัดเจน

ด้วยสภาพระบบนิเวศที่มีความเปราะบางสูง จำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเดินทางไปสัมผัสกับธรรมชาติมากจนเกินขีดความสามารถที่จะรองรับได้ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงจากการไปเหยียบรากไม้พืชพรรณได้รับความเสียหายได้ ดังนั้นปัจจุบันทางอบต. เจ้าของพื้นที่จึงห้ามมิให้ลงไปเล่นน้ำและเข้าไปเดินในบริเวณโซนน้ำจืด จะอนุญาติให้เดินชมตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีความยาวประมาณ 700 เมตร และให้ลงไปเล่นน้ำได้เฉพาะโซนน้ำเค็มตอนล่างที่กำหนดไว้เท่านั้น ก็ต้องช่วยกันปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด และช่วยกันปกป้องรักษาระบบนิเวศเพื่ออนุรักษ์ดินแดนมหัสจรรย์ไว้ให้ยั่งยืน

 

</span></span>

มาช่วยกันรักษาระบบนิเวศที่มีความเปราะบางเอาไว้ให้พวกเราทุกคนครับ

</span></span></span></strong>

หมายเลขบันทึก: 274526เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับน้องบาว กลับมาบ้านแล้ว

ไปเอาข้อมูลระบบนิเวศน์ มาบอกกล่าว

ไปมาหลายครั้งแล้ว ท่าปอม ถ้าไม่ห้ามคนลงเล่นน้ำที่ต้นน้ำมีหวังป่าไม้ต้องเสียหาย เพราะรากไม้ ต่างยึดเหนี่ยวเกี่ยวเกาะอิงเอื้อกันอยู่ คนลงไปเหยียบย้ำ ทำลายรากไม้โดยไม่เจตนา แต่ว่ารู้เท่าไม่ถึงกาล ฟังมาว่าหลังๆมานี้

 ทาง อบต.สั่งห้ามเล่นน้ำบริเวณอ่อนไหวแล้ว ซึ่งถ้าเป็นจริงต้องขอขอบคูณ ที่เห็นภัยในอนาคตครับ

สวัสดีพี่บาววอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

  • ผมแวะไปเป็นครั้งที่ 2 ได้ภาพมากหน่อย แต่เป็นช่วงน้ำตายระบบนิเวศใต้น้ำตอนล่างของพื้นที่ก็เลยเห็นภาพไม่ค่อยชัด
  • ไปครั้งแรกพากลุ่มเวียตนามไปดูงาน ได้ภาพน้อยเพราะว่ากล้องภาพเต็ม
  • ผมว่าการจัดโซนนิ่งพื้นที่เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ
    ทุกพื้นที่ครับ

 

สวัสดีค่ะ

  • มาชมธรรมชาติเมืองกระบี่ค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้กับ..การจัดการระบบนิเวศน์ค่ะ

สวัสครับ ครูคิม

  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท