Rain
นางสาว วารุณี จิรัญเวทย์

ชี้เด็กไทย 97 % ฉลาดแต่ระบบการศึกษาทำให้ไม่ฉลาด


การศึกษาคือการพัฒนาคน

ปัจจุบันปัญหาผลการเรียนของเด็กไทยน่าเป็นห่วง รวมทั้งยังขาดความเข้มแข็งในด้านความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำงานด้านความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทักษะการอ่านของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่เกินระดับ 2   จากทั้งหมด 5  ระดับ แม้ว่าจะปรากฏความสำเร็จของเด็กไทยที่คว้ารางวัลในการแข่งขันระดับโลกหลายครั้ง แต่ก็เป็นเด็กจำนวนน้อยนิดจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการกระจายโอกาสทางวิชาการยังไม่ทั่วถึง

 

                คุณภาพการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากความรู้ความเข้าใจของพ่อแม่ และที่สำคัญขึ้นกับคุณภาพของครูในการสร้างรากฐานการเรียน ฝึกฝนให้คิดเป็นทำเป็น  อ่านออก  เขียนได้ ค้นคว้าข้อมูล  ทั้งคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่สำคัญเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการวิจัยพบว่า เด็กฉลาดได้มาก เด็กไม่ฉลาดเพียง 1 – 3  % เท่านั้น  แสดงว่ายังมีเด็กฉลาดแต่เรียนไม่เก่งอีกมาก เพียงแต่ระบบการเรียนการสอน และการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนของไทยยังไม่ดีพอ และระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันก็ไม่สร้างความมั่นใจให้กับเด็กเท่าที่ควร

 

                ปฏิรูปการศึกษา ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปหลักสูตรครู เพิ่มปริมาณครู  พัฒนาระบบตอบแทน เพื่อเน้นคุณภาพครูมากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนเนื้อหาทางวิชาการที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ  จนครูทำตามไม่ทัน และ หากคนเก่งแย่งกันมาเรียนครู เชื่อว่าคุณภาพของเด็กไทยจะเปลี่ยน หมายถึงอนาคตของชาติก็จะเปลี่ยนไปด้วย

 

            พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแกประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน เพื่อขยายโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับโอกาสทางการศึกษา

           

            รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาและนักเรียนได้รับสิทธิในการศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นอนาคตของชาติ ในการเรียนการสอนนั้น นักเรียนจะต้องได้รับอุปกรณ์การเรียนที่สมบูรณ์ และมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อมุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพื่อส่งผลทำให้การศึกษาไทยและนักเรียนได้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาส่งผลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น            

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 274521เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 07:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ช่วยกันแสนอแนะทางออกของปัญหาให้หน่อยครับเพื่อน ๆ ร่วมด้วยช่วยกัน

1. ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการจัดกระบวนการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนไม่ได้ออกมาจากหนังสือ ครู และสถานศึกษาเท่านั้น สังคม สื่อ เพื่อน และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการสร้างความรู้ ความคิด ความเข้าใจ รวมถึงเจตคติแต่เด็กเป็นอย่างมาก

2.ยังไม่ทราบว่ามีข้อมูลผลการวิจัยหรือไม่ว่ามีมากกว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนมากน้อยเพียงใด

3.ฉะนั้น ตราบใดก็ตาม หากยังปฏิรูปการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยสมมติฐาน/ปรัชญาว่า ต้องให้ ครู/โรงเรียนเป็นสำคัญ และปล่อยปละละเลยให้สื่อ  สังคม ชักนำเด็กและเยาวชน ทำมาหากินกันโดยไม่สนใจผลกระทบต่อเวลาเรียนของเด็ก พฤติกรรมและเจตคติของเด็ก ไปอย่างนี้ มอมเมาเด็กด้วยละคร  ดารา ฯลฯ อย่างนี้ น่าสงสารครู โรงเรียน และอนาคตของเด็กและประเทศชาตินะครับ

4. การปฏิรูปการศึกษาจึงต้อให้ทุกภาคส่วนเอาด้วย โดยเฉพาะสื่อ เฉกเช่นประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว ไม่ปล่อยปละละเลยเหมือนพวกเรา หรือท่านอื่นเห็นอย่างไร...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท