Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ต้นแบบแนวคิดและวิธีการจัดการปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ : Purpose and Output ของกิจกรรมของคลินิกแม่อายใน พ.ศ.๒๕๕๒ ???


บันทึกนี้ถูกเขียนเพื่อทบทวนแนวคิดของอาจารย์แหววที่ได้อธิบายให้แก่อาจารย์ เอ๋ วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล ผู้จัดการคลินิคแม่อาย ในตอนเช้าของวันพฤหัสที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งเป็นการประชุมทางโทรศัพท์ระหว่างอาจารย์แหววและอาจารย์เอ๋ ในเรื่องการหารือกันว่า ทางเลือกในการกำหนดเป้าหมายการทำงานของคลินิคแม่อายเป็นอย่างไร ?

จากข้อเสนอของคุณกานต์ เสริมชัยวงศ์ เจ้าหน้าที่ UNICEF ที่ดูโครงการของคลินิกแม่อาย เราเข้าใจว่า เรามี ๒ ทางเลือก กล่าวคือ (๑) จะสร้าง "ต้นแบบการทำงานของคลินิคชุมชนเพื่อคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ" หรือ (๒) จะเป็นแต่เพียง "การบันทึกแนวคิดและวิธีคิดการทำงานของคลินิคชุมชนเพื่อคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ"

แล้วทั้งสองทางเลือกมีความต่างกันอย่างไร  

อ.แหววเข้าใจว่า มันมีความต่างอยู่ที่ output ไงคะ

"ในแนวคิดอันแรก"

อ.เอ๋ต้องมีภารกิจที่จะต้องสร้าง output ๒ ประการ กล่าวคือ  (๑) รายงานการสร้างต้นแบบ กล่าวคือ แนวคิดและวิธีการ โดยไม่ไปเอามาจากสิ่งที่คนอื่นทำอยู่ หรือไม่มั่วๆ ทำตามจิตสำนึกแบบ "หมาวัด"  และ (๒) รายงานการดำเนินการทดสอบทำงานอย่างเคร่งครัดตามต้นแบบความคิดและวิธีการที่สร้างขึ้น ซึ่งย่อมจะมีเรื่องราว ๒ ลักษณะในรายงานบับที่ ๒ นี้ ก็คือ เรื่องราวของความสำเร็จและเรื่องราวของความไม่สำเร็จ  

"ส่วนแนวคิดอันที่สอง"

อ.เอ๋ก็มีหน้าที่ส่งงานแก่ UNICEF เพียงแค่ประการเดียว ก็คือ รายงานประเภทที่ ๒ ซึ่งแปลว่า อ.เอ๋จะทำงานแบบมีต้นแบบความคิดและวิธีการหรือไม่ ก็ได้ ซึ่งก็เดาว่า รายงานการดำเนินงานจะบอกเราเองว่า การทำงานแบบมี work process สำเร็จไหม หรือการทำงานแบบไม่มี work process สำเร็จไหม

โดยหลักการ การทำงานแบบแรกมีแนวโน้มที่จะสำเร็จ ในขณะที่การทำงานแบบที่สองที่จะมีแนวโน้มที่จะล้มเหลว  จะสังเกตว่า "เรื่องของความบังเอิญ" หรือที่เรียกว่า "fluke" นั้น จะเกิดบ้างเมื่อมีปัจจัยภายนอกมาสร้างปาฏิหารย์ให้เสียใจและดีใจ เสียใจหากมี work process แล้ว ดันล้มเหลว ดีใจเพราะแม้ไม่มี work process แล้วดันสำเร็จ ในที่สุด ก็ได้ "ต้นแบบความคิดและวิธีการ" อยู่ดี แต่ก็อาจไม่มีการฝึก "บริหารความเสี่ยง Risk Management" ในการเลือกแบบที่สอง และอาจไม่เห็นต้นแบบนี้เลย หากไม่มีการถอดบทเรียนความล้มเหลว

แนวคิดที่สามหรือ ?

แนวคิดที่สามก็อาจมีได้ ก็คือ ถ้ากลัวว่า จะไม่สามารถผลิต “ต้นแบบแนวคิดและวิธีการ” อันเป็น output แบบแรกได้  ก็ต้องเลือกแบบที่สอง เราก็ไม่กำหนดว่า จะส่งมอบต้นแบบฯ ในสัญญาที่รับงานจาก UNICEF แต่ในทางปฏิบัติ เราก็ยังคงพยายามสร้าง "ต้นแบบความคิดและวิธีการ" อยู่ดี

ถ้าสำเร็จ ก็แถมให้ UNICEF ไป

ถ้าไม่สำเร็จ เราก็ไม่มีให้

เราก็ไม่กดดัน เพราะเราไม่ผิดสัญญา การบริหารความเสี่ยง โดยการวางต้นแบบก็จะเริ่มต้นทำ ถ้าสำเร็จ ปีหน้า เราค่อนเอาเรื่องนี้มาเป็น output ในสัญญาทำงาน 

ในที่สุด ก็ดูว่า อ.เอ๋จะเลือกวิธีการที่สาม ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางของ ๒ ทางเลือกที่ UNICEF เสนอมา

อาจารย์เอ๋ เป็นคนจริงจังจริงใจ จนเคร่งเครียดมุ่งมั่นมากมาย    และเชื่อว่า เขาจะทำได้    มวลมิตรของเขามีเป็นกองทัพที่เชื่อในคุณสมบัติแบบนี้ของเขา

        บันทึกนี้จึงเขียนเพื่อส่งให้ประชาคมคนทำงานต่อยอดองค์ความรู้แม่อายอ่านค่ะ โดยเฉพาะกานต์ อ.เอ๋ และ อ.แหวว  เพื่อที่เราสามคนจะได้มีโอกาสทบทวนกันว่า เราเข้าใจตรงกันไหมเนี่ย

        และคนอื่นอาจช่วยเราคิดอีกด้วย

        ๙๖ องค์ความรู้เรื่อง “ความเป็นคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติ” ที่เราศึกษาในปีที่แล้ว จะนำไปสู่องค์ความรู้เรื่อง “การจัดการแก้ปัญหาทั้ง ๙๖ ปัญหา” นี้หรือไม่ ? ก็คงอยู่ที่ประสิทธิภาพของเราทั้งประชาคมคนทำงานต่อยอดองค์ความรู้แม่อายนี้ล่ะ ปีนี้ เราหวังว่า เราจะสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาองค์ความรู้เก่าในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานบุคคลได้มากขึ้น... จริงไหมมวลมิตรเอ๋ย

คำสำคัญ (Tags): #คลินิกแม่อาย
หมายเลขบันทึก: 273840เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท