พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542


พระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น .. 2542

                                                       -----------------

                                                    ภูมิพลอดุลยเดช ป..

                                        ให้ไว้ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.. 2542

                                              เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

                    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                    โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิก

สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

                    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ

ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

                    มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อ

ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.. 2542"

 

                    มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา

นุเบกษาเป็นต้นไป

                    *[รก.2542/104/12/26 ตุลาคม 2542]

 

                    มาตรา 3  ในพระราชบัญญัตินี้

                    "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า กรุงเทพมหานคร องค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

ที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น

                    "หน่วยลงคะแนนเสียง" หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเสียง

                    "ที่ลงคะแนนเสียง" หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเสียง

                    "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร

ท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น

หรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้น

                    "ศาลากลางจังหวัด" หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

                    "ที่ว่าการอำเภอ" หมายความรวมถึง ที่ว่าการกิ่งอำเภอและสำนักงานเขต

                    "สำนักงานเทศบาล" หมายความรวมถึง ศาลาว่าการเมืองพัทยา

 

                    มาตรา 4  ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการ

จังหวัดในการดำเนินการเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร

ท้องถิ่น ถ้าเป็นการดำเนินการในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทย

 

                    มาตรา 5  การเข้าชื่อร้องขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการ

ลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้ใดหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นนั้น เพราะเหตุที่ไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ดังนี้

                    (1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกินหนึ่งแสนคนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของ

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

                    (2) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินหนึ่งแสนคนแต่ไม่เกินห้าแสนคนต้องมีผู้เข้าชื่อ

ไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

                    (3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่าห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคนต้องมีผู้เข้าชื่อ

ไม่น้อยกว่าสองหมื่นห้าพันคนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

                    (4) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกินกว่าหนึ่งล้านคนต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่าสามหมื่นคนของ

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

                    การนับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง

ให้ถือตามจำนวนในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นครั้งหลังสุด

ที่ใช้สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี

 

                    มาตรา 6  คำร้องขอให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือ

ผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา 5 ต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

                    (1) ชื่อ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อทุกคน พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัว

ประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มี

รูปถ่ายสามารถแสดงตนได้

                    (2) รายละเอียดของข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่น

ผู้ใด หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะให้ลงคะแนนเสียง

ถอดถอนนั้นมีการปฏิบัติหน้าที่หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างใดจนเป็นเหตุที่ไม่สมควรดำรง

ตำแหน่งต่อไป

                    (3) รายชื่อผู้แทนของผู้เข้าชื่อที่จะมีอำนาจดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการจัดให้

มีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

                    (4) คำรับรองของผู้แทนของผู้เข้าชื่อตาม (3) ว่าผู้เข้าชื่อทุกคนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และเป็นผู้ร่วมเข้าชื่อด้วยตนเอง

 

                    มาตรา 7  เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับคำร้องตามมาตรา 5 ให้ดำเนินการจัดส่ง

คำร้องไปให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ที่ถูกร้องขอให้ลงคะแนนเสียงถอดถอน

ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับคำร้อง และให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร

ท้องถิ่นผู้นั้นจัดทำคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาตามคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำร้องจากผู้ว่าราชการจังหวัด

                    เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของสมาชิก

สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่

ได้แจ้งคำร้องให้ทราบตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ

ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำชี้แจงหรือวันครบกำหนด แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการจัดให้มีการ

ลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต่อไป พร้อมทั้งจัดส่งคำร้องตาม

มาตรา 5 และคำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาถ้าหากมีไปด้วย

                    ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือบุคคลใดเป็นผู้ดำเนินการแทน ให้ผู้ว่าราชการ

จังหวัดแจ้งตามวรรคสองต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือบุคคลนั้นดำเนินการ

ต่อไป

 

                    มาตรา 8  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอน

สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น โดยให้ประกาศกำหนด

วันลงคะแนนเสียงไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 7

                    ในการดำเนินการจัดให้มีการลงคะแนนเสียงตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการ

เลือกตั้งจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น และปิดประกาศบัญชีรายชื่อดังกล่าวพร้อมทั้งคำร้องตามมาตรา 5 คำชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นถ้าหากมี และประกาศกำหนดวันลงคะแนนเสียงไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร และที่ลงคะแนนเสียงหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่ลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันลงคะแนนเสียง ทั้งนี้ เฉพาะในเขตท้องที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

                    ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิ

เลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาใช้บังคับกับการเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงและการถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อต่อบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง

 

                    มาตรา 9  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดหน่วยลงคะแนนเสียงที่จะพึงมีใน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดให้มีการลงคะแนนเสียง และกำหนดที่ลงคะแนนเสียงของ

หน่วยลงคะแนนเสียงนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวนของผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในแต่ละหน่วยลง

คะแนนเสียงและความสะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงและประกาศให้ผู้มีสิทธิ

ลงคะแนนเสียงทราบไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันลงคะแนนเสียง

                    ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนนเสียงตาม

ประกาศในวรรคหนึ่งเป็นสถานที่อื่นตามที่เห็นเหมาะสมก็ได้ โดยต้องประกาศการเปลี่ยนแปลง

ที่ลงคะแนนเสียงให้ทราบก่อนวันลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าห้าวัน เว้นแต่กรณีฉุกเฉินจะประกาศ

การเปลี่ยนแปลงที่ลงคะแนนเสียงน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็ได้

 

                    มาตรา 10  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน

เพื่อทำหน้าที่อำนวยการหรือกำกับดูแลการลงคะแนนเสียงตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร

 

                    มาตรา 11  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำที่ลงคะแนน

เสียงแต่ละแห่งไม่น้อยกว่าห้าคน เพื่อทำหน้าที่ในที่ลงคะแนนเสียงนั้น

                    การแต่งตั้งกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง

ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในหน่วยลงคะแนนเสียงนั้นเป็นประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการ

อื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน ถ้าในวันลงคะแนนเสียงกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงมาปฏิบัติหน้าที่

ไม่ถึงห้าคน ให้กรรมการที่เหลืออยู่แต่งตั้งผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงในหน่วยลงคะแนนเสียงนั้นเป็น

กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงจนครบห้าคน

                    ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อยู่ในที่ลงคะแนนเสียงหรือ

ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทนหรือปฏิบัติ

หน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าประธานกรรมการจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แล้วแต่กรณี

 

                    มาตรา 12  ให้กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงมีหน้าที่ดำเนินการและรักษา

ความเรียบร้อยในการลงคะแนนเสียงและการนับคะแนนเสียงในที่ลงคะแนนเสียง และมีหน้าที่อื่น

ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

                    ในกรณีที่ผู้ใดขัดขวางการลงคะแนนเสียง ให้กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียง

มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่ลงคะแนนเสียงนั้น แต่ต้องไม่ขัดขวางต่อการที่ผู้มีสิทธิลงคะแนน

เสียงจะใช้สิทธิลงคะแนนเสียง

 

                    มาตรา 13  การลงคะแนนเสียงให้ใช้วิธีลงคะแนนโดยตรงและลับ

                    การออกเสียงลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายลงในบัตรลงคะแนนเสียงในช่องที่

"เห็นด้วย" หรือ "ไม่เห็นด้วย" กับการให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ที่

ถูกร้องขอให้ลงคะแนนเสียงถอดถอน

                    ลักษณะและขนาดของบัตรลงคะแนนเสียงและหีบบัตรลงคะแนนเสียงให้เป็นไป

ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

 

                    มาตรา 14  ในวันลงคะแนนเสียงให้เปิดการลงคะแนนเสียงตั้งแต่เวลา 08.00

นาฬิกา ถึงเวลา 15.00 นาฬิกา

 

                    มาตรา 15  ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน

เสียงในที่ลงคะแนนเสียงใด ให้ลงคะแนนเสียง ณ ที่ลงคะแนนเสียงนั้น

                    ให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง ลงคะแนนเสียงในที่ลงคะแนนเสียงที่ตนมีสิทธิได้เพียง

แห่งเดียว

 

 

                    มาตรา 16  ก่อนเริ่มเปิดให้มีการลงคะแนนเสียงให้คณะกรรมการประจำที่ลง

คะแนนเสียงนับจำนวนบัตรลงคะแนนเสียงทั้งหมดของหน่วยลงคะแนนเสียงนั้น และปิดประกาศ

จำนวนบัตรทั้งหมดในที่ลงคะแนนเสียงไว้ในที่เปิดเผย และเมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเสียงให้

คณะกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงเปิดหีบบัตรลงคะแนนเสียงในที่เปิดเผยแสดงให้ผู้มีสิทธิ

ลงคะแนนเสียงซึ่งอยู่ ณ ที่ลงคะแนนเสียงนั้นเห็นว่าเป็นหีบเปล่า แล้วปิดหีบบัตรลงคะแนนเสียง

และให้ทำการบันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองคน

ซึ่งอยู่ในที่ลงคะแนนเสียงในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้ลงคะแนนเสียง

อยู่ในขณะนั้น

 

                    มาตรา 17  ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเสียงให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง

ที่ประสงค์จะลงคะแนนเสียงไปแสดงตนต่อกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียง โดยแสดงบัตร

ประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทาง

ราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้

                    เมื่อคณะกรรมการประจำที่ลงคะแนนเสียงตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนน

เสียงแล้วให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วงให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อ

ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงโดยให้จดหมายเลขบัตรและสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิลงคะแนน

เสียงลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเป็นหลักฐานตามที่

คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้กรรมการประจำที่ลงคะแนนเสีย

หมายเลขบันทึก: 273402เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท