ปฏิรูปการศึกษาด้วยการวิจัย



          หน้งสือในชุด “วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนรู้” เขียนโดย รศ. ดร. สุธีระ ประเสริฐ สรรพ์ แห่ง สกว. ทำให้ผมตาสว่าง เห็นสัจธรรมว่า การวิจัยจะช่วยปฏิรูปการศึกษาหรือการเรียนรู้ได้จริงๆ 
          หนังสือชุดนี้มี ๕ เล่ม ดังนี้
              
              
              
              
              
          ดร. สุธีระ เขียนหนังสือชุดนี้ จากประสบการณ์ในการสนับสนุนโครงการยุววิจัย สกว. หรือการสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖   และผมเข้าใจว่า คงจะได้จากประสบการณ์ครุวิจัยด้วย   เป็นการเขียนเพื่อเป้าหมายผู้อ่านคือครู    แต่คนทั่วไปก็อ่านได้    ผมอ่านแล้วสนุก และได้ข้อคิดมากมาย   ได้ความรู้หลักการวิจัย เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมาย


          ประสบการณ์ของ สกว. บอกว่า ครูทำวิจัยยาก เพราะถูกสอนให้ทำวิจัยในชั้นเรียนด้วยวิธีคิดที่ผิด ไม่เอื้อต่อการวิจัย
          แต่มีตัวอย่างการวิจัยของครูและนักเรียนที่โรงเรียนบ้านตะโละใส  อ. ละงู  จ. สตูล    ที่ทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านตะโละใส และในชุมชนด้วย    และครูก็ได้มีผลงานวิจัยเรื่องวิธีจัดการเรียนรู้ไปในตัว      
          ทำให้ผมเกิดความคิดว่า หากจะให้การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ ๒ ได้ผล  น่าจะตัดงบประมาณสักปีละ ๕๐ ล้านบาทมาให้ สกว. จัดยุววิจัย  ครุวิจัย  และวิจัยปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยการวิจัยท้องถิ่น   จะเป็นเม็ดเงินที่ได้ผลคุ้มค่าอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ ๒ 
          นี่เป็น mental model ใหม่ในการช่วยกันทำงานเพื่อบ้านเมืองนะครับ    ในต่างประเทศที่เขาเจริญแล้วเขาทำอย่างนี้ทั้งนั้น    คือเจ้าของงานเขาใช้วิธี outsource เพื่อให้ได้ผลงานต่อบ้านเมืองมากที่สุด   เขาเน้น collaboration ไม่ใช้ competition ระหว่างหน่วยงานรัฐ/เอกชน


          ประเทศของเราจะเจริญ หากหน่วยงานต่างๆ ละลดอติมานะและความเห็นแก่ตัว    หันมาเห็นแก่ชาติบ้านเมือง   เอาผลของบ้านเมืองเป็นหลัก   และ outsource งบประมาณไปให้หน่วยงานที่ทำงานได้ผลดีต่อบ้านเมืองที่สุดเป็นผู้ทำ    แล้วจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบระยะยาวอย่างจริงจัง    งานวิจัยเป็นงานที่ต้องเน้นผลกระทบระยะยาว ที่ความฉลาดของสังคม


          ที่บ้านเมืองของเราเจริญช้า แข่งขันกับเขายาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราตกอยู่ในภพภูมิของการแก่งแย่งแข่งขันกันเอง    ไม่ร่วมมือกันแข่งขันกับภายนอก   คือมัวเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่บ้านเมืองส่วนรวมนั่นเอง

วิจารณ์ พานิช
๒๗ มิ.ย. ๕๒
เชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 272759เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท