สาวสิงห์บุรี
นาง กุลภัสสรณ์ เจี๊ยบ พิทักษ์ศักดาชัย

HR Champion : งานวิจัย & พัฒนาทรัพยากรบุคคล


HR Champion : งานวิจัย & พัฒนาทรัพยากรบุคคล

HR Champion : งานวิจัย & พัฒนาทรัพยากรบุคคล  



ภัทรพงศ์ พรรณศิริ

 

ในธุรกิจเรามักคุ้น เคยกับ งานวิจัยและพัฒนาด้านการตลาด วัตถุประสงค์นั้นเพื่อ สร้างความได้เปรียบการแข่งขัน ด้านส่วนผสมทางการตลาด อาทิเช่น การพัฒนาด้านแบรนด์ การพัฒนาด้านบรรจุหีบห่อ กลยุทธ์ด้านราคา เป็นต้น หรืองานวิจัยและพัฒนาด้านการผลิต อาทิเช่น การเพิ่มผลผลิตในการผลิตต่อรอบ การลดการสูญเสียในการผลิต เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามมีการพูดถึงแต่ยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นการวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล

 

มีการพูดกันเป็น ที่คุ้นเคยว่า การอบรมและพัฒนาบุคลากร การพัฒนาอาชีพความก้าวหน้าบุคลากร แต่กับประเด็นการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรบุคคล กลับไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเท่าที่ควร ทั้งที่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรทุนที่มีความสำคัญที่สุด และช่วยให้ธุรกิจพัฒนาไปอย่างยั่งยืน

 ผู้เขียนขอเสนอหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจและท้าทายนักบริหารงานทรัพยากรบุคคลทุกคน ที่จะแสวงหาคำตอบ ดังนี้

1.ทำอย่างไรจะจูงใจพนักงานทำงาน โดยไม่ต้องขึ้นเงินเดือนประจำปี ?

 

2.ทำอย่างไรจะทำให้พนักงานมีความจงรักภักดีตลอดจนเกษียณอายุ ?

 

3.ทำอย่างไรจะทำให้พนักงานรับผิดชอบงานได้มากกว่า 1 ธุรกิจ ?

 

4.ทำอย่างไรจะทราบว่าพนักงานทำงานอย่างมีความสุขหรือไม่ในองค์กร ?

 

5.ทำอย่างไรองค์กรจะทราบได้ว่า พนักงานที่ปฏิบัติงานในหน้าที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ?

 

6.ทำอย่างไรจะทำให้พนักงานมีความคิดในเชิงกลยุทธ์ ไม่ใช่เป็นเพียงนักปฏิบัติที่เก่งเท่านั้น ?

 

7.ทำอย่างไรจะเปลี่ยนวิถีการทำงานแบบ FUNCTIONAL MANAGER เป็น BUSINESS MANAGER ?

 

8.ทำอย่างไรจะลดคนลงครึ่งหนึ่ง แต่ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งยังมีการขยายตัวอีกด้วย ?

 

9.ทำอย่างไรพนักงานทุกคนจะมีพฤติกรรมเป็นไปตามความคาดหวังขององค์กรทุกคน ด้วยความเต็มใจ ?

 

10.ทำอย่างไรที่ธุรกิจจะรู้ได้ว่าพนักงานคนใด มีขีดความสามารถและมีศักยภาพที่จะสามารถบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

จะเห็นได้ว่า ประเด็นวิจัยข้างต้นล้วนแต่เป็นที่น่าสนใจ และท้าทายความสามารถที่จะทำให้มันเกิดขึ้น ทั้งของเจ้าของธุรกิจเอง และนักบริหารทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องค้นหา วิจัยจนได้คำตอบให้ได้

 

...เพราะคำตอบจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างถาวรของธุรกิจต่อไป

 

ลำดับถัดไปก็คือขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานวิจัย และพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลได้อย่างไร (PEOPLE RESEARCH & DEVELOPMENT)

 

ซึ่งผู้เขียนเห็น ว่าไม่เพียงแต่จะเป็นคุณประโยชน์เฉพาะในวงการธุรกิจเท่านั้น แต่กลับยังจะเป็นประโยชน์แก่ภาครัฐบาลด้วย ผลลัพธ์ของงานวิจัย จะทำให้ผู้ศึกษาสามารถที่จะเข้าใจ พฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กรมากขึ้น ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจูงใจ หรือก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ปรารถนาตามมา

 

ผลลัพธ์ จะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาองค์กร ไม่ว่าจะอยู่ในภาคธุรกิจ หรือภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ผมขอพูดถึงขั้นตอนการจัดตั้ง P.R.D ดังนี้

 

1.ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา P.R.D.

 

2.กำหนดวัตถุประสงค์ของ P.R.D. รวมทั้ง วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และภารกิจ ตลอดจน เป้าหมายของ P.R.D.

 

3.โครงสร้างของ P.R.D.

 

4.สายการบังคับบัญชา ให้รายงานตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

 

5.อัตรากำลังคน และระดับตำแหน่ง

 

6.งบประมาณที่คาดว่าจะต้องใช้จ่าย

 

7. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

เชื่อว่าผลของงาน วิจัย นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กรแล้ว ยังสามารถให้ผลในเชิงการค้าให้กับองค์กรด้วย ตลอดจนสามารถนำไปเผยแพร่ในเวทีนักบริหารงานบุคคลระดับโลกด้วย

 

พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

  ที่มา : bangkokbiznews.com

คำสำคัญ (Tags): #jeab
หมายเลขบันทึก: 271663เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผลงานวิจัย

ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาองค์การ

อย่างเช่น

งานวิจัยเจ้าตัวน้อย

ว่าเป็นชายหรือว่าหญิง

ใช่เปล่าจ๊ะ

:D

หากเราทำงานวิจัยได้ทุกเรื่อง คงจะพบคำตอบที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท