ทำอย่างไรจะพบคนเก่งในองค์กร ?


How to Identify the Talent Employee

ทำอย่างไรจะพบคนเก่งอยู่ในองค์กร

               พอตั้งคำถามในลักษณะนี้แล้ว  บางท่านอาจจะคิดถึงระบบต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาปรับใช้ในองค์กรมากมาย หรือคิดถึงว่าต้องเป็นองค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้นที่ปฏิบัติกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กรเล็ก ๆ  และไม่จำเป็นที่ต้องเป็นองค์กรใหญ่ ๆ ที่ได้มาตรฐานเท่านั้นที่จะต้องค้นพบคน เก่งได้  องค์กรเล็ก ๆ ที่มีพนักงานไม่ถึง 100  คน  ก็สามารถค้นพบคนเก่งในองค์กรได้เช่นกัน   ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างคำจัดกัดความคนดี ของ ท่านพารณ   อิศรเสนา  ณ  อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) ได้พูดถึงคนดีไว้  10  ประการ  ดังนี้ :-

       คนดี   (The Noble)
             1.  ต้องเป็นคนมีน้ำใจ  (Considerate)
             2.  ใฝ่หาความรู้  (In constant search of knowledge)
             3.  มีความวิริยะอุตสาหะ  (Persevering)
             4.  มีความเป็นธรรม  (Fair)
             5.  เห็นแก่ส่วนรวม  (Concern for others as a whole)
             6.  รู้หน้าที่ในงาน ในครอบครัว  และในสังคม (Mindful of duties toward family and society
             7.  มีทัศนคติที่ดี  (Right attitude)
             8.  มีวินัย และมีสัมมาคารวะ  (Well disciplined and courteous)
             9.  มีเหตุผล  (Logical)
             10. รักษาชื่อเสียงทั้งของตัวเองและของบริษัท (Upholding own and company's image)
             เป็นอย่างไรบ้างคะ  คนดีสิบประการของ คุณพารณ  สำหรับหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ  ก็สามารถนำไปดัดแปลงเพื่อใช้ในการประเมินผลของพนักงานได้   โดยการพิจารณาคุณสมบัติของพนักงาน  ซึ่งโดยทั่วไป ยังไม่สามารถบอกได้ว่า พนักงานจะเป็นคนดีที่แท้จริง ต้องมีการเก็บข้อมูลการประเมินผลงานย้อนหลังประกอบการพิจารณา เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ได้ว่าพนักงานมีการปฏิบัติงานดี มีความอย่างสม่ำเสมอ
ตามหัวข้อต่อไปนี้อีกด้วยนะคะ

           1. Personal Characteristics

                   - การยึดมั่นในอุดมการณ์ของบริษัท

                   - การประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม

                   - การประพฤติปฏิบัติอย่างสุจริตและมีคุณธรรม

          2. Leadership Characteristics

                   - ความเป็นผู้นำและการสร้างทีมงาน

                   - ความมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงธุรกิจ

- ความสามารถที่จะทำงานในสภาวะกดดัน

                   - ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

          3. Managerial Characteristics

                   - ความสามารถในการใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจ

                   - ความสามารถเชิงวิเคราะห์และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

                   - ความรอบรู้และจิตสำนึกด้านการตลาด

                   - ความมุ่งมั่นสู่ประสิทธิภาพและผลสำเร็จ

                 จากกระบวนการทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็น ถือว่าเป็นวิธีการหรือแนวปฏิบัติ ที่สามารถทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก โดยเฉพาะหน่วยงานเล็ก ๆ ก็สามารถพัฒนารูปแบบในลักษณะนี้ โดยพิจารณาในกลุ่มเล็กๆ จะมีความชัดเจนและง่ายต่อการพิจารณากว่าองค์กรใหญ่ ๆ ด้วยคะ นอกจากคนดีในความหมายของคุณพารณแล้ว เพื่อน ๆ ยังคิดว่า "คนดี คนเก่." นั้น ควรมีลักษณะเช่นไรอีกคะ ???

ขอขอบคุณ : คุณพารณ   อิศรเสนา  ณ  อยุธยา  ที่ได้ได้มอบความรู้ให้แก่พวกเราคะ

 

  

หมายเลขบันทึก: 270724เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • ดีมากๆเลยค่ะ
  • ขอนำไปใช้นะคะ

หวัดดีจ๊ะน้องโมเมย์คนสวย วันนี้รู้สึกเหงา ปัญหาด้านการงานและด้านผู้ร่วมงานรุ่มเร้า กลุ้มใจจังเลย คนเราดีได้แต่อย่าเด่นจะเป็นภัย จำคำเตือนพี่สาวคนนี้ไว้นะจ๊ะ หนทางยังอีกยาวไกล

มีประโยชน์จริงๆค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท