โอ้เอ้วิหารรายพระไชยสุริยา


จากกาพย์สอนเป็นกลอนสวด

บทคัดย่อ

            สวดโอ้เอ้วิหารราย  เป็นการสวดฝึกซ้อมของนักเทศน์ในสมัยก่อนแล้วพัฒนาเปลี่ยนแปรมาเป็นการสวดที่มีท่วงทำนองช้าเร็วให้ความไพเราะแก่ผู้ฟังก่อนที่จะได้ฟังเทศน์มหาชาติจริง ๆ การสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้นแต่เดิมจะมีทำนองอย่างใดไม่ปรากฏ   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชาธิบายไว้ว่าการสวดโอ้เอ้วิหารรายมีสามทำนองคือ  ยานี  ฉบัง  และสุรางคนาง  เดิมทีใช้บทเทศน์มหาชาติเป็นบทสวดแต่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบทสวดเทียบมูลตามตำราที่เรียนในขณะนั้นคือ  บทเรียนมาตราตัวสะกดจากเรื่อง  พระไชยสุริยา  แต่งโดย พระสุนทรโวหาร(ภู่)  ในปัจจุบันมีการสืบทอดท่วงทำนองการสวดโอ้เอ้วิหารรายโดยเฉพาะครูประสาท

ทองอร่าม นาฏศิลปินกรมศิลปากร ได้รวบรวมคนจากกรมศิลปากรที่สามารถสวดโอ้เอ้วิหารราย

ได้ร่วมกันถ่ายทอดวิธีการสวดโอ้เอ้วิหารรายให้กับครูในโรงเรียนสังกัด กทม.และจังหวัดในภาคกลาง เพื่อให้นำไปฝึกสอนเด็กนักเรียนให้สืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารรายต่อไป
           

คำสำคัญ

1. การสวดโอ้เอ้วิหารราย

2. กาพย์พระไชยสุริยา

 

บทนำ

สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแห่งมหาชาติคำหลวง   โดยมีพระสังฆราชเป็นประธานเพื่อใช้สวดในพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์   ให้ฝึกซ้อมนักสวดตามวิหารที่รายรอบวัดพระศรีสรรเพชญ์ และคัดเลือกผู้ที่สวดดี คล่องแคล่ว แม่นยำในอักขระและทำนองขึ้นไปอ่านที่วิหารใหญ่ ถวายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๓ ชุด   ชุดละ ๔ คน เพื่อสับเปลี่ยนกัน ส่วนที่เหลือก็ให้ฝึกหัดสวดกันต่อไปตามศาลารายเช่นเดิม(เว็บไซด์.  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๕๒)

 

 

จุลลดา   ภักดิ์ภูมินทร์(เว็บไซด์.   มิถุนายน   ๒๕๕๒)  ได้กล่าวถึงการสวดโอ้เอ้วิหารรายไว้ดังนี้

เรื่องโอ้เอ้วิหารรายซึ่งเป็นสำนวนหมายถึง ยืดยาด อ้อยอิ่ง ล่าช้าเรื่องนี้พบใน สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ท่านว่า เค้ามูลการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้น มาจากเมืองนครศรีธรรมราช  การที่มีเด็กสวดตามศาลารายในวัดพระแก้วนั้น เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยที่โรงทานข้างประตูต้นสน ครั้นถึงเทศกาลสวดมหาชาติคำหลวงในโบสถ์วัดพระแก้ว จึงโปรดฯให้จัดเด็กนักเรียนที่โรงทานมาสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างโบราณที่ศาลารายเลยเป็นธรรมเนียมมาจนในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งเลิกโรงเรียนที่โรงทาน   พระบาทสมเด็จ  พระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระบรมราชาธิบายประกาศว่าสวดหนังสือสวดอย่างเช่นเด็กๆ สวดนั้น เรียกชื่อว่าสวดโอ้เอ้พิหารราย จะสวดที่พิหารรายก็ดี สวดที่พระระเบียงก็ดี สวดที่พิหารใหญ่ ที่ศาลา กุฎี ที่ใดๆ ก็ดี ก็คงเรียกชื่อยืนอยู่อย่างเดียวว่า โอ้เอ้พิหารราย ไม่ยักย้ายไปตามที่สวดเลย

 

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต  พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๖ : ๑๔๐๒) ให้ความหมายของการสวดโอ้เอ้วิหารราย  หมายถึง  การสวดกาพย์ลำนำเป็นทำนองอย่างที่นักเรียนสวดตามศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา  วันกลางพรรษา  และวันออกพรรษา  ว่า  สวดโอ้เอ้วิหารราย

                เห็นได้ว่า  การสวดโอ้เอ้วิหารรายมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เป็นการจัดการเรียนการสวดมหาชาติโดยให้นักเรียนได้ลงฝึกซ้อมคลอเสียงตามต้นแบบ  แต่เมื่อผ่านนานวันเข้าก็กลายทำนองให้เนิบช้าและแปลกไปจากเดิม  จึงกลายมาเป็นทำนองการสวดในยุคปัจจุบัน

               

การปรับเปลี่ยนบทสวดโอ้เอ้วิหารราย

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดนักเรียนโรงทานมาสวดที่ศาลารายด้านเหนือของพระอุโบสถด้วย แต่เปลี่ยนเป็นสวดเทียบมูลบทแทน  ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงทานมาสวดตามหนังสือที่ตนเรียน คือ เรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่ สวดโอ้เอ้วิหารรายจึงกลายจากการฝึกหัดสวดมหาชาติคำหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยามาเป็นสวดเรื่องกาพย์พระไชยสุริยามาจนทุกวันนี้ (จุลลดา   ภักดิ์ภูมินทร์.  เว็บไซด์.   มิถุนายน   ๒๕๕๒)  ส่วน นันทา  ขุนภักดี(เทปคาสเซ็ท.  ม.ป.ป.) กล่าวว่า  การสวดโอ้เอ้วิหารรายเดิมทีเป็นการสวดมหาชาติคำหลวงรอบพระอุโบสถวัดในพระบรมมหาราชวัง  แต่ในยุคได้ปรับมาสวดกาพย์พระไชยสุริยา

                  การสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้นในแต่ละศาลาจะจัดโต๊ะหมู่บูชา  พร้อมมีม้าสำหรับวางหนังสือ ๑ ตัว  เมื่อถึงเวลานักเรียนผู้สวดซึ่งมีศาลาละ ๓ คน จะนำหนังสือเปิดวางไว้บนม้านั้น เมื่อจะเริ่มอ่านผู้อ่านทั้ง ๓ คนจะนั่งคุกเข่า คนหนึ่งเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์พร้อมกัน นั่งพับเพียบสวดโดยจะจัดให้สวดกันไปทีละศาลา  เมื่อเริ่มอ่านรอบสองผู้อ่านเพียงแต่กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์เท่านั้น ไม่ต้องทำเช่นรอบแรก  ให้อ่านเช่นนี้ไปทีละศาลา จนได้เวลาพระสงฆ์เริ่มแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถจึงเลิกสวด (เว็บไซด์.  ๒๕  พฤษภาคม  ๒๕๕๒)

                   จากการศึกษาค้นคว้าพบว่ามูลเหตุของการปรับเปลี่ยนบทสวดโอ้เอ้วิหารรายจากบทมหาชาติคำหลวงมาเป็นกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่นั้นจะมีมูลใดไม่ปรากฏแน่ชัด  แต่จากงานเขียนของจุลลดา  ภักดิ์ภูมินทร์พอที่จะอนุมานได้ว่าเนื่องจากบทกาพย์พระไชยสุริยาของสุนทรภู่นั้นเป็นบทเรียนเรื่องการสะกดด้วยมาตราต่าง  ทั้งยังถ้อยคำสำนวนไพเราะจึงมีคนนำมาเป็นตำราใช้ในการเรียนการสอนในยุคนั้น  และเนื่องจากได้มีการสวดจากบทเรียนจึงได้นำเอาบทกาพย์พระไชยสุริยาซึ่งเป็นบทที่เรียนเรื่องมาตราตัวสะกดมาเป็นบทสวดแทน

 

กาพย์พระไชยสุริยา

            กาพย์พระไชยสุริยา  วรรณกรรมของสุนทรภู่มุ่งเสนอนิทานเพื่อใช้ถ้อยคำภาษาเพื่อให้เป็นตำราที่ใช้เรียนเรื่องมาตราตัวสะกดสำหรับเจ้านายในสมัยนั้น  มีเนื้อเรื่องโดยย่อดังนี้

 

                มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าไชยสุริยา ครองเมืองสาวัตถี มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุมาลี ครอบครองบ้านเมืองด้วยความผาสุก ต่อมาข้าราชการ เสนาอำมาตย์ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงเกิดเหตุอาเพศ เกิดน้ำป่าไหลท่วมเมือง ผีป่าอาละวาด ทำให้ชาวเมืองล้มตายจำนวนมาก พระไชยสุริยากับพระมเหสีจึงลงเรือสำเภาแต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและมเหสีขึ้น ฝั่งได้ พระอินทร์จึงเสด็จมาสั่งสอนธรรมะให้ทั้งสองพระองค์ปฏิบัติตามธรรมจึงเสด็จไปสู่สวรรค์

 

ท่วงทำนองการสวด

                การสวดโอ้เอ้วิหารรายเดิมทีจะมีท่วงทำนองอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน  แต่น่าจะมีเค้ามาจากทำนองการเทศน์มหาชาติ  เนื่องจากการสวดโอ้เอ้วิหารรายสืบเนื่องมาจากการฝึกหัดเทศน์มหาชาติแล้วค่อยกลายทำนองมาเป็นทำนองเฉพาะโอ้เอ้วิหารรายในปัจจุบัน  นันทา  ขุนภักดี(เทปคาสเซ็ท.  ม.ป.ป.)  กล่าวว่า  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชาธิบายไว้ว่าการสวดโอ้เอ้วิหารรายเป็นการสวดในวิหารรายที่อยู่รอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยมีสามทำนองซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีสามทำนองไม่เปลี่ยนแปลง  มีท่วงทำนองการสวดดังนี้

 

            ๑. ทำนองยานี 

               ทำนองยานีเป็นทำนองที่เร็วว่องไวฟังดูแล้วสนุกสนานมีการออกเสียง / เอิง  เอิง หึ เอ้ย /เอิง  เอิง  เอย/  เอ่อ  หึ  เออ  หึ  เอ้ย /เออ  เอ๊ย/ชะเออ  หึ  เอิง  เอิง  เอย /  แทรกระหว่างคำซึ่งทำนองจะจบลงในหนึ่งบาทเท่านั้น  ครั้นเมื่อขึ้นบทใหม่ก็จะใช้ทำนองเดิมซ้ำอีก

 

                ตัวอย่าง

                                บทว่า

สาธุสะจะขอไหว้                พระศรีไตรสรนา

พ่อแม่แลครูบา                                     เทวดาในราศี

               

                เมื่อจะสวดจะออกเสียงระหว่างวรรคแทรกการเอื้อน  คือ

 

บาท ๑    สาธุ(เอิง  เอิง หึ เอ้ย)สะ(เอิง  เอิง  เอย)จะขอไหว้(เอิง  เอิง หึ เอ้ย)

                                พระ(เอิง  เอิง  เอย)ศรีไตร(เอ่อ  หึ  เออ  หึ  เอ้ย)สะ(เออ  เอ๊ย)รนา(ชะเออ  หึ  เอิง 

เอิง  เอย)

บาท ๒ พ่อแม่(เอิง  เอิง หึ เอ้ย)แล(เอิง  เอิง  เอย)ครูบา(เอิง  เอิง หึ เอ้ย)

                                เท(เอิง  เอิง  เอย)วดา(เอ่อ  หึ  เออ  หึ  เอ้ย)ใน(เออ  เอ๊ย)ราศี(ชะเออ  หึ  เอิง 

เอิง  เอย)

 

ครั้นเมื่อจะสวดบทต่อไปก็แทรกลูกเอื้อนดังบทแรกโดยทำนองจะจบลงในหนึ่งบาทตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

 

ตัวอย่างบทสวดโอ้เอ้วิหารรายทำนองยานี

 

ข้าเจ้าเอา ก ข                       เข้ามาต่อ ก กา มี

แก้ไขในเท่านี้                                      ดีมิดีอย่าตรีชา

จะร่ำคำต่อไป                       พอฬ่อใจกุมารา

ธรณีมีราชา                                           เจ้าพาราสาวะถี

ชื่อพระไชยสุริยา                มีสุดามเหสี

ชื่อว่าสุมาลี                                           อยู่บูรีไม่มีภัย

ข้าเฝ้าเหล่าเสนา                  มีกริยาอัชฌาสัย

พ่อค้ามาแต่ไกล                                   ได้อาศัยในพารา

ไพร่ฟ้าประชาชี                  ชาวบูรีก็ปรีดา

ทำไร่เขาไถนา                                      ได้เข้าปลาแลสาลี

อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า                     ก็หาเยาวนารี

ที่หน้าตาดีดี                                          ทำมโหรีที่เคหา

ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ                      เข้าแต่หอล่อกามา

หาได้ให้ภริยา                                      โลโภพาให้บ้าใจ

ไม่จำคำพระเจ้า                   เหไปเข้าภาษาไสย

ถือดีมีข้าไท                                           ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา

คะดีที่มีคู่                               คือไก่หมูเจ้าสุภา

ใครเอาเข้าปลามา                                ให้สุภาก็ว่าดี

ที่แพ้แก้ชนะ                        ไม่ถือพระประเวณี

ขี้ฉ้อก็ได้ดี                                             ไล่ด่าตีมีอาญา

 

                ๒. ทำนองฉบัง

                                การสวดโอ้เอ้วิหารรายในทำนองฉบังนั้นเป็นท่วงทำนองที่เนิบช้าลงมาอีก  ซึ่งทำนองยานีจะเร็วสุด  ทำนองฉบังจะเป็นทำนองกลางที่ไม่ช้าและเร็วเกินไป  มีเอื้อนยาวและดยนจังหวะเร็วเพื่อความไพเราะสนุกสนาน  มักแทรกคำเอื้อนว่า  /เออ  หึ  เอ่อ  เอ้อ  เอ๊ย/ เอิ๊ง  เอย/

ฮะ  เออ  เอ่ย/ เอย / เออ  เอ่อ  เอ้อ  เอ๊ย/ เอิ๊ง  เอ่ย/ 

 

                ตัวอย่าง

                                บทว่า

พระไชยสุริยาภูมี                พาพระมเหษี

มาที่ในลำสำเภา

 

เมื่อจะสวดจะออกเสียงระหว่างวรรคแทรกการเอื้อน  คือ

 

                                พระไชยสุริยา(เออ  หึ  เอ่อ  เอ้อ  เอ๊ย)ภูมี    พาพระ(เอิ๊ง  เอย)มเหสี

มาที่(ฮะ  เออ  เอ่ย)ในลำ(เอย  เออ  เอ่อ  เอ้อ  เอ๊ย)สำเภา (เอิ๊ง  เอ่ย)

 

ครั้นเมื่อจะสวดบทต่อไปก็แทรกลูกเอื้อนเป็นตั้งบทแรกโดยทำนองจะจบลงในหนึ่งบทเท่านั้นเอง

 

ตัวอย่างบทสวดโอ้เอ้วิหารรายทำนองฉบัง

 

เข้าปลาหาไปไม่เบา            นารีที่เยาว์

ก็เอาไปในเภตรา

เถ้าแก่ชาวแม่แซ่มา             เสนีเสนา

ก็มาในลำสำเภา

ตีม้าฬ่อช่อใบใส่เสา            วายุพยุเพลา

สำเภาก็ใช้ใบไป

เภตรามาในน้ำไหล            ค่ำเช้าเปล่าใจ

ที่ในมหาวารี

พะสุธาอาศัยไม่มี                ราชานารี

อยู่ที่พระแกลแลดู

ปลากะโห้โลมาราหู           เหราปลาทู

มีอยู่ในน้ำคล่ำไป

ราชาว้าเหว่หฤทัย                วายุพาคลาไคล

มาในทะเลเอกา

แลไปไม่ปะพะสุธา            เปล่าใจนัยนา

โพล้เพล้เวลาราตรี

ราชาว่าแก่เสนี                     ใครรู้คะดี

วารีนี้เท่าใดนา

ข้าเฝ้าเล่าแก่ราชา                ว่าพระมหา

วารีนี้ไซ้ใหญ่โต

ไหลมาแต่ในคอโค             แผ่ไปใหญ่โต

มโหฬาร์ล้ำน้ำไหล

บาลีมิได้แก้ไข                      ข้าพเจ้าเข้าใจ

ผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเล่ามา

               ว่ามีพระยาสกุณา                ใหญ่โตมโหฬาร์

กายาเท่าเขาคีรี

หมายเลขบันทึก: 269934เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อยากรู้เรื่องโอ้เอ้ศาลาราย

ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูล

กระผมอยากจะขอความกรุณาท่านอาจารย์หรือผู้ใดที่มีเทป วีซีดี ที่บัทึกการสวดโอ้เอ้วิหารรายหน่อยครับเพื่อเป็นการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียนครับ

ผมยินดีจ่ายค่าจัดส่งครับ โทรหาผมได้ที่0853832517 หรืออีเมล์ [email protected] ขอพระคุณล่วงหน้านะครับ

ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้พยายามให้มีการฟื้นฟูการสวดโอ้เอ้วิหารรายขึ้นมาอีกครั้ง โดยมอบให้กรมการศาสนาประสานกับโรงเรียนต่างๆ จัดนักเรียนเข้ามาสวดโอ้เอ้วิหารรายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารม(วัดพระแก้ว)ค่ะ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 53 และสำหรับปี 54 นี้ มีการสวดแบ่งเป็น 3 ช่วง (ช่วงละ 3 วัน) คือ ช่วงเข้าพรรษา ช่วงกลางพรรษา และช่วงออกพรรษา โดยช่วงแรกจะเริ่มสวดกันวันที่ 14,15,16 ก.ค.54 นี้ค่ะ สวดรอบเช้าเวลา 9.00-11.00 น. รอบบ่าย 13.00-15.00 น. หากสนใจสามารถเข้าไปฟังน้องๆนักเรียนสวดกันได้นะคะ ^__^

ที่เรียนมาการสวดยานีไม่ใช่ทำนองนี้นะค่

ได้ความรู้มากกกกกกเลยคะ

ขอบพระคุณมากครับคุณครู

รบกวนด้วยคะ ขณะนี้อยากได้บทสวดโอ้เอ้วิหารราย เพื่อนำไปให้เด็กๆๆในหมู่บ้านได้ศึกษากัน ไม่ทราบว่าใครพอจะมีบ้างคะ รบกวนขอซื้อต่อหน่อยคะ

ขอบคุณคะ

วรรณคะ

สอบถามที่ [email protected] ได้นะครับ  ยินดีเผยแพร่ข้อมูล

อยากได้วีดีีโอหน่อยครับ ขอบคุณที่ช่วยให้ข้อมูลดีๆนะครับ


นักเรียนชมนมสวดโอ้เอ้ รร.วัดทองเพลง

ที่รร.วัดทองเพลง ได้เปิดวิชาชมรม โดยมีชมรม ไว้ให้นักเรียนเลือกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ชมนมสวดโอ้เอ้วิหารราย โดยครูผู้สอน คือ คุณครู จำนง หงษา ซึ่งนักเรียนในชมรมก็ได็เพลิดเพลินกับการสวดทำนองต่างๆมากเลย โดยเฉพาธ กาพย์ฉบัง๑๖ ซึ่งในวันที่ 18 ต.ค. 2556 รร.วัดทองเพลงได้ร่วมสวดโอ้เอ้ฯที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย โดยสวดที่ศาลา๒ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท