ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

กฎหมายจะช่วยให้ตายดีได้หรือไม่


“พินัยกรรมชีวิต เป็นหนังสือที่ทำขึ้นเพื่อให้มีผลหลังการเสียชีวิต ซึ่งในกรณีหนังสือแสดงเจตนานี้ เป้าประสงค์เป็นไปเพื่อต้องการให้มีการจัดการดำเนินการก่อนการเสียชีวิต หรือเพื่อเอื้ออำนวยให้การจากไปเป็นไปอย่างสงบ ตามปรารถนา”

กำแพง

ผู้ดำเนินรายการเสวนา คุณกนกวรรณ กนกวนาวงศ์ เล่าถึงเรื่องของชายชราท่านหนึ่งที่ป่วยหนัก และใกล้จะเสียชีวิต ท่านเคยสั่งไว้ว่า ถ้าไม่รู้สึกตัวแล้ว อย่าใช้เครื่องมือทางการแพทย์ใด ๆ กับท่าน ปล่อยให้ท่านไปตามวิถี แต่นั่นเป็นการบอกปากเปล่า เมื่อท่านเข้ารับการรักษาจริง ๆ แพทย์ถามลูก ๆ ซึ่งลูก ๆ ตัดสินใจใช้เครื่องมือแพทย์ เพราะคิดว่า "พ่อยังมีลุ้น"


เครื่องมือแพทย์ยื้อชีวิตชา
ยชราไปได้อีก 3 เดือน ระหว่างนั้น ลูกๆ เริ่มรู้สึกผิดที่ตัดสินใจอย่างนั้น รู้สึกผิดที่ทำให้พ่อทุกข์ทรมานยาวนาน ลูก ๆ เป็นทุกข์จนต้องปรึกษาจิตแพทย์

หลายครั้งความปรารถนาดีของญ
าติที่ต้องการรักษาชีวิตของผู้ที่เรารักไว้ กลับเป็นการยืดความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วย

“คนที่นอนอยู่พูดไม่ได้ แพทย์ก็ไม่สามารถจะรับรู้ได
้ว่า ผู้ป่วยนั้นปรารถนาอะไร หรือไม่ประสงค์อะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ แพทย์จึงต้องสื่อสารกับญาติ ซึ่งยากมาก จะคุยกับญาติคนไหน สังคมไทยเป็นสังคมครอบครัวขยาย มีญาติมาก แต่ละครอบครัว ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจต่างกัน บางครอบครัว พี่คนโตเป็นใหญ่ บางครอบครัว ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นผู้ถือเงินหรือมีความรู้การศึกษาดีที่สุด แพทย์ไม่รู้ว่าจะคุยกับใคร” ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส กล่าว

การตายของคน ๆ หนึ่งในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องยากและซับซ้อน เราสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กู้ชีวิตมายื้อลมหายใจได้ เราจึงพบปรากฏการณ์ผู้ป่วยจำนวนมากนอนไม่รู้สึกตัว อยู่ในสภาพผักที่สัญญาณชีพดำเนินต่อไปด้วยเครื่องช่วยหายใจ และกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

หลายคนไม่อยากอยู่ในสภาพเช่
นนี้ แต่จะทำอย่างไร ในเวลาที่เราไม่อาจบอกแพทย์และญาติได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องการ หรือ ไม่ต้องการ

ศ.แสวง จากศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริ
ยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า “กฎหมายเขียนขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในการดูแลผู้ป่วยหนัก วาระสุดท้าย”

เพื่อลดทอนปัญหานี้ จึงเกิดแนวคิดเรื่องการทำหน้งสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเผื่อยามที่เราไม่สามารถสื่อสารได้ว่า อยากให้ดูแลกับเราในวาระสุดท้ายอย่างไร

ศ. แสวง กล่าวถึงหนังสือแสดงเจตนาใน
ต่างประเทศว่า เป็นสิทธิผู้ป่วย ในฐานะปัจเจกชน ที่แสดงความปรารถนาของตนได้นั้น ทำให้เกิดมี living will หนังสือแสดงเจตนาวาระสุดท้ายขึ้น เป็นการเขียนความประสงค์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อตอนที่เราไม่สามารถสื่อสารกับใครได้ อะไรคือสิ่งที่ต้องการหรือไม่ต้องการให้แพทย์ พยาบาลทำ

“ในประเทศไทยมีการพูดเรื่องนี้กันมานาน แต่ไม่มีกฎหมายรองรับชัดเจน จนกระทั่งช่วงร่างพรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี พศ. 2550 จึงได้บรรจุมาตรา 12 ไว้ ให้เรา ๆ ท่าน ๆ สามารถแสดงเจตจำนงไว้ล่วงหน้าได้ว่า ในสถานการณ์เช่นในภาวะสมองตาย หรือวาระสุดท้าย เราต้องการอะไร” ศ. แสวงกล่าว

แม้ พรบ. สุขภาพแห่งชาติจะรับรองสิทธ
ิในการจากดี แต่ไม่ระบุรายละเอียดไว้ว่า จะเขียนอะไรบ้าง ขั้นตอน พิธีการทำและดำเนินการตามเจตนารมณ์นั้นทำได้อย่างไร บอกว่าให้ไปตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง ให้ออกเป็นกฎหมาย ระบุรายละเอียดกันต่อไป

ซึ่งนี่เองคือที่มาของการทำ
เวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้เกี่ยวข้องทางวิชาชีพทั้ง 4 ภาคทั่วไทย หลังจากการรับฟังความเห็นในแง่แนวทางปฏิบัติแล้ว ข้อมูลจะนำไปปรับร่างกฎกระทรวงแล้วนำเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาส่งให้คณะรัฐมนตรี ประกาศเป็นกฎหมายต่อไป


มาตรา ๑๒

บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเ
จตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดง
เจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านส
าธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง

ในวรรคที่ 1 ของมาตรา 12 ระบุว่า
“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้”

เนื้อความนี้เป็นเรื่องสิทธิผู้ป่วยที่สามารถเลือกรับหรือไม่รับบริการทางสาธารณสุขได้ ดังนั้น หากวันหนึ่งเราต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการได้ หนังสือแสดงเจตนานี้จะเป็นปากเสียงแทนเราว่า การรักษาใดที่เราปรารถนาให้แพทย์พยาบาลช่วยเหลือ และ การดูแลแบบใดที่เราไม่ประสงค์จะรับ ศ. แสวงอธิบาย

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโน
โลยีทางการแพทย์ทำให้เรามีเครื่องมือประคองชีวิตได้นานเท่านานในหลายกรณี เช่น ผู้ที่อยู่ในสภาพ “ผัก” นอนนิ่ง ไม่รับรู้ หรือตอบสนองอะไรกับใครได้ มีสัญญาณชีพเพราะเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ปั้มลมเข้าปอด ดูแลการเต้นของหัวใจ สายอาหารที่ลำเลียงน้ำและสารอาหารเข้าร่างกาย
หากเครื่องมือเหล่านี้ไม่ทำ
งาน ชีวิตก็มีอันสิ้นสุด

หลายคนอาจจะไม่ปรารถนาที่จะ
เห็นตัวเองอยู่ในสภาพเช่นนี้ ความหมายของการมีชีวิตอยู่ อยู่ที่ใด และหากเราสามารถเลือกได้ เราจะบอกได้ไหมว่า เราไม่ขอที่จะอยู่ในสภาพแบบนี้ ซึ่งเราเห็นว่าเป็นการทรมานทั้งตัวเองที่นอนหมดสภาพอยู่ กับเป็นการทรมานญาติพี่น้องที่ต้องดูแลอย่างยาวนานโดยไม่รู้กำหนด มาตรา 12 จึงระบุว่า เราสามารถแสดงเจตนาจะยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

“ในสถานการณ์แบบนี้ อาจไม่ถือว่าเป็นวาระสุดท้า
ย แต่ก็เป็นภาวะที่ “ไม่ตาย แต่ก็ไม่อยู่” ถ้าเราต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้ เราต้องการอะไร เราสามารถกำหนดระบุไว้ในหนังสือแสดงเจตนาได้ เป็นการยุติความทรมาน ไม่ยื้อโดยเครื่องมือให้เครื่องมือช่วยเลี่ยงปอด เลี้ยงหัวใจไปเรื่อย ๆ” ศ. แสวงอธิบาย

และเพื่อช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถช่วยผู้ป่วยให้จากไปอย่างสงบตามธรรมชาติอย่างที่แจ้งไว้ในหนังสอแสดงเจตนา ในมาตรา 12 นี้จึงระบุว่า

“... เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

ในวรรคที่ 3 เขียนให้ปลอดภัยกับแพทย์และพยาบาลที่สนองความประสงค์ของผู้ที่ได้แสดงเจตนาไว้ ญาติไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้

อย่างคุณลุงท่านหนึ่งบอกแพท
ย์ไว้ว่าจะไม่เจาะคอ ไม่ปั๊มหัวใจหากวาระสุดท้ายมาถึง วันหนึ่งลุงไม่รู้สึกตัวแล้ว แพทย์ทำตามความประสงค์ ลูกชายซึ่งเดินทางมาจากเมืองนอก บอกให้ทำเต็มที่ แพทย์กับพยาบาลก็สามารถสื่อสารกับลูกชายว่า ความปรารถนาของคุณลุงท่านนั้นคืออะไร และสิ่งที่ทำนั้น ไม่อาจเอาผิดได้

ในร่างกฎกระทรวง มีการอธิบายการให้คำนิยาม ความหมายและขอบเขตของคำต่าง
ๆที่เกี่ยวข้อง เช่นว่า วาระสุดท้าย การทรมานจากการเจ็บป่วย เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ใน ร่างกฎกระทรวง)

ที่สำคัญ ในกฎกระทรวงยังเปิดพื้นที่ใ
ห้สำหรับมิติทางจิตใจเชิงลึก แบบ spiritual healing ด้วย อย่างเช่น เราสามารถระบุไว้ในหนังสือแสดงเจตนาว่า เราอยากฟังพระสวด ให้นักบวชมา อยากให้ทุกคนระบุว่า ลึก ๆ เราต้องการอะไร เพราะบางทีพยาบาลหวังดีเอาเทปมาเปิดทั้งวอร์ด แต่ละเตียงไม่เหมือนกัน บางคนอยากพบพระ บางคนอยากได้ดอกไม้


“ทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำ”
หมายเลขบันทึก: 268932เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คงไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ แต่ก็เป็นกฏหมายที่ดีครับ

ผมคิดว่าอีกด้านที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนก็คือการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย(ต่อเนื่องเป็นเครือข่าย)ซึ่งจะช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวได้มาก

มีการดูแลที่เน้นคุณภาพชิวิต ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตอบสนองความต้องการในวาระสุดท้ายของผู้ป่วย และผู้ดูแลก็มีความสุขใจ ตามดูการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท