แรงบันดาลจากศิลปินลูกทุ่งอเมริกัน จอห์น เดนเวอร์


"His humanitarian work continues to strengthen our global village, and his dynamic celebration of life, spirit and nature is a powerful inspiration to us all." (ข้อความภาษาอังกฤษจากเว็บไซต์ www.johndenver.com)

เมื่อคืนวาน ผมได้ดูดีวีดีการแสดงคอนเสิร์ทของ John Denver (ชื่อจริงคือ Henry John Deutschendorf, Jr 1943-1997) นักร้องลูกทุ่ง(แนวคันทรี) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของอเมริกาและของโลกด้วย

http://www.johndenver.com/memories/photos/1_bg.jpg

ชื่อสกุล Denver ที่เขานำมาต่อจากชื่อ John เพื่อใช้เป็นชื่อในการอัดแผ่นเสียงเป็นชื่อเมืองหลวงของรัฐโคโลราโดที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาและแม่น้ำสวยงามมาก

คอนเสิร์ทนี้บันทึกจากการแสดงสดเมื่อเดือนมิถุนายน ๑๙๙๕ ให้สมาคมคุัมครองสัตว์ป่า จึงชื่อว่า Wildlife Concert ก่อนที่จอห์นจะเสียชีวิตในอีก ๒ ปึต่อมา

ผมนั่งดูแล้วเกิดความประทับใจในศิลปินคนนี้มาก นอกจากความไพเราะของเสียงร้องแล้ว ยังมีเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจแฝงอยู่ในความเรียบง่ายของภาษา (เขาเป็นคน “บ้านนอก” ก็ต้องใช้ภาษาเรียบๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมาอยู่แล้ว)

ผมคิด(เอาเอง)ว่าเขาเป็นคนที่มีความ “รัก” และ “เป็นหนึ่งเดียว” กับธรรมชาติที่บ้านของเขาอย่างลึกซึ้ง (เขาเกิดที่นิวเม็กซิโก แต่มาอยู่ที่โคโรลาโด ก่อนที่จะไปอัดแผ่นเสียงโด่งดังที่ลอสแองเจลิส)

Maslow ปรมาจารย์ของนักจิตวิทยาแนวมนุษยนิยมบอกว่า ศิลปินเป็นหนึ่งในบรรดาประเภทของคนที่สามารถบรรลุถึงขั้นที่ห้า หรือขั้นสูงสุดตามทฤษฎีบันใดแห่งแรงจูงใจ ๕ ขั้นของเขาได้ง่ายกว่าคนประเภทอื่น นั่นคือ ขั้นที่บุคคลเกิดการรู้แจ้งแห่งตน (self-actualization)

ผมเลยคิดว่าความเป็นศิลปินของจอห์น ทำให้เขาเชื่อมโยง (connect) กับผู้คนและโลกรอบตัวด้วย "ใจ" ได้อย่างแท้จริง นั่นคือการสัมผัสด้วยอารมณ์ความรู้สึกได้จริงๆ ไม่ใช่ด้วยการคิดตามหลักตรรกะของความเป็นเหตุเป็นผลเพียงอย่างเดียว (คนอย่างนี้จึงไม่ต้องมาฝึกการ “เรียนรู้ด้วยใจ” อย่างคนที่ใช้แต่ “หัว” เรียนรู้ลูกเดียวมาตลอดอย่างผม) และสามารถแสดงออกถึงสิ่งที่สัมผัสรู้นั้นด้วยภาษาง่ายๆ จึงไม่แปลกใจที่เขาทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้สมาคมพิทักษ์สัตว์ป่า ได้ออกแสดงทัวร์คอนเซิร์ทไปทั่วโลก รวมทั้งรัสเซียและจีน

ผมประทับใจคำพูดหลายๆ คำของเขาในซีดีแผ่นนี้ เช่น “ผมกับลูกชอบไปตกปลากัน เรามีความสุขกับกิจกรรมนี้มาก แต่ผมก็อดคิดไม่ได้ว่าต่อไปลูกหลานอาจไม่ได้ตกปลาอีก”

จอห์นเป็น “ศิลปินบ้านนอก” ที่ใช้เสียงเพลงเรียกร้องให้เพื่อนชาวบ้านนอก “กลับบ้าน” กลับสู่ the place I belong ซึ่งไม่ใช่ the place in the city (เขียนมาถึงตรงนี้ ผมนึกถึงนักศึกษาคนหนึ่งชื่อคล้าย "จอห์น" คือ "จรัล" เทพพิทักษ์ ที่มาอยู่กรุงเทพฯ เป็นสิบปี ไม่มีอะไรดีขึ้น ต่อมากลับไปตั้งหลักที่อิสาน มีโอกาสได้เข้าเป็นนักศึกษาในโครงการมหาวิทยาลัยของ มรภ.สุรินทร์ เรียนแล้วชีวิตเปลี่ยนจนสามารถซื้อที่นาเป็นของตนเอง มีความสุขกับชีวิต มีความภาคภูมิใจในตนเองและมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินชีวิตของตนนับแต่นี้ไป “มีแต่สิดีไปมื้อหน้า”)

ในเพลง Country Roads เนื้อหาตอนหนึ่งว่าฟังวิทยุแล้วคิดถึงบ้าน (radio reminds me of my home far away) ขณะอยู่ในรถบนถนนชนบทกลับบ้านก็คิดว่าที่จริงฉันควรกลับบ้านตั้งแต่เมื่อวานแล้ว (I should have been home yesterday.) กลับมาอยู่กับความงดงามอย่างเรียบง่ายของธรรมชาติในชนบท ที่ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ สายลมล้วนงดงาม แต่ "ชีวิต" นั้นงดงามกว่าอะไรทั้งหมด

ในเพลง Sunshine on My Shoulders (makes me happy) จอห์นพรรณาว่าเขามีความสุขเมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาต้องหัวไหล่ เมื่อกระทบกับผิวน้ำก็น่ารัก แสงอาทิตย์ในวันฟ้าใสทำให้ใจฉันฟูฟ่องขึ้น (...makes me high) เห็นแสงพระอาทิตย์แล้วฉันร้องไห้ได้เลย (...makes me cry) ทำให้เราได้รู้ว่าจอห์นมีความรู้สึกต่อความงามได้ลึกซึ้งบนความเรียบง่ายได้ขนาดไหน

เวลาจอห์นที่มักสวมชุดคาวบอย(cowboy - เด็กเลี้ยงวัว)ขึ้นเวทีร้องเพลงพร้อมกีตาร์คู่ใจ พูดถึงจิตวิญญาณอเมริกันตะวันตก (Spirit of the American West) คำ “อีสานบ้านเฮา” และ “ปักษ์ใต้บ้านเรา” ผุดขึ้นมาในใจผม

เรื่องนี้ยังเข้ากับโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตที่ผมทำงานอยู่ เพราะโครงการนี้เน้นสอนให้คนไม่ “ทิ้งถิ่น” ให้ผู้เรียนได้เรียนแล้ว อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกิน “ในท้องถิ่นตน” อย่างที่ John สะท้อนความภาคภูมิใจในความเป็นคนบ้านนอกผ่านบทเพลงของเขา เป็น "ภูมิ" ที่ "ใจ" ไม่ใช่ที่ "หัว" (เหตุผล) อย่างเดียว

ผมดีใจที่คอร์สภาษาอังกฤษของโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตใช้เพลงของจอห์นเป็นสื่อการสอน ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น หัวหน้าทีมสอนภาษาอังกฤษของโครงการนี้ ที่จับทางได้ถูก

ผมมีโอกาสได้เห็นการฝึกอบรมอาจารย์ที่จะไปสอนภาษาอังกฤษของ อ.อุทัย แล้ว เกิดความรู้สึกอยากลงไปร่วมสอนวิชาภาษาอังกฤษด้วยจริงๆ แม้ผมจะไม่ใช่ครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะมันทำให้ผมรู้สึกว่าการสอนภาษาอังกฤษเป็นเรื่อง "ง่ายนิดเดียว" ขึ้นมา

ผมจินตนาการเห็นภาพตัวเองหิ้วกีตาร์เข้าไปในห้องเรียนแล้วไม่พูดอะไรเลย ร้องเพลงพร้อมเล่นกีตาร์เพลง Country Roads แล้วขอให้นักศึกษาช่วยตบมือไปตามจังหวะให้ด้วย พอคุ้นทำนองแล้วก็ให้ช่วยร้องเฉพาะท่อนแยกซึ่งวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่ไม่กี่วลีว่า

Take me home, country roads,

to the place I belong,

West Verginia, Mountain Momma,

take me home, country roads.

ผมว่าหากชั่วโมงหรือสองชั่วโมงแรกที่เริ่มเรียน นักศึกษาเราทำได้แค่นี้ก็ประสบความสำเร็จมากแล้ว

อ.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต เชื่อว่าการเรียนแบบนี้สามารถคลาย "ปม" ความกลัวต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาผู้ใหญ่ของเราไปได้มาก ภาษาอังกฤษซึ่งทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในชีวิตเราทั้งในเมืองและชนบทในฐานะ "ภาษากลาง" ของโลก ก็จะกลายเป็นภาษาที่เรียนได้ "ง่ายนิดเดียว" ขึ้นมาจริงๆ

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์

๙ มิ.ย.๕๒

หมายเลขบันทึก: 266869เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • เป็นการเขียนถึงเพลง การเรียนรู้จากเพลง และการเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของคน ที่ดีครับอาจารย์ อ่านเพลินและได้สาระหลากหลาย
  • ได้แนวคิดและตัวอย่างการใช้เพลงและงานศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้ ที่น่าสนุกและทำให้สามารถเข้าถึงสุนทรียภาพของการเรียนรู้ได้มากเป็นอย่างยิ่งนะครับ
  • ชอบเพลงของจอห์น เดนเวอร์ ทั้งชอบฟังและชอบร้องเหมือนกันครับ ด้วยอารมณ์เพลงอย่างที่อาจารย์กล่าวถึงเลยทีเดียว

The Great Duo ในดวงใจของผมจริง ๆ แล้ว คือ Paul Simon & Art Garfunkel จนผมอดไม่ได้ที่จะตั้งชื่อเล่นของล฿กชายว่า Art ตามชื่อนักร้องนักร้องผมทรง Afro สีทองในดวงใจ

สำหรับJohn Denverแล้ว ผมได้รับการแนะนำจากครอบครัวชาว Italian-American ที่มีลูกชายเรียนและเล่น soccer ใน High School เดียวกันโดยเขามอบแผ่น Long Playให้เป็นที่ระลึกในวันที่ทีม soccer เราประสบผลสำเร็จในปี 1975 และไม่ลืมที่จะบอกกับผมสั้นๆว่า Ron, you should have a chance to listen to John Denver.

ผมชอบทุกเพลง ทุกครั้ง ทุกโอกาสของ John Denver และฟังเพลงของเขาทุกสัปดาห์ และมี Album ที่ท่านได้กล่าวถึง เห็นด้วยทุกกรณีและคงจะยังเป็นแฟนที่เหนียวแน่นของ John Denver จนกว่าจะสิ้นใจ

ขอบคุณท่านที่กรุณาเก็บรายละเอียดของบรมครู บรมคนอย่าง John Denver ไว้คอยเตือนให้ไม่ลืมเขา และ ลืมเรา หาก 2 สิ่งถูกลืมก็อันเป็นที่แน่ใจว่าเราคงไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย .......โดม บุรีรัตน์

Hi Dome,

I would love to listen to your comment, as an English teacher, on using John Denver's songs in English class.

Chet

(Sory, I can't use Thai keyboard here.)

but....Good morning, P'Chet.

!

John Denver is one of my favorite singer.

I was touched by his "Perhaps Love".

Once.

"And in those times of trouble, When you are most alone.

The memory of love will bring you home."

Sometime, song help to heal.

Connection!

And in those times I feel I'm in trouble and are most alone.

When listen to his song, just how did John know about my feeling.

Yes. He has written it right here!

What a beautiful legacy he has left.

Everyone needs love. (I suppose)

"The memory of love will bring you home."

And this word can recall or bring me back to "here and now".

!!

ผมพยายามให้ความหมายคำ "home" ในเชิงนามธรรมตามคติทางศาสนา ว่า "บ้าน" (หรือ "วิหาร" ของพรหม - พรหมวิหารตามคำสอนพุทธศาสนา) ที่แท้จริงของเราอยู่ "ภายใน" ตัวเรานี่เอง ในบ้านนี้มีเมตตา (ความรัก การให้อภัย)กรุณา (การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือ) มุทิตา (ความชื่นชมยินดีต่อความเจริญของผู้อื่น ไม่อิจฉาตาร้อน)อุเบกขา (การวางเฉยได้ต่อความไม่สมบูรณ์พร้อมของเพื่อนมนุษย์ ไม่มีใครสมบูรณ์พร้อมแม้แต่ตัวเราเอง)

เราทุกคนล้วนเคยได้อยู่ใน "บ้าน" นี้กันมาทั้งนั้น เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์และเกิดมาเป็นทารก แต่ประสบการณ์ระหว่างทางที่เราเผชิญกว่าจะโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ทำให้เราห่างจาก "บ้าน" ออกไป

ครูทางจิตวิญญาณที่ดีคือผู้ที่ช่วยให้เราได้พบทาง "กลับบ้าน" (take me home)

แต่ถึงที่สุดแล้ว เราแต่ละคนจะกลับถึง "บ้าน" ได้หรือไม่ ได้ใกล้บ้านแค่ไหน ก็อยู่ที่เราเอง เราต้องกลับบ้านเราด้วยตนเองเท่านั้น ครูเป็นเพียงผู้ชี้ทาง ไม่มีใครกลับแทนใครได้

ที่ผึ้งเขียน ...bring me back to "here and now" นั้นสำคัญยิ่ง เพราะเราจะหลงทาง(กลับไม่ถึงบ้านสักที)หากไม่สามารถอยู่กับปัจจุบัน (now) กับความเป็นจริงตรงหน้า (here)เพราะมีแต่ "ที่นี่" และ "เดี๋ยวนี้" เท่านั้น ที่เราอยู่ได้จริง อดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่มีใครกลับไปอยู่ได้จริงทางกายภาพ กลับไปได้ก็แต่ในความคิด ส่วนอนาตคนั้นทุกคนก็ยอมรับว่าไม่แน่นอนอยู่แล้ว

คนเรามีความทรงจำ (สัญญา)ดีและยาวนานกว่าสัตว์อื่น สามารถเห็นภาพที่เกิดขึ้นนานแล้วได้ชัดเจน (ภาพที่เกิดเฉพาะในใจ หรือ "มโนภาพ") ถึงขั้นจิตรับรู้อารมณ์ในขณะเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้ แม้ไม่ใช่เหตุการณ์ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้" แล้ว จึงสามารถเกิดอารมณ์กับสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้ "เสมือนหนึ่ง" กำลังเกิดอยู่ตรงหน้าขณะนั้นได้ ("ความจริงเสมือน" ไม่ใข่ "ความจริงแท้") ผู้ที่ฝึกจิต ฝึกการเจริญสติ "รู้ทัน" จิตตน ก็จะกลับมาอยู่กับปัจจุบัน "ที่นี่และเดี๋ยวนี้" ได้ง่าย สามารถให้อภัย(เมตตา)ตนเองและผู้อื่นได้ และอยู่กับปัจจุบันขณะได้ในระดับ "ความรู้สึก" ด้วย ไม่ใช่ด้วยเหตุด้วยผลอย่างเดียว

การอยู่กับ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้" อาจเริ่มด้วยการ "รู้" ความเป็นจริงของโลกว่าทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นการ "รู้" ในระดับของตรรกะเหตุผลเท่านั้น ผู้ที่กลับถึง "บ้าน" อยู่กับ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้" ได้จริง คือผู้ที่ "ตื่นรู้" ไม่ใช่ "รู้" เฉยๆ นั่นคือ ได้สัมผัสกับความจริงนั้ันในระดับของ "ความรู้สึก" (ด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยหัวหรือสมองอย่างเดียว)ด้วย คือ ทั้ง "รู้" และ "รู้สึก" เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้ที่ตื่นรู้ก็จะเบิกบาน (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างพระอริยบุคคลทั้งหลาย ที่อาจเคยสนทนากับเรา หรือเดินสวนกับเราในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้)

ขออนุโมทนากับกุศลเจตนาในการพยายามกลับบ้านของผึ้ง

สวพ. ๑๐ มิย.๕๒

Yes.

very touchy.

both by "beautiful legacy of the song" and "P'chet's message".

yes. It is what i feel while listening to the song.

-have been touched!!!----------------------------

"And in those times of trouble,"

"When you are most alone."

"The memory of love will bring me home."

"Love in the sense of bevolence that already exist in myself"

Dear Dr. Chet,

Thanks for your encouragement on expressing the ideas that I share my career in teaching English relating to teaching SONG to kids at primary and secondary schools level. There are plenty of ways using songs in the lesson. Here are some:

Dated back to our good old day when we were introduced, I believe that we have fallen in love with most of such that we called the OLDIES. Many of us have been touched so much by John Denver, S & G, The Bee Gees, The Beatles (How can we forget the IMAGINE song?), Peter, Paul & Mary, The Carpenters etc....etc. By the way, let me add one more...our old guys of CCR.

Most of their albums were introduced by our lovely English teachers from all corner of SIAM. Top of the World, if I don't mistake, probably the first English song I and my classmates at SARAKHAMPITAYAKHOM school have studied and our teacher used the technic called GAP FILLING of the missing words. A great and pretty easy song to start with.

Once I became a teacher, using song in the classroom has been one of the main teaching point for all English teacher of all levels to draw not only attention of the learners, but also it is like the holy mantra that often hypnotize the whole class to get into the realm of the no moment of meditation. The lyrics of the song, the beautiful voice of the singers and the perfect atmosphere have been blended to the benefits of the lesson. More have become the club singers of their part time jobs earning their living through thick and thin during the peaceful time of fewer world and Siam demograph at aroung the 70's.

Dr. Chet, teaching songs is one of the easiest lesson yet the most enjoyable one of most English teachers all over the universe.

Most of the teachers use the technic of GAP FILLING as mentioned. Some would use the so called minimal pair where the students have to distinguish the close of phonemes of the given pairs.

Until the genius Japanese guy, Daisuke Inoue invented the first KARAOKE in 1970's and later spread out to our Siam and the rest of SE Asia in 1980's has absolutely played a vital role for teachers of English to adapt the teaching SONG lesson to depend more on this karaoke which we can see the lyrics and some fancy pictures at the same time. So, karaoke has done its part to create learning society that leads to tacit knowledge of kids, a great relaxation for all, and of course a great lesson to remember for kids.

My conclusion and suggestion to this using song in the English lesson is that English teachers can choose wide variety of any appropriate songs to suit kids according to their age levels. The songs should contain sound lyrics or even some slangs, crippled words, and some dialects of the origins. And please also let kids decide which songs of nowadays hits that they would like to share to the class or even teachers who should also learn from them at the same time. This would create even more sincere and friendship in class meanagement between kids and teachers as well.

Enjoy the rest of the day folks for I am adjusting my microphone and karaoke to start with Simon and Garfunkel songs with my best mother of my two kids. I DO appreciate Dr. Chet to have me express my view on this. What a great life and great friend I have.

หยิบเพลง มาฟังอีกสองสามเพลง

มีความสุข กับวันแห่งการ ระลึกถึง John Denver.

-ขอบคุณพี่เชษฐ

เพลงช่วยให้คลายความกังวล ปรับสมดุลย์ หลับสบาย ได้ดีเหมือนกันนะเนี่ย

:)

have a nice day!

เพิ่งมาเห็นบทความเกี่ยวกับ John Denver...ขอส่งกำลังใจมาแด่เจ้าของบทความนะคะเพราะดิฉันก็เป็นแฟนเพลงของนักร้องท่านนี้ด้วยเหมือนกันค่ะ...

เห็นด้วยค่ะกับภาษาที่เรียบง่ายและทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษจากบทเพลงสากลที่ชอบ..โดยเฉพาะทุกเพลงของ John Denver..ท่องเนื้อเพลงไปและเมื่อไม่เข้าใจศัพท์คำไหนยังจำได้ไม่มีวันลืมว่าต้องคอยเปิด Dictionary เพื่อที่จะร้องเพลงไปพร้อมกับ John...อยากเข้าถึงเพลง..เมื่อรู้ความหมายของเพลงจะทำให้มีอารมณ์

คล้อยตาม...ยังคิดถึงวันที่ Johnประสบอุบัติเหตุและจากไปก่อนวัยอันควร..จำได้ว่า

ไม่ถึงกับร้องไห้แต่ก็สงสารและเอาเพลงที่เขาร้อง..Annie's song...มาเปิดฟัง

และก็ส่งใจให้เขา Rest in peace...

ดีใจที่มีเพื่อนที่รัก John Denver มากเหมือนเราค่ะ...ขอบคุณเจ้าของบทความนะคะที่ทำให้วันคืนเก่าๆ..และความทรงจำกับเสียงเพลงของ John Denverกลับคืนมา

อีกครั้ง...คืนนี้จะฟังทุกเพลงของเขาค่ะ..Perhaps Love..Sunshine on my Shoulder..ฟังด้วยกันนะคะ...ขอบคุณกับความอ่อนหวานที่มีในทุกบทเพลงของ...John Denver..ที่ผู้เขียนพยายามส่งมาถึงผู้อ่านนะคะ...

คุณสุพรรณิกา ครับ,

ผมก็ชอบเพลง Annie's Song มากครับ ฟังแล้วฟังอีก ไม่เคยเบื่อ

...

Let me give my life to you

Let me drown in your laughter

Let me die in your arms

Let me lay down beside you

Let me always be with you

Come let me love you

Come love me again

Hum hum hum hum hum.....

ขอบคุณมากครับที่เขียนความเห็น

สุรเชษฐ

สวัสดีอีกครั้งค่ะอาจารย์สุรเชษฐ์...

ก็ด้วยแรงบันดาลใจของอาจารย์ในการนำเสนอตัวอย่างการใช้เพลงเพื่อประกอบการเรียนภาษาอังกฤษ..โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแนะนำเพลงของนักร้องคนโปรด

John Denver..ฃึ่งดิฉันก็ได้ประสบมากับตัวเองในสมัยที่เรียนภาษาอังกฤษ

Intensive Course..นอกจากจะไม่น่าเบื่อกับการสอนอย่างฃ้ำฃากจำเจแล้ว

เรายังได้รับความละเอียดอ่อนละมุนละไม..ได้อรรถรสจากบทเพลงต้นแบบเหล่านั้นอีกด้วยคะ..และนำมาฃึ่งการรักการร้องเพลงไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว...ได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกันเลยค่ะ...ดิฉันก็ลุ่มหลงเพลงของ John..มานับแต่บัดนั้นแม้จนบัดนี้ค่ะ

ได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีขึ้นจากการเรียนรูด้วยเพลงจริงๆ..และก็รวมถึงนักร้องท่านอื่นๆด้วยค่ะ...

ยิ่งได้อ่าน commentของคุณโดม บุรีรัตน์ด้วยแล้ว..มันใช่เลย..เพราะการเรียน

ภาษาอังกฤษจากบทเพลง..ได้ผลที่น่าประทับใจจริงๆค่ะ...

ยังจำไม่เคยลืมว่าครูเพลงต้นแบบที่สอนให้ดิฉันได้เรียนรู้การเรียนภาษาอังกฤษจากเพลงที่คุณครูชาวอเมริกันนำมาเปิดในห้องแล็บ..ก็เป็นของนักร้องท่านนี้ทั้งหมดคือ

Leaving on a jet plane..Today..Rocky Mountain High...

น่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันนะคะเพราะเนื้อเพลงสละสลวย..ทำนองเพลงนุ่มนวล..และ

ศัพท์ไม่ได้ยุ่งเหยิง..เหมาะกับนักเรียนอย่างดิฉันในขณะนั้นค่ะ....

อ่านข้อเขียนนี้แล้วทำให้วันคืนเก่าๆ..ความทรงจำในห้องเรียน..และบทเพลงของ

John Denver..ฃึ่งดิฉันแสนรักกลับมาอีกครั้งหนึ่งค่ะ...

อยากให้อาจารย์ตั้ง**ชมรมคนรัก John denver**...จังเลยค่ะ..อิอิ..

เมื่อคืนฟังเพลงของเขาแล้ว...ได้เข้านอนอย่างมีความสุข..ขอบคุณอีกครั้งนะคะสำหรับแรงบันดาลใจของอาจารย์...ทำให้เกิดแรงบันดาลใจนี้ขึ้นมา...และขอขอบคุณcommentของท่านโดม..และคุณผึ้ง..เราต่างมีหัวใจดวงเดียวกันค่ะ...คือเรารัก

John denver..เหมือนๆกันค่ะ...จะเป็นแฟนคลับบทความของอาจารย์จากนี้

และตลอดไปค่ะ...

ลืมเรียนให้ทราบเพิ่มอีกนิดค่ะว่า...หลังจากนั้นดิฉันก็นำการเรียนภาษาจากบทเพลงมาใช้อีก..แต่กับภาษาอื่นนะคะ...เพราะดิฉันเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยค่ะ...ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ..เพราะปัจจุบันงานของดิฉันคืองานล่าม..Interpreter..ตามที่ใจรักการเรียนภาษา...ถือว่าประสบผลสำเร็จตามเจตจำนงค่ะ...

ขอส่งแรงใจและให้กำลังใจกับท่านอาจารย์ทุกๆท่านที่กำลังนำการเรียนภาษาด้วยเพลง

มาเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเสริมการเรียนภาษานะคะ...ขอบคุณที่กรุณาอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นค่ะ...ด้วยความนับถือค่ะ

ที่คุณสุพรรณิการ์บอกว่า "อยากให้อาจารย์ตั้ง**ชมรมคนรัก John denver**...จังเลยค่ะ.." ผมไม่สามารถทำได้ครับ แต่หากมีคนตั้งก็จะขอเป็นสมาชิกด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท