กินยาลดกรดนาน เสี่ยงกระดูกโปร่งบาง(พรุน)


 

...

การศึกษาใหม่พบว่า คนไข้ที่กินยาลดกรด ไม่ว่าจะเป็นยากดการหลั่งกรดชนิดแรงมาก (proton pump inhibitors / PPIs) หรือชนิดแรงปานกลาง (H2RAs)

อ.ดร.ดักลาส คอร์เลย์ (Douglas Corley) และคณะ แห่งสถาบันไกเซอร์ เปอร์มาเนนเต (Kaiser Permanenta, San Francisco) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยากดการหลั่งกรดเกือบ 40,000 ราย เทียบกับคนที่ไม่ได้กินยาดังกล่าวมากกว่า 130,000 ราย

...

ผลการศึกษาพบว่า พบว่า คนที่กินยากดการหลั่งกรด 2 ปีขึ้นไป มีโอกาส หรือความเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) โรคกระดูกต้นขาหัก (hip fractures) เพิ่มดังต่อไปนี้

  • ยากดการหลั่งกรดชนิดแรงมาก (PPIs) > เพิ่ม 30%
  • ยากดการหลั่งกรดชนิดแรงปานกลาง (H2RAs) > เพิ่ม 18%

... 

ความเสี่ยงจากยากดการหลั่งกรดชนิดแรงมาก (PPIs) แปรตามขนาดยา เช่น กินวันละ 2 เม็ดเสี่ยงมากกว่าวันละ 1 เม็ด ฯลฯ โดยเฉลี่ยความเสี่ยงมีดังต่อไปนี้

  • น้อยกว่าวันละ 1 เม็ด > เพิ่ม 12%
  • วันละ 1 เม็ด > เพิ่ม 30%
  • มากกว่าวันละ 1 เม็ด > เพิ่ม 41%

... 

นอกจากนั้นยังขึ้นกับช่วงอายุด้วย โดยพบว่า คนไข้อายุ 50-59 ปีที่กินยานานกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงสูงสุด

การศึกษาอีกรายหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์แคนาดาพบว่า การใช้ยาลดการหลั่งกรดชนิดแรงมาก (PPIs) อย่างน้อย 5 ปีเพิ่มเสี่ยงกระดูกขาอ่อนส่วนบน ซึ่งอยู่ใกล้ข้อสะโพกหัก (hip fractures) เช่นกัน

...

 

กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ การใช้ยากดการหลั่งกรด หรือยาลดกรดนานๆ อาจไปลดการดูดซึมธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

ทางเดินอาหารของคนเราดูดซึมแคลเซียมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด เช่น กินแคลเซียมพร้อมอาหาร ฯลฯ

...

ทางเดินอาหารของคนเราดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงในภาวะที่ความเป็นกรดลดลง เช่น กินแคลเซียมตอนท้องว่าง กินยาลดกรด กินยากดการหลั่งกรด ฯลฯ

คนไข้ที่มีปัญหากรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD) ควรใช้วิธีการรักษา หรือบรรเทาอาการที่ไม่ใช้ยา ออกแรง-ออกกำลัง กินอาหารที่มีวิตามิน D, และรับแสงแดดอ่อนตอนเช้า-เย็นอย่างน้อยวันละ 10 นาที ร่วมไปด้วย เพื่อป้องกันการใช้ยามากเกินจำเป็น

...

วิธีการป้องกัน บรรเทาอาการ และรักษาโดยไม่ใช้ยาที่ศึกษาให้มากได้แก่ (โปรดคลิกที่ลิ้งค์)

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > Thank Reuters; [ 11 วิธีลดเสี่ยงเกิร์ด(GERD)หรือโรคกรดไหลย้อน ]; [ 10 วิธีป้องกันโรคท้องอืดจากโรคกรดไหลย้อนกลับ(GERD) ]  

ที่มา                                                                      

  • Thank Reuters > Heartburn drugs may raise risk of hip fractures: study. June 1, 2009. / Source > Digestive Disease Week meeting in Chicago.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 2 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 265889เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท