ไลโคพีนกับ 8 วิธีเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL)


 

...

 [ lycopene ] 

ภาพที่ 1: สารไลโคพีน (lycopene) สีแดงในผักผลไม้... อันดับ 1 ในภาพคือ 'ketchup' = ซอสมะเขือเทศ; อันดับ 2 เป็น 'paste' = มะเขือเทศบด; อันดับ 3 เป็น 'guava' = ฝรั่งพันธุ์สีแดง > Thank [ lycopene ]

ขอให้สังเกตมะเขือเทศ 3 รายการทางซ้ายจะเห็นว่า กินดิบ (raw) มีระดับไลโคพีนน้อยกว่าบดสุก (paste) และซอส (ketchup)

... 

กลไกที่เป็นไปได้คือ กระบวนการทำให้สุกอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และดูดซึมได้ง่ายขึ้น

grapefruit = เกรพฟรุต, เสาวรส; watermelon = แตงโม; papaya = มะกะกอ มีระดับไลโคพีนพอๆ กัน

...

มะละกอมีพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ มะละกอสุกจะมีเบต้าแคโรทีนหรือสารคุณค่าพืชผักสีส้ม-เหลืองสูงกว่ามะละกอดิบ ร่างกายเปลี่ยนสารนี้เป็นวิตามิน A ได้... การกินส้มตำบวกมะละกอสุกไปหน่อยจะทำให้ได้สารอาหารครบเครื่องมากขึ้น

สารคุณค่าพืชผักหลายชนิดรวมทั้งเบต้าแคโรทีนดูดซึมได้ดีขึ้นมากถ้ากินพร้อมอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น สลัด ฯลฯ

...

 [ csmc.edu ]

ภาพที่ 2: ตารางอาหารที่มีไลโคพีนสูง > มะเขือเทศนำมาเป็นส่วนใหญ่ ตามมาด้วยแตงโม ฝรั่ง (น่าจะเป็นพันธุ์สีแดง) เกรพฟรุต(เสาวรส) > Thank [ csmc.edu ]

ภาพรวมของตารางนี้คือ มะเขือเทศสุก โดยเฉพาะซอส น้ำมะเขือเทศ (ใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต) มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศดิบ

...

 [ lycocard ]

ภาพที่ 3: ตารางอาหารที่มีไลโคพีนสูง > อาหารยังคงเป็นกลุ่มเดิม และระบุมาเลยว่า เสาวรสหรือเกรพฟรุตเป็นพันธุ์สีชมพู > Thank [ lycocard ]

.................................................................................................

...

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรู้ว่า มะเขือเทศให้ผลดีต่อสุขภาพมานานแล้ว ทว่า... ปัญหาอยู่ที่สารคุณค่าพืชผัก หรือสารพฤกษเคมีสีแดงได้แก่ 'lycopene (ไลโคพีน)' ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไม่ดี

การศึกษาใหม่ทำโดยการสกัดสารนี้จากมะเขือเทศพันธุ์สีส้ม (tangerine tomato) ในอิตาลี ค่ายาตอนนี้ (Ateronon) คิดเป็นเงินเดือนละ 53 ปอนด์ = 1,855 บาท

...

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สารสกัดจากมะเขือเทศลดโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL0 ได้มากกว่า 90% ภายใน 2 เดือน

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป

...

โคเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  • (1). ฝ่ายดี (HDL)
  • (2). ฝ่ายร้าย (LDL)
  • (3). ผู้ช่วยฝ่ายร้ายหรือไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) 

... 

เรื่องโคเลสเตอรอลกับเรื่องชีวิตคล้ายกัน คือ ฝ่ายดีมักจะโดดเดี่ยว ส่วนฝ่ายร้ายมักจะมีผู้ช่วย... โลกเราก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว

ยาที่มีในโลกส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย (LDL) และผู้ช่วยฝ่ายร้าย (triglycerides) ได้ประมาณ 20-45% การใช้ยาเพิ่มโคเลสเตอรอลฝ่ายดี (HDL) ยังทำได้ไม่ดี

...

การเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ทำได้ดังต่อไปนี้ [ วิธีเพิ่ม HDL-1 ][ วิธีเพิ่ม HDL-2 ]

  • (1). กินไขมันชนิดดี เช่น น้ำมันรำข้าว, คาโนลา, เมล็ดชา, มะกอก, ถั่วลิสง ฯลฯ
  • (2). ลดการกินไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันหมู ฯลฯ (อาหารทอดในไทย 70% ทอดด้วยน้ำมันปาล์ม, ที่เหลือส่วนใหญ่ทอดด้วยน้ำมันหมู เนื่องจากราคาถูก)

...

  • (3). ลดการกินไขมันทรานส์ ซึ่งมีมากในเบเกอรี ขนมกรุบกรอบ เนยขาว ฟาสต์ฟูด
  • (4). ออกแรง-ออกกำลัง ซึ่งออกกำลังค่อนไปทางหนักได้ผลมากกว่าค่อนไปทางเบา เช่น วิ่งหรือขึ้นลงบันไดได้ผลมากกว่าเดินเร็ว เดินเร็วได้ผลมากกว่าเดินช้า ฯลฯ

...

  • (5). ออกกำลังก่อนอาหารที่มีไขมันชนิดดี (ข้อ 1)
  • (6). ไม่สูบบุหรี่

...

  • (7). ลดแป้งขัดสี-น้ำตาล > หลังอายุ 20 ปีควรลดข้าวลงประมาณ 1/4 แล้วใส่ถั่วใส่ผักลงไปแทน ถั่วมีเส้นใยหรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ช่วยให้อิ่มเร็ว อิ่มนาน และต้านโรคอ้วนลงพุง (ถ้าเป็นเบาหวานควรลดข้าวลงประมาณ 1/3)
  • (8). เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังขาวเป็นโฮลวีท(เติมรำ)

...

 

คนที่อ้วนไม่ฟิต... ถ้าเปลี่ยนเป็นอ้วนฟิตได้ ชีวิตจะมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยลงไปมาก และจะมีโอกาสอายุยืนเพิ่มขึ้นมาก

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank MailOnline; Thank [ lycopene ]; Thank [ csmc.edu ]; Thank [ lycocard ]; [ วิธีเพิ่ม HDL-1 ][ วิธีเพิ่ม HDL-2 ] 

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 1 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 265886เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท