ปฏิรูปการศึกษารอบสอง ต้องตั้งสมัชชาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อคืนการศึกษาให้ประชาชน (กระทรวงศึกษาฯ ไม่ผูกขาดอีกต่อไป)


กระทรวงศึกษาฯ ปฏิรูปไม่ตรงจุด

ผมดูทีวีสามทุ่มครึ่งเมื่อคืนนี้ ชื่อรายการ เปลี่ยนประเทศไทย ช่อง PBS เรื่องปฏิรูปการศึกษารอบสอง คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ มีคุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกับ อ.เสรี พงศ์พิศ ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาล้ยชีวิต แล้วรู้สึกว่า คุณจุรินทร์ไม่ get ที่อาจารย์เสรีเสนอเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปการศึกษาเท่าไรนัก ย้ำอยู่แต่ว่ามีแผนทุกด้านพร้อมอยู่แล้ว โดยปฏิรูปรอบแรกมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกระทรวง รอบสองนี้จะทำเรื่องคุณภาพ เช่น เรื่องสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม ที่มี ๕ กลุ่มตกต่ำมาก รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพครู-อาจารย์ ทั้งระดับพื้นฐานและอุดมศึกษา ผมเห็นภาพเป็นการพูดคนละเรื่อง แต่คุณจุรินทร์ก็พยายามเชื่อมว่าเป็นเรื่องเดียวกัน

 

ผมเห็นว่าเรื่องปฏิรูปคุณภาพการศึกษาหาใช่เนื้อหาสาระของการ "ปฏิรูป" อย่างแท้จริงไม่ ผลการเรียนรู้ในสาระต่างๆ ตกต่ำ ไม่ใช่สาระสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา สาระสำคัญอยู่ที่อาจารย์เสรีพยายามบอกว่า ต้องทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาของชาวบ้านให้พ้นจากความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้คนได้ "อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินในท้องถิ่นตน" อยู่ร่วมสัมพันธ์กันอย่างมีสมานฉันท์ ส่วนเรื่องวิธีการก็คือ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมกันอย่างที่ทางฝ่ายสาธารณสุขทำสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คือ คล้ายจะบอกให้คุณจุรินทร์ไปดูและเอาที่สาธารณสุขทำเป็นตัวอย่าง 

อ.เสรีบอกว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยรัฐบาลต้องมี “เจตจำนงค์ทางการเมือง” ในเรื่องนี้อย่างแรงกล้า จัดสรรเวลาและทรัพยากร (เวลา คน งบประมาณ เครื่องมือ) อย่างเป็น “วาระแห่งชาติ” อย่างแท้จริง จึงจะมี "พลัง" สามารถระดมประชามหาชนทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนได้จริง

 

มีแต่ทำเช่นนี้จึงจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่เป็นเรื่องของกระทรวงศึกษาเพียงลำพัง เป็นเรื่องของ รมต.ที่เห็นว่าต้องใช้อำนาจไปบังคับให้ข้าราชการทำตาม “แผนที่วางไว้แล้วให้ได้” เพราะท่านตอบคุณก่อเขตว่า อุปสรรคสำคัญที่สุดในการปฏิรูปการศึกษาของท่านก็คือ พูดแล้วไม่มีการทำ ซึ่งผมเข้าใจว่าหมายถึงมีการประกาศนโยบาย มีการกำหนดแผน แล้วข้าราชการเกียร์ว่าง ไม่ขับเคลื่อน ซึ่งผมเชื่อว่า เรื่องนี้ไม่มีใครบังคับ(ใจ)ใครได้ หากใจไม่มาจริง ไม่มีเจตจำนงจริง แม้(จำใจต้อง)ขับเคลื่อนไปก็ไม่แก้ปัญหาอย่างที่อาจารย์เสรีวิเคราะห์ เพราะปฏิรูปไม่ตรงจุด

 

สรุปก็คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษาต้องใช้เวลา และต้องผ่านกระบวนการ “สมัชชาการศึกษาแห่งชาติ” ที่กระทรวงศึกษาต้อง “คืนการศึกษาให้ประชาชน” ไม่ผูกขาดไว้เองอีกต่อไป

 

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์

๔ มิถุนายน ๒๕๕๒

หมายเลขบันทึก: 265600เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • การเมืองเป็นปัญหาของการพัฒนาการศึกษาของชาติ
  • หากจะพัฒนาการศึกษาพัฒนาคนได้ควรให้การศึกษาหลุดออกจากการเมืองให้ได้ก่อน
  • คือโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ไม่อยู่ใต้อำนาจการเมือง แต่ต้องสามารถตรวจสอบได้โดยประชาชนหรือผู้มีส่วนร่วม เมื่อนั้นการศึกษาก็จะพัฒนาได้ตามความต้องการของประชาชน

อื่ม ! แวะมาเยี่ยมอ่าน คะ

เห็นด้วยกับอาจารย์เสรี

แต่ก็ไม่รู้

แต่ที่แน่ๆ บางทีโตมา เคยคุยกับเพื่อนๆว่า เราใช้เวลาในมหาวิทยาลัยหรือ โรงเรียน แบบสูญเปล่า หรือคุ้มค่ากันแค่ไหน

พวกเรากับการศึกษา บางทีเห็นว่า พอเริ่มทำงานก็เริ่มใหม่ เหมือนเอาที่เรียนมาใช้น้อย

the more I learn, the more I know.

the more I know, the more I forget.

the more I forget, the less I know.

So why study. !?#$%

พวกเรา สังเกตุอย่างว่า บ้านเรา เน้นการเรียนการสอนกับการเสริมสมองซีกซ้าย มาก นะ

และยกย่อง คนที่เก่งการเรียนแบบใช้สมองซีกซ้าย (การวิเคราะห์ การแยกแยะ การจัดลำดับ รายละเอียด ตัวเลข และจำนวน) ทั้งที่บางคนเป็นเลิศกับสมองซีกขวา (อารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการภาพรวมการเคลื่อนไหว)

ส่วนเรื่องวิธีการก็คือ ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมกัน...............

อย่างไร

ขยายความ ??

ตัวอย่าง ??

เข้ามาเยี่ยมอ่าน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตคะ  เรียนจบตรีปีนี้แล้วคะ แต่ไม่ต่อโท  เคยเรียนกับอาจารย์แล้วคะ วิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  เป็นแผ่น CD คำบรรยายของอาจารย์ มาเปิดฟังคะ

ขออนุญาตเข้ามาแนะนำศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตน้องใหม่ครับ นั่นคือ "ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิตช้างกลาง" ตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช 80250 เผื่อว่ารุ่นพี่ผู้ผ่านประสบการณ์มาก่อนจะเข้าไปให้คำแนะนำน้อง ๆ ทางปักษ์ใต้บ้างนะครับ ที่อยู่บนเน็ตของเราคือ http://cklifecenter.blogspot.com/

อาจารย์ครับ

ทั้งสองคนคุยกันคนละเรื่องเดียวกัน

เรื่องปฏิรูปการศึกษา/การเรียนรู้เหมือนกัน

อ.เสรี พูดถึงวิธีคิด/ระบบคิด

และ คุณจุรินทร์ พูดถึงเรื่องเทคนิค

การปฏิรูปการศึกษาบ้านเราไปไม่ถึงไหนเพราะสนใจเพียงเรื่องเทคนิค ซึ่งเป็นเพีบงเปลือกและกระพี้

ผมไม่ปฏิเสธเปลือกและกระพี้ แต่มันจะมีความหมายมันต้องทำหน้าที่หล่อเลี้ยงแก่น

ให้ปฏิรูปรอบสอง รอบสาม สี่ ห้า หก...

พูดและทำแต่เพียงเปลือกและกระพี้ ก็ต้องมาปฏิรูปรอบที่ เจ็ด แปด เก้า กันไม่มีที่สิ้นสุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท