กฤษณพงศ์ กีรติกร : การปฏิรูปการศึกษา (๗)


 

ตอนที่ ๑   ตอนที่ ๒     ตอนที่ ๓
ตอนที่ ๔   ตอนที่ ๕    ตอนที่ ๖

          ผมขอบทความที่มองระบบการศึกษาไทยอย่างครอบคลุมรอบด้าน   และเห็นภาพเชิงประวัติศาสตร์ ของ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร นักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาที่ดีและเก่งที่สุดคนหนึ่งของสังคมไทย   เอามาเผยแพร่ต่อดังต่อไปนี้   โดยที่บทความนี้ยาวกว่า ๕๐ หน้า    จึงทยอยลงหลายตอน
          ขอชักชวนให้ค่อยๆ อ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ จะได้ประโยชน์มาก
    

 

วิกฤติ    กระบวนทัศน์  มโนทัศน์  เพื่อการปฎิรูปการศึกษา
กฤษณพงศ์ กีรติกร

ต่อจากตอนที่ ๖

          สิ่งที่น่าคิดในขณะนี้คือการเกิดการบรรจบกันการหลอมรวมกันของศาสตร์  เกิดความรู้ใหม่ของใหม่ได้  ในยุโรปหรือในอเมริกา การพบกัน(Intersection) และการ converge ของความรู้เกษตรกับอุตสาหกรรมเกิดขึ้นคู่กันตลอด    เมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้วในอเมริกามีมีกฎหมายเรียกว่า  Land Grant University Act หรือ Morrill Act 1860    รัฐจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่มีเกษตรศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ไปด้วยกัน  ทำให้เกิดมหาวิทยาลัยกลุ่ม  A&M  Universities   (Agriculture and Machinery Universities) และเกิดมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ (State Universities และ Land Grant Universities) เพื่อพัฒนาการเกษตรกับวิศวกรรมศาสตร์ควบคู่กันไป    ทำให้เกิดการใช้เครื่องจักรในฟาร์ม (Mechanized Farming) และการแปรรูปผลิตผลเกษตร   แรงงานคนแรงงานสัตว์เปลี่ยนเป็นเครื่องจักรกล    ภาคเกษตรฐานแรงงานเปลี่ยนเป็นภาคเกษตรฐานเครื่องจักรกลหรือฐานเทคโนโลยี   ต่อมาการเกษตร Intersect กับวิทยาศาสตร์   ทำให้เกิดอุตสาหกรรมอาหาร   และเกิดการปฏิวัติเขียว  
 
   
 

 

          ปัจจุบันในโลกตะวันตก    คลื่นอุตสาหกรรมหรือคลื่นวิศวกรรม    และคลื่นเกษตรฐานวิศวกรรมหรือฐานเทคโนโลยีค่อนข้างอิ่มตัว    คลื่นที่กำลังเติบโตเป็นคลื่นไอทีและคลื่นฐานวิทยาศาสตร์ชีวภาพ    มีการบรรจบกันมากระหว่างศาสตร์   ระหว่างคลื่นเกษตร    คลื่นการผลิต   คลื่นวิทยาศาสตร์ฐานชีวภาพ    ผลผลิตทางการเกษตรและพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นอ้อย  ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง  มีโอกาสเปลี่ยนไปผลิต 5 F ได้หมดหรืออย่างน้อยก็ 3F แรกคือ foods, feeds และfuels  ไม่ใช่เฉพาะ foods ที่เรารู้จักกันตามมโนทัศน์เดิม     ผมเห็นว่าถ้าใช้โอกาสของการบรรจบกันของหลากศาสตร์    ปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรฐานแรงงานหรือภาคเศรษฐกิจฐานเดิมเป็นภาคเกษตรใหม่     ประเทศไทยและโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงได้มาก    ภาคเกษตรใหม่จะช่วยให้โลกก้าวพ้นเศรษฐกิจที่พึ่งฟอสซิล (Carbon based economy)   ไปเป็นโลกหรือเศรษฐกิจที่ไม่พึ่งฟอลซิล (Carbon free economy) ได้    

          บทความชุดนี้เป็น master piece ด้านให้ความลุ่มลึกในการทำความเข้าใจระบบการศึกษาไทย    ต้องอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์จึงจะได้รับประโยชน์เต็มที่

วิจารณ์ พานิช
๒๖ พ.ค. ๕๒

 

 

หมายเลขบันทึก: 265417เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2009 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท