กฤษณพงศ์ กีรติกร : การปฏิรูปการศึกษา (๖)


 

ตอนที่ ๑  ตอนที่ ๒  ตอนที่ ๓
ตอนที่ ๔  ตอนที่ ๕


          ผมขอบทความที่มองระบบการศึกษาไทยอย่างครอบคลุมรอบด้าน   และเห็นภาพเชิงประวัติศาสตร์ ของ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร นักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาที่ดีและเก่งที่สุดคนหนึ่งของสังคมไทย   เอามาเผยแพร่ต่อดังต่อไปนี้   โดยที่บทความนี้ยาวกว่า ๕๐ หน้า    จึงทยอยลงหลายตอน
          ขอชักชวนให้ค่อยๆ อ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ จะได้ประโยชน์มาก    

 

วิกฤติ    กระบวนทัศน์  มโนทัศน์  เพื่อการปฎิรูปการศึกษา
กฤษณพงศ์ กีรติกร

ต่อจากตอนที่ ๕

ความรู้ฝังตัวและความรู้แยกส่วน
          เราอยู่ในมหาวิทยาลัย     เรามีองค์ความรู้ (body of knowledge) อยู่มากมาย    แต่เรามักจะสนใจแต่องค์ความรู้ที่ตีพิมพ์ได้เผยแพร่ได้ (publishable, disseminable)    ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ไม่สามารถกินได้ (edible)   ไม่สามารถใช้ได้(usable, applicable)  และไม่ค่อยทำให้เกิดเป็นตัวเงินหรือขายได้หรือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (saleable)     สาเหตุเนื่องจากวิถีและวิธีการศึกษาในระบบสถานศึกษาทางตะวันตก    ทั้งนี้เมื่อก่อนการปฎิวัติอุตสาหกรรมหรือก่อนคลื่นอุตสาหกรรม   การให้การศึกษาเป็นการสอนปากต่อปากหรือมุขปาฐะ(oral tradition)ในครอบครัวและในกลุ่มคนทำงานเดียวกัน   คนได้การศึกษาและผ่านการฝึกงานเป็นลูกมือเฉพาะอาชีพ (Apprenticeship) ภายในครอบครัวหรือระหว่างนายจ้างที่มีความเก่งกับลูกมือฝึกหัด  นอกจากนั้นในระบบยุโรปมีชุมนุมของช่าง  พ่อค้าและผู้ผลิต(craftsman and guilds)    ผู้ให้ความรู้เป็นผู้ปฎิบัติจริงในอาชีพ    การสอนก็ทำโดยกลุ่มผู้ค้าผู้ผลิต  ความรู้ถ่ายทอดกันโดยผู้ปฏิบัติจริง   เป็นความรู้บูรณาการค่อนข้างมาก  เป็นความรู้ที่มีปริบท  เป็นความรู้แบบฝังตัวหรือ Tacit knowledge
  
 

  

          เมื่อเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรม   รูปแบบให้การศึกษาเปลี่ยนไป   มีการศึกษาในระบบโรงเรียน( School Based Education)     มีวิทยาลัย   มีมหาวิทยาลัย   มีการให้ความรู้เป็นชิ้นๆ เป็นวิชาๆ     ในระบบมุขปาฐะ    ผู้ให้ความรู้เป็นผู้ปฎิบัติจริง   แต่ในระบบโรงเรียน  ผู้ให้ความรู้คือครูไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจริงในอาชีพ     ความรู้ที่ให้กันในระบบสถานศึกษาสามารถเขียนออกมาได้   เราเรียกความรู้แบบนี้ว่า  Explicit knowledge   โรงเรียนและสถานศึกษาจึงให้คุณค่าและความสำคัญแก่ความรู้แบบแยกส่วน   มากกว่าความรู้ในตัวคน   ขณะนี้ในมหาวิทยาลัยของเราจะรู้จักเฉพาะความรู้แบบ Explicit knowledge    ครูมหาวิทยาลัยให้ความรู้เป็นชิ้นเป็นวิชาและไม่ใช่มักไม่ใช่ผู้ปฏิบัติจริงในอาชีพ    ความรู้ในมหาวิทยาลัยเป็นความรู้ที่ไม่มีปริบท    ความรู้ที่กินได้ใช้ได้ต้องเป็นความรู้ที่มีการบูรณาการ   ต้องมององค์รวม  มีปริบท และภูมิสังคมประกอบ   ความรู้จึงจะนำไปไช้ได้  กินได้

          บทความชุดนี้เป็น master piece ด้านให้ความลุ่มลึกในการทำความเข้าใจระบบการศึกษาไทย    ต้องอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์จึงจะได้รับประโยชน์เต็มที่

 

วิจารณ์ พานิช
๒๖ พ.ค. ๕๒


      

 

หมายเลขบันทึก: 265210เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • ผมอ่านแบบเห็นด้วยมา ๕ ตอน
  • แต่ตอนนี้โดนใจมากที่สุด..เพราะผมเปลี่ยนแปลงวิธีสอนเป็นแบบองค์รวมมาประมาณ 4 ปีแล้วครับ..
  • หลังจากที่ผมสงสัยมานานว่าระบบการศึกษาบ้านเรามาผิดทางมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยปี ๓ ครับ (20 ปีผ่านมา)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท