ต่อต้านเล็กๆ-สัญชาตญาณของมนุษย์?


นศ. ก็ยังเป็นวัยรุ่นที่บ้างก็ลืม..บ้างก็จงใจจะทำ...

  ๐๘๔๕๐๑๐๖๒๕๕๒

ขับรถยนต์เข้ามหาวิทยาลัย ผมก็นึกหัวข้อเขียนบันทึกได้แล้ว 

เมื่อผ่านช่องทางการตรวจรถยนต์ (ซึ่งมีเรื่องอยากเขียนหลายครั้งแล้ว) ผ่านวงเวียนมาถึงสามแยกไดโนเสาร์ พบ รปภ. เป่าโบกรถจักรยานยนต์เข้าจอดข้างทางจำนวนมาก

 ไม่ต้องเดาก็รู้ว่า ผู้ขับขี่จักรยานยนต์เหล่านั้นไม่สวมหมวกกันน็อคหรือขับขี่ซ้อนสาม เพราะเมื่อเลี้ยวเลยมาก็เจอ ผู้ขับขี่ประเภทนี้อีกมากมาย ทั้งนศ.และบุคลากร 

ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัยได้ปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ไปแล้ว และคงแจ้งเตือนไปแล้ว แต่.....นศ. ก็ยังเป็นวัยรุ่นที่บ้างก็ลืม..บ้างก็จงใจจะทำ... เพราะเมื่อตอนนศ.ผ่านประตูทางเข้าก็สวมหมวกอยู่ และถอดออกในทันทีหลังผ่านประตูมาแล้ว คงไม่คิดว่าจะเจอด่านสองของ รปภ. 

 นศ.ที่ถอดหมวกกันน็อคออก คงมีเหตุผลอยู่บ้างว่า การใส่หมวกทำให้ทรงผมเสียรูปเสียทรงไปบ้าง และสัญชาตญาณลึกๆใต้จิตใจ อาจบอกให้แสดงความเป็นอิสรในการแสดงออกมาว่า อย่าบังคับน่ะ ไม่ชอบ 

ผมนะพอเข้าใจในส่วนนี้ แต่นศ.นะไม่ได้รับรู้ว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากการไม่สวมหมวกกันน็อคอาจนำไปสู่การสูญเสียเชิงสังคมที่มากเหลือเกิน

 ผมเคยเห็นหมวกกันน็อคที่เป็นรอยขีดขูดที่น่ากลัวเมื่อไปที่หน่วยฉุกเฉิน (ER) รพ.ม.อ. เคยเห็นรอยขูดบนหมวกกันน็อคของลูกสาวที่ขับรถเร็วมากและล้มรถจักรยานยนต์ เคยรู้ในคำพูดของแพทย์ที่ทำการผ่าตัดสมองให้แก่คนไข้ซิ่งรถจักรยานยนต์ เคยเจอเหตุที่ นศ.ต้องผ่าตัดสมอง เนื่องจากเกิดเหตุรถจักรยานยนต์ชนภายในมหาวิทยาลัย แล้วเรียนไม่จบ ต้องให้พ่อแม่ดูแลต่อไป หลายสิ่งเหล่านี้ต่อเนื่องมาจากความเป็นวัยรุ่นที่ขาดประสบการณ์และความยับยั้งใจในความอยากซิ่งของเด็ก นศ. 

ในความคิดของผม มหาวิทยาลัยมีหน้าที่บ่มเพาะนศ.เหล่านี้ และผมชอบใจในการดำเนินการตั้งแต่วันแรกของการเรียน และอยากให้ทำต่อเนื่อง อย่าทำเป็นฤดูกาลเมื่อนศ.ส่วนใหญ่ประพฤติเข้ารูปเข้ารอยแล้ว เพราะแรงจูงใจในการละเมิดจะกลับมาอีก เหมือนที่ผมเห็นบุคลากรไม่สวมหมวกกันน็อคหลายคน เพราะเขาเหล่านี้ อาจคิดง่ายๆว่า หากเกิดอะไรขึ้นมา...ก็ชีวิตเขา เขารับผิดชอบตัวเองได้ แต่ในวงที่กว้างกว่านั้นคือ เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริงแล้ว  หากเขานอนเป็นผักไปแล้ว เขาก็ไม่ได้รับรู้แล้ว แต่ญาติพี่น้องเขายังต้องดำเนินการที่จะเอาผิดกับคู่กรณีต่อไป และก็อาจทำให้คู่กรณีรู้สึกผิดในใจตลอดไป

 เรามักคิดต่าง...และประพฤติต่าง...เมื่อเหตุผล..อารมณ์ในใจบางส่วนมันบอกว่า..ไม่ใช่

เด็ก..ด้อยประสบการณ์ โลกทัศน์ยังไม่กว้าง ค่อยๆสอนในหลายวิธี ผสมผสานกันไป ทั้งจูงใจ..ใช้กรณีศึกษา..และภาคบังคับ.. 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ฝ่ายปฏิบัติ คือ รปภ. รับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ ที่จะนุ่มนวล อ่อนโยน เพื่อให้เด็กเหล่านี้รับรู้ว่า นี่คือปฏิบัติการด้วยความห่วงใย...มิใช่การใช้อำนาจ ตามกฎ ตามระเบียบ แต่เพียงอย่างเดียว

 

ผม..เอง

หมายเลขบันทึก: 265037เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นี่เป็นปรากฏการณ์จริง ๆ ดัง อาจารย์ว่า ได้ต่อต้านสักนิดก็ยังดี  แต่ผลของการต่อต้านที่ตามมานั้นมันกระทบกับใครบ้าง  ถ้ายังไม่เกิดกับตัวเอง  ก็ยังไม่สำนึก  ถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว  มันก็สายเกินไปที่จะแก้ไข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท