เอกซเรย์คอมพิวเตอร์


เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

CT Scan: Computed Tomography Scanner เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เกิดจากการคิดค้นของวิศวกรชาวอังกฤษชื่อ G.Hounsfields ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 โดยสอดร่างกายคนไข้ที่นอนบนเตียงเข้าไปในอุโมงค์ของเครื่อง และใช้รังสีเอกซเรย์ (X-Ray) ส่องผ่าน (Scan)อวัยวะส่วนที่ต้องการตรวจไปสู่ตัวรับสัญญาณ แล้วใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณและสร้างภาพ (Image)ออกมา ซึ่งแต่เดิมในการส่องผ่านแต่ละครั้งจะได้ภาพเพียงภาพเดียว ในปัจจุบันมีการพัฒนาโดยสามารถสร้างภาพได้หลายภาพ ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดและชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจสั้นลง และสามารถนำไปสร้างเป็นภาพ 3 มิติได้

 

 ประโยชน์ของ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

1. ช่วยในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมทั้งสามารถตรวจหลอดเลือด และกระดูกได้

        2. ช่วยบอกระยะของโรค (กรณีที่เป็นมะเร็ง)

        3. ใช้ในการตรวจติดตาม หลังการรักษา

        4. ช่วยในการบอกตำแหน่ง เพื่อนำชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิวิทยา

        5. ช่วยบอกขอบเขตของก้อนในการรักษาด้วยรังสี (ฉายแสง)

 

ตัวอย่างอวัยวะที่ตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

  สมอง ( Brain )

  คอ ( Neck )

  ไซนัส ( PNS )

  หลังช่องจมูก ( Nasopharynx )

  ช่องปาก (Oral cavity)

  กล่องเสียง ( Larynx )

  ช่องท้องส่วนบน ( Upper Abdomen )

 ช่องท้องส่วนล่าง ( Lower Abdomen )

  ช่องท้องทั้งหมด ( Whole Abdomen )

  ปอด ( Chest )

  กระดูกคอ ( C-Spine )

  กระดูกสันหลังช่วงอก ( T-Spine )

  กระดูกสันหลังช่วงเอว ( L-Spine )

  ส่วนอื่น ๆ  เป็นต้น

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

1. งดอาหาร, น้ำ และยาทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อลดข้อแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการฉีดสารทึบรังสี ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยบางราย (ยกเว้นในการตรวจบางอย่าง หรือในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งรังสีแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา)

2. ควรได้รับการเจาะเลือด (ตรวจ BUN, Cr) ก่อนการตรวจ

3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บางชนิด อาจต้องมีการรับประทานยาระบายก่อน อย่างน้อย 1 วัน ก่อนตรวจ โดยเฉพาะในรายที่ต้องการตรวจบริเวณช่องท้องส่วนล่าง (Lower Abdomen) และช่องท้องทั้งหมด (Whole Abdomen)เป็นต้น

4. ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ แพ้อาหารทะเล แพ้สารทึบรังสี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต โรคเบาหวาน หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ

5. ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการสับสน ไม่รู้สึกตัว อาจต้องพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหว เป็นการป้องกันการได้รับรังสีมาก

6. หากผู้รับบริการได้รับการตรวจโดยการรับประทาน หรือสวนสารทึบรังสี คือ แป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium Sulphate) เช่น การตรวจกระเพาะอาหาร (GI study) , การตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema) ซึ่งจะทำให้เกิดรอยที่ไม่พึงประสงค์ (artifact) ต่อภาพได้ ควรทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อน หรือหลังการตรวจดังกล่าว 1 อาทิตย์ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแป้งแบเรียมตกค้างอยู่ในร่างกาย

คำสำคัญ (Tags): #ct
หมายเลขบันทึก: 264348เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่นะคะ พี่จะรออ่านบันทึกต่อๆไปนะคะ อย่าลืมนำรูปเจ้าของมาลงพี่ๆน้องๆในคณะจะได้รู้จักกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท