วิถีแห่งความรู้แจ้ง (๓)


--- แท้ที่จริงแล้ว..ความทุกข์ของคนเราอยู่ภายใน กาย และ จิต ของตนนั่นเอง

                                       E

        

       ---  แท้ที่จริงแล้ว..ความทุกข์ของคนเราอยู่ภายใน กาย และ จิต ของตนนั่นเอง 

     --- สนามศึกษาธรรมะของเรา...จึงอยู่ที่กายและจิตนี้.. แทนที่เราจะเรียนรู้ออกไปภายนอก ให้เราย้อนเข้ามาศึกษาอยู่ในกายและจิตของเรานี่แหละ..

    ---  วิธีการไม่มีอะไรมาก ขอเพียงให้หัดสังเกต กาย และ จิต ของเราให้ดี เริ่มต้นง่ายๆ จากการสังเกตร่างกายก่อน...ท่านพระอาจารย์ปราโมทย์ แนะนำว่า...

    ---  ขั้นแรก ทำใจให้สบายๆ อย่าเคร่งเครียด... แต่ให้คิดเพียงว่า เราจะสังเกตดูร่างกายของเราเองเท่านั้น  จะรู้ได้แค่ไหน..ไม่เป็นไร เอาแค่ว่าจะเฝ้าสังเกตให้ได้เท่าที่ทำได้ก็พอ ...

   --- เปรียบร่างกายเหมือนหุ่นยนต์ที่แสดงอาการเคลื่อนไหวในอิริยาบทต่างๆ..โดยเราเป็นคนดูเฉยๆ..ถึงจุดหนึ่ง..จะเห็นประจักษ์แจ้งแก่ใจว่า..ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นก้อนวัตถุหนึ่งที่ไม่ถาวร..ไม่หยุดนิ่ง..ไม่คงที่..มีการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนเข้าออกตลอดเวลา คือ หายใจเข้า-ออก กินดื่ม ขับถ่าย...ฯลฯ

    --- ความยึดถือด้วยความหลงผิดว่า กายเป็นเรา... จะบรรเทาเบาบางลงได้..จะเห็นชัดแจ้งว่า มีธรรมชาติเป็นผู้รู้ร่างกาย..อาศัยอยู่ในร่างกายนั่นเอง..

    --- เราสังเกตลึกลงไปอีกถึงสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในกาย...ที่เห็นง่ายๆคือ ความรู้สึกเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยๆบ้าง เช่น รู้สึกปวดเมื่อย หิวกระหาย..จึงเป็นทุกข์ ..ครั้นเมื่อความทุกข์ผ่านไประยะหนึ่ง...ย่อมรู้สึกสบาย เป็นสุขขึ้นบ้าง..แต่ไม่นาน ความทุกข์เดิมๆนั้น ได้ย้อนกลับมาอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้ไม่จบสิ้น....

    --- ขั้นที่สอง คอยสังเกตว่า เวลาที่เกิดรู้สึกทุกข์สุขทุกครั้ง จิตใจของเราจะเกิดมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญใจ หรือดีใจ อย่างไร ? ..ให้เราหัดรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้น..รวมทั้งการรัก เกลียด โลภ โกรธ หลง อยาก มีอยากได้ ฯลฯ ...เมื่อเราเรียนรู้ความรู้สึกและอารมณ์แปรปรวนทั้งปวงแล้ว...ย่อมประจักษ์ถึงความไม่คงที่ของความรู้สึกในกายเหล่านี้...

     --- เมื่อสังเกตเห็นการทำงานของจิต(อาการของจิต)ได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนประจักษ์แจ้งในความจริงที่ว่า ความทุกข์สุข เป็นเพียงเกิดจากสาเหตุที่เกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา... 

      --- เมื่อฝึกให้รู้เท่าทันจิตตนเองมากขึ้น ..ไม่นานย่อมทราบด้วยตนเองว่า ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ..สภาพที่ไม่ทุกข์เป็นอย่างไร..สภาวะจิตจะพัฒนาไปได้เองตามลำดับทุกประการ..โดยไม่ต้องกังวลถึงขั้นตอนที่ซับซ้อนในเรื่อง.. ญาณ.. ฌาณ หรือ มรรคผลนิพพานแต่อย่างใด...

     --- ธรรมะ จึงเป็นเรื่องธรรมดาๆ ของตัวเราเอง สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากด้วยตนเอง อย่าพากันท้อถอย ให้เรารู้เพียงว่า...

     --- ทำอย่างไร เราจะไม่ทุกข์ก็พอแล้ว...เพราะนั่นคือหัวใจของพุทธศาสนา ที่คนๆหนึ่งพึงรู้ไว้ และหมั่นปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ...

                                

 
 
 
หมายเลขบันทึก: 263789เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ขอบคุณมากครับ

ชยพร แอคะรัจน์

  • เป็นบันทึกที่ให้ประโยชน์อีกบันทึก
  • ขอบคุณมากค่ะ

4

สวัสดีค่ะ

สุขทุกข์อยู๋ที่ตัวเรา...ต้องตามอารมณ์ของตัวเองให้ทัน

เป็นธรรมะง่ายๆนะคะ

จะลองคิดและทำตามเพราะบางครั้ง

ความอ่อนไหวก็ทำให้เป็นทุกข์ได้มากๆ

 

  • การรู้สึกตัวเป็นสิ่งสำคัญ ขาดความรู้สึกเมื่อใด ทุกข์ไปแทนที่ทุกครั้ง
  • การมีสติจึงเป้นสิ่งสำคัญ
  • ขอบคุณ

สวัสดีค่ะ

  • เรารู้ตัวว่า..ไม่น่าจะทำแบบนี้
  • แต่เราก็ฝืนใจทำ..เพื่อความสุขและประโยชน์ต่อส่วนรวม
  • แบบนี้..เรียกว่าขาดสติไหมคะ

ขอบคุณครับอาจารย์

ขอความช่วยเหลือจากภูมิธรรมของอาจารย์หน่อยนะครับ

http://gotoknow.org/blog/chaneyim/263757

ขอบคุณทุกท่านค่ะ Pคุณชยพร แอคะรัจน์ Pคุณเกศนี
P ครูแดง P คุณศรีกมล Pครูคิม Pคุณจันทร์ยิ้ม

ที่ให้ความสนใจ..และมีความเห็นเหมือนเป็นคำถามเชิงบวกที่น่าจะมีคำตอบในตัวเองอยู่แล้วนะคะ ...

ส่วน Pคุณจันทร์ยิ้ม ที่ให้เกียรติชวนไปแสดงความเห็นเรื่อง "พ่อแม่ มือโปร" นั้น ดิฉันได้ตอบไปดังนี้ค่ะ....

                                   44 

       ขอใช้ตัวอย่างจากพ่อแม่ของดิฉันมาเป็นประสบการณ์เทียบเคียงนะคะ เป็นมุมมองจากทางด้านลูกค่ะ...

      พ่อ-แม่ มือโปร..น่าจะใช้คำว่า พ่อ-แม่บังเกิดเกล้า...ที่ลูกๆเรียกด้วยความรัก เทิดทูน เคารพบูชา เป็นศิริมงคลเหนือเศียรเกล้า เสมือน พรหมของบุตร..เป็นความรู้สึกที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางกายและใจที่แน่นแฟ้นของพ่อ แม่ ลูก ที่บ่มเพาะ งอกงาม ทอแสงเปล่งประกายแห่งความดีงาม ปลูกฝังจิตสำนึกของรากฐานคุณธรรมอย่างยั่งยืน ไม่มีขอบเขต ไม่มีกฏตายตัว ไม่มีเงื่อนไข ไม่หวังผลตอบแทน ไม่ต้องโอ้อวด ไม่ต้องแข่งขันกัน ไม่ต้องเปรียบเทียบความรักนั้นกับของใครๆ...แม้นเมื่อพ่อแม่ทิ้งกายสังขารไปแล้ว ความเป็นปูชนียบุคคลของท่าน ยังเป็นทรัพย์อันทรงคุณค่าที่สถิตอยู่ในใจของลูกๆหลานชั่วนิรันดร...

                        ---------------------------

ตามมากราบขอพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

 P จันทร์ยิ้มขอบคุณอาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณP

ไม่ผิดหวังเลยที่เชิญอาจารย์มาให้คำแนะนำ

ชอบบรรยายธรรมภาษาชาวบ้านของอาจารย์จัง

ขอเก็บไว้ใช้นะครับ

เรื่องชื่อพ่อ-แม่บังเกิดเกล้า

เป็นคำไทยที่พระจันทร์เห็นเข้าก็ชอบ

ทำไมนึกไม่ออกนะ

แต่กับเพื่อนๆบอกว่า

เราจะรู้สึกเกินเอื้อมที่เราจะตั้งเป้าพัฒนาตัวเราให้เป็นเช่นนั้น

บรรดาพ่อแม่มือใหม่ที่พวกเราจะไปเสริมพลังเขา

ก็เกรงจะยิ่งไม่มั่นใจ

ขออีกคำที่เตี้ยกว่านี้หน่อยนะครับอาจารย์

20090513001429_109 

       " พ่อแม่ในดวงใจ"...ซึ่งเป็นคำที่ สะท้อนมาจากข้างในจิตใจถึงความรักผูกพันที่ลึกซึ้งระหว่าง พ่อ แม่ ลูก...ทุกอย่างในความสัมพันธ์ที่ถักร้อยความรักนี้ เกิดจาก..ใจเป็นใหญ่..ใจเป็นประธาน.. ลูกรักจึงประสบความสำเร็จในชีวิตทุกด้าน.. มีความดีงามพร้อม..เป็นประโยชน์แก่ตนและสังคมรอบข้าง.. สำเร็จด้วยใจรักของพ่อแม่ลูก..ทั้งนั้นค่ะ...

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ

พ่อแม่ในดวงใจ

คำง่ายๆสวยๆอย่างนี้

ทำไงจะคิดเองได้บ้างเอ่ย

ขอไปใช้แล้วนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท