คงอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้แล้ว กระแสแรงเหลือเกิน ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ว่าชุมชน BLOG ของเรามีอะไรดี ๆ เยอะแยะ จากคนที่เคยอ่านมาตลอด คราวนี้ลองมาทำบ้าง ครั้งแรกครับ จะทำ KM กับ QA ภาควิชา เริ่มที่ไหนก่อนดี คิด ๆๆๆ
คงอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้แล้ว กระแสแรงเหลือเกิน ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์หลาย ๆ ท่าน ว่าชุมชน BLOG ของเรามีอะไรดี ๆ เยอะแยะ จากคนที่เคยอ่านมาตลอด คราวนี้ลองมาทำบ้าง ครั้งแรกครับ จะทำ KM กับ QA ภาควิชา เริ่มที่ไหนก่อนดี คิด ๆๆๆ
ผมแนะนำให้ อ.ชายแดนโทรไปที่ 1645 ครับ ขอสายคุณโอ หน่วยประกันฯ เพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกชุมชน NUKM blog ครับ ยินดีต้อนรับครับ อ้อ เช้าวันที่ 4 พ.ค. 49 นี้ ที่ Main conference (CITCOMS) เขาจัดให้มีการรวมพลคนเขียน blog กัน ถ้าอาจารย์ว่างก็ขอเชิญด้วยครับ
เรียน อ.วิบูลย์
เนื่องจากวันที่ 4 พ.ค. 49 ทางคณะได้มีการจัดอบรม เรื่อง PCR อาจทำให้บุคลากรส่วนใหญ่ของคณะไม่สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมรวมผลคนเขียน blog ได้ แต่ก็จะพยายามหาคนเข้าไปร่วมเพื่อเป็นตัวแทนของชุมชนเรา ครับผม
ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้คำแนะนำครับ ตอนนี้ผมเป็นสมาชิกของ NUKM blog แล้วครับ คิดว่าคงได้มาเจอกันบ่อยขึ้น ตอนนี้กำลังช่วยทางภาควิชา กับพี่ ๆ ทำ SAR กันอยู่ครับ รู้สึกว่าทุกครั้งที่ประชุมกัน จะต้องมานั่งตีความ ข้อความในแต่ละระดับคะแนน(1,2,3,4,5) ที่จะต้องให้เป็นไปตาม Criteria ในแต่ละข้อก่อนถึงจะให้คะแนนได้ (การประเมินในปีนี้, การประเมินในปีถัดไป) ซึ่งค่อนข้างจะยากอยู่บ้างในบางข้อ บางครั้งก็ตกลงกันลำบากว่าจะให้ประเมินตนเอง เป็นระดับไหนดี เช่น ระดับคะแนนเป็น 3 ระบุว่ามีแหล่งทุนวิจัย ระดับ 2 มีแผนรองรับในการบริหารงานวิจัย (อันนี้สมมุตินะครับ) ซึ่งถ้าภาควิชามีแหล่งทุนวิจัยแต่ยังไม่มีแผน จะให้คะแนนการประเมินตนเองในปีนี้เป็น 3 หรือ 2 ดีละครับ อันนี้ก็ทำให้การประชุมเพื่อทำ SAR ในแต่ละครั้งล่าช้ากันพอสมควร แต่ก็ดีครับได้แสดงความเห็นและยอมรับในจุดด้อย พัฒนาจุดแข็ง เรียกว่าบางหัวข้อต้อง ตรวจสอบระบบกันใหม่เลยทีเดียว แต่ตอนนี้ มีแต่แผนในหัวเต็มไปหมด ก็คงจะเหมือนกับงานที่กำลังจะเข้ามาตอนเปิดเทอมนั่นแหละครับ
อาจารย์ขา แล้วหนูจะไปแสดงความคิดเห็นตรงไหนคะ งงๆๆ ??
ก็ตรงนี้ละครับ มาเขียนเปิดกระทู้เลยละกัน สำหรับน้อง ๆ ที่จะเข้ามาคุยกันเรื่อง Infection Control in Dental Radiology นะครับ ให้เตรียมเนื้อหาบางส่วนมาก่อนนะครับ แล้วเอามาแปะไว้จะได้มีอะไรมาคุยกัน วันนี้พี่จะตั้งให้ก่อนว่า "น้ำยาล้างฟิล์มฆ่าเชื้อโรคจากฟิล์มที่ถ่ายจากคนไข้ได้หรือไม่ เพราะมันมีความเป็นพิษ ตามทฤษฏ๊ที่เรียน" ใครมีความเห็นว่าไงบ้างครับ?
ในกรณีที่ ผู้ป่วย herpatic labialis ระยะ vesicular stage จะเหมือนกหรือแตกต่างจากการควบคุมการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม (unversal precaution) อย่างไร
(เย่ๆ คนแรก ๕๕๕)
แนวทางการปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อในงานทันตรังสีวิทยา
1.เตรียมชนิดและจำนวนฟิล์มให้ถูกต้องและพอดี
2.ใส่ถุงมือในการปฏิบัติงานผู้ป่วย
3.หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ปนเปื้อนวัมผัสเครื่องเอกซเรย์ กระบอกรังสี เก้าอี้ ใบส่งถ่ายภาพรังสี เสื้อตะกั่ว โต๊ะทำงาน ฯลฯ
4.ฟิล์มที่ถ่ายแล้วเช็ดคราบน้ำลายที่ติดมากับฟิล์มและวางบนกระดาษรองฟิล์ม(ที่จะนำไปส่งล้างฟิล์ม)เท่านั้น
5.เมื่อถ่ายภาพรังสีในช่องปากเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อแล้วจึงนำฟิล์มไปส่งล้างโดยไม่จับฟิล์มอีก
ฯลฯ
อ้างอิงโดย
สุภา โรจนวุฒนนท์.คู่มือปฏิบัติการในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม.
กรุงเทพฯ:คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.
แนวทางปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อในงานทันตรังสีวิทยา(ต่อ)
6. การล้างฟิล์มใช้เทคนิคการแกะฟิล์มแบบไม่ปนเปื้อน และวางฟิล์มที่ล้างเสร็จแล้วบนกระดาษรองฟิล์มแผ่นใหม่ก่อนที่จะนำส่งออกมาจากห้องมืด
7. ในกรณีที่ใช้film holder เมื่อถ่ายผู้ป่วยเสร็จและตรวจสอบฟิล์มเรียบร้อยแล้ว นำ film holder ไปทำความสะอาด ทำงานเชื้อตามแนวทางปฏิบัติสำหรับเครื่องมือประเภท semi-critical items
8. เครื่อง เอกซเรย์ Intraoral ใช้เช็ดทำความสะอาดบริเวณกระบอกรังสี ปุ่มปรับต่างๆ ตามแนวทางปฏิบัติในการทำความสะอาดและทำลายเชื้อบริเวณพื้นผิวหลังเสร็จงาน
9. เครื่อง Panoramic ให้หุ้มบริเวณ bite block ด้วยพลาสติกใส และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งสำหรับผู้ป่วยรายต่อไป ทำความสะอาด Head rest, Chin rest ตามแนวทางปฏิบัติในการทำความสะอาดและทำงานเชื้อบริเวณพื้นผิว
10. การทำความสะอาดเสื้อตะกั่ว และส่วนที่ป้องกันธัยรอยด์หลังเสร็จงานในแต่ละวัน ให้ทำความสะอาด ทำงานเชื้อตามแนวทางปฏิบัติสำหรับเครื่องมือประเภท semi-critical items
อ้างอิงโดย
สุภา โรจนวุฒนนท์.คู่มือปฏิบัติการในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม.
กรุงเทพฯ:คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.
สารใน developer ที่ทำให้เกิดการ toxic & skin sensitisation ก็คือ metol (4-(methylamino)phenol sulfate) บริษัทผู้ผลิตจึงมักใช้ Phenidone แทนซึ่งมี toxicity ที่น้อยกว่า
metol เป็นอนุพันธ์ของ phenol ซึ่ง อนุพันธ์ของฟีนอลออกฤทธิ์กับจุลินทรีย์ โดยทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ฉีกขาด โปรตีนของเซลล์แข็งตัวและเปลี่ยนสภาพ เอนไซม์สูญเสียคุณสมบัติ แม้มีฤทธิ์ทำลายเชื้อน้อยกว่า phenol แต่มีความระคายเคืองน้อยกว่าด้วย
http://www.abstractsonline.com/OASISMedia/Default.aspx?CKey=%7B126B55E6-0AEE-48C3-B751-F1B1ADD15740%7D&Mkey=%7B22FDF1E0-BB98-47D9-B084-94213A1B7D4D%7D
เว็บนี้เป็นภาพ x-ray extraoral radiography น่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ จะได้เข้าใจ structure ต่างง่ายขึ้น อาจไม่เกี่ยวกับ infection contral นะคะ ((เรื่อง infection contral เดี๋ยวมาโพสเพิ่มคะ))
hydroquinone [C6H4(OH)2] เป็นองค์ประกอบหลักตัวนึงใน น้ำยาล้างฟิล์ม ซึ่งทำหน้าที่ reduce silver halide ให้กลายเป็น metallic silver
ยังมีการใช้ hydroquinone ใน skin whitening ซึ่ง hydroquinone นี้สามารถทำให้เิกิด dermatitis ได้เช่นเดียวกับ metol และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ด้วย
hydroquinone เป็น อนุพันธ์ของ phenol เช่นเดียวกับ metol จึงน่าจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ใน fixer มักประกอบด้วยสารพวก thiosulfate ions เช่น ammonium thiosulfate, sodium thiosulfate ซึ่งจะทำงานได้ดีในภาวะเป็นกรด และเราใส่กรดลงไปเพื่อ neutralize ความเป็นเบสของ developer
กรดที่ใช้มักเป็นพวก acetic acid, boric acid เป็นต้น ซี่งพวกนี้จัดเป็นกรดอินทรีย์ ละลายไขมันได้ สามารถซึมผ่านเเข้าเซลล์แบคทีเรียทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ขาด
เราจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใส่ถุงมือ ขณะที่ทำการใส่ film holder ให้คนไข้กัด ในการถ่ายภาพรังสีในช่องปาก ในเมื่อ film holder มีถุงพลาสติกคลุมบริเวณที่สำหรับให้คนไข้กัดอยู่แล้ว แล้วเราจับบริเวณที่อยู่ภายนอกช่องปากเท่านั้น
คิดว่าจำเป็นนะ เพราะ ขณะนำ film holder เข้าไปในช่องปาก เราต้องสอดมือเข้าไปด้วย เพื่อจัดฟิล์มให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จึงต้องใส่ถุงมือเพื่อป้องกันการส่งผ่านเชื้อระหว่างหมอและคนไข้
และตอนที่ดึง film holder ออกมาจากปากคนไข้ น้ำลายจะติดถุงพลาสติกมา ซึ่งขณะแกะถุงพลาสติก ก็มีโอกาสที่มือเราจะไปสัมผัสโดนน้ำลายโดยไม่ตั้งใจ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของคนไข้และตัวทันตแพทย์เอง จึงควรใ่ส่ถุงมือป้องกันทุกครั้ง
หากมีผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มาขอเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม เราควรทำการรักษาหรือไม่ ??
ถ้าตอบว่าไม่..........ผมไปอ่านเจอในหนังสือเล่มนึงเรื่องคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย ว่า ทันตแพทย์และทันตบุคลากรทุกคนไม่สามารถปฏิเสธการรักษา โดยให้ถือคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย ข้อ 2 "ผู้่ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบการวิชาีชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ิเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย"
ถ้าตอบว่าจะทำการรักษา..........เราควรปฏิบัติอย่างไร ในเมื่อผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
อนึ่ง ถ้าเราเลือกที่จะปฏิเสธการรักษา ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเราได้หรือไม่ ???
อ่าาา ขอโทดคับ เพลินมากไปเรยหลุดประเด็นเรย -_-" เอาขอบเขตแค่ว่า จะทำการถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอย่างไรก็พอแล้วคับ
การทำงานทันตรังสีวิทยานอกจากจะติดเชื้อทางการสัมผัสแล้ว ยังมีการติดเชื้อทางอากาศได้ด้วย ก็เลยเอาการควบคุมการติดเชื้อทางอากาศมาให้อ่านกัน
หลัก 6 ประการในการควบคุมการติดเชื้อทางอากาศ
1. ป้องกันเชื้อโรคเข้าหรือออกจากห้อง
ป้องกันเชื้อโรคเข้า ด้วยการออกแบบความดันภายในห้องให้สูงกว่าภายนอกห้อง เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าห้อง
ป้องกันเชื้อออกจากหัอง ออกแบบความดันภายในห้องต่ำกว่าภายนอกห้อง โดยความดันแตกต่างคร่อม ผนังไม่ควร ต่ำกว่า 2.5 Pa (0.01 in.wg.) (AIA Guideline, 2001) และควรมีอุปกรณ์แสดงผล ความดันแตกต่างไว้เพื่อตรวจสอบได้ตลอดเวลา
2. การกำจัดเชื้อออกจากอากาศ
อากาศภายนอก เมื่อเติมเข้าไปในระบบต้องผ่านการกรองให้ได้ตามมาตรฐาน
อากาศภายในห้อง หรือเชื้อภายในห้อง ออกแบบให้มีการหมุนเวียนลมปริมาณมาก ๆ ผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพ สูงตามมาตรฐาน
3. การเจือจางเชื้อในอากาศ
การเติมอากาศบริสุทธิ์ (Fresh Air) จากภายนอก (Outdoor Air, OA) เข้ามาผสมกับอากาศภายในห้องโดยต้องผ่านขบวนการ กรองประสิทธิภาพสูงให้ได้ตามมาตรฐาน
4. ควบคุมทิศทางการไหลของอากาศจากที่สะอาดมากไปหาจุดที่สะอาดน้อย
อย่างเช่น ขณะที่แพทย์กำลังตรวจคนไข้ซึ่งมีเชื้อวัณโรค ทิศทางการไหลของอากาศต้องจากแพทย์ไปหาคนไข้ หรือห้องผ่าตัดควรจ่ายลมเข้าสู่เตียงผ่าตัดแล้วดูดออกไปทางด้านล่างของผนังห้อง และถ้าเตียงคนไข้โรคติดต่อควรจ่ายลมที่ปลายเตียงแล้วดูดออกไปทางด้านล่างของผนังห้องหรือด้านหัวเตียง เป็นต้น
5. ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อภายในห้อง
ต้องควบคุมความชื้นภายในห้องไม่ให้เกิน 60%RH และควรเป็นที่ 50%+/-5%RH มิฉะนั้นจุลชีพในอากาศจะเจริญเติบโต และเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว
พื้นที่ผนัง, เพดาน ควรใช้วัสดุผิวเรียบและทำความสะอาดง่าย โคมไปควรใช้แบบฝังมีหน้ากากเรียบ เพื่อไม่ให้มีที่สะสมฝุ่น
6. ฆ่าเชื้อในอากาศ
ใช้แสงอัลตราไวโอเลตฆ่าเชื้อ (UVGI-Ultraviolet Germicidal Irradiation) โดย UVGIสามารถนำมาใช้โดย 2 ลักษณะ คือ ติดตั้งในท่าลมหรือติดตั้งอยู่ส่วนบนของห้อง โดยกันไม่ให้แสง UV ส่องลงมาด้านล่าง
จากการศึกษาของ Riley และ Kaufman 1972 พบว่าเมื่ออากาศมีความชื้นสัมพัทธ์เกิน70% การใช้ UVGI จะได้ผลน้อยมาก และสอดคล้องกับผลการใช้ UVGI ในประเทศแถบร้อนชื้นทั่วโลก
ถึงแม้ UVGI สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่ควรใช้เป็นมาตรการเสริมกับมาตรการอื่นเท่านั้น เช่น ไม่ควรใช้ทดแทนแผงกรองอากาศ HEPA [CDC,1994 Guidelinefor Preventing the Transmission of Mycobacterium tuberculosis in Health-Care Facilities]
อ้างอิงโดย
http://www.dr-analyst.com/viewpage.php?page_id=4
มีการศึกษาพบว่า glutaraldehyde ซึ่งเป็น hardeners ในdeveloperเป็นตัวกระตุ้นอย่างแรง (potent sensitizer) อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนัง และโรคระบบทางเดินหายใจได้
มีรายงานผู้ป่วยโรคผิวหนัง allergic contact dermatitis พบลักษณะเป็น lichenoid dermatitis นอกจากนี้พบอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ อาจทำ ให้เกิดโรคหอบหืดในบุคลากรที่ทำ งานเกี่ยวกับนํ้ายางล้างฟิล์มได้ และมีรายงานว่า hydroquinone ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ใน developing agent ทำให้เกิด pigmentation ของตา เกิดพิษต่อไขกระดูก (myelotoxicity) เกิดก้อนเนื้องอกของตับ คือ adenoma ในหนู (mouse) และเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว mononuclear cell leukemia ในหนู (rat) ได้
อ้างอิงจาก
http://www.xraythai.com/webboard/index.php?action=vthread&forum=1&topic=1988
ใครมีวิธี กำจัด คราบ fixer ออกจากเสื้อผ้าบ้างครับ
........................................
การควบคุมป้องกัน ในการใช้ประโยชน์จากน้ำยาล้างฟิลม์
1. หลีกเลี่ยงการสูดดม การสัมผัส ป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าตา
2. ควรใช้ในบริเวณที่มีการระบายอากาศดี
3. สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น แว่นตา หน้ากาก ถุงมือ ขณะ
4. สัมผัสสารล้างมือทันทีหลังเสร็จงาน
5. เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทห่างสารไวไฟ สารไวปฏิกิริยา
6. สาร Developer มีฤทธิ์เป็นด่างอาจส่งผลต่อค่า BOD ในระบบบำบัดน้ำเสีย ควรบำบัดก่อนระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเจือจางมาก ๆ
7. ของเหลือใช้จากกรด Acetic กำจัดเป็นขยะอันตราย
........................................
film holder ฆ่าเชื้อหลังการใช้งานโดยการนำไปนึ่งที่ autocave วิธีเดียวหรือคะ!
film holder ฆ่าเชื้อหลังการใช้งานโดยการนำไปนึ่งที่ autocave วิธีเดียวหรือคะ!
ทราบหรือไม่ว่า..ต่างประเทศเค้าใช้"plastic"หุ้มฟิลม์(intra oral) ก่อนจะใส่เข้าปากคนไข้..เพื่อ infection control
ซึ่ง plastic นี้ราคาแพงมากเลย
แต่ !!!!!!
ท่านอาจารย์อนงค์นาฏ เป็นผู้ริเริ่มใช้"ถุงพลาสติกที่ใส่น้ำจิ้ม" นำมาประยุกต์ใช้แทน
ต่อมา พบว่ามี ครีบด้านท้ายของถุงพลาสติก ซึ่งจะไปแทงเหงือกคนไข้ ทำให้คนไข้รำคาญ
สุดท้าย มีนิสิต ทันตแพทย์ หัวใส..ลองกลับด้านถุงพลาสติก เอาครีบเก็บเข้าด้านใน
คนไข้ก้อ สบายเหงือก ไม่ถูกทิ่มแทงให้รำคาญอีกต่อไป
จบ..
ปล. ขอมาเป็น pack คู่นะค่ะ ใช้คอมเครื่องเดียวกันค่ะ ลดภาวะโลกร้อน
ทราบว่า การควบคุมการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสี ได้นำหลักการของ
universal precaution มาใช้
อยากทราบว่า universal precaution มีหลักการยังไงบ้างคะ
ถ้าอยากรู้ แนวทางเวชปฏิบัติ ..การควบคุมและกำกับเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรม เข้าไปดูในเวปที่ให้มาได้นะ
ข้างในมันจะบอกวิธีการป้องกันตัวของทันตบุคลากรไม่ไห้มีการติดเชื้อทางทันตกรรม,การป้องกันการติดเชื้อขณะให้บริการ รวมถึง วีธีการถ่ายภาพรังสีเพื่อไม่ไห้มีการติดเชื้อด้วย...ลองเข้าไปดูละกันนะ
http://203.157.32.19/dmskm/Documents/Books/0200119/%A1%D2%C3%A4%C7%BA%A4%D8%C1%B5%D4%B4%E0%AA%D7%E9%CD%B7%D2%A7%B7%D1%B9%B5%A1%C3%C3%C1.pdf
หลังจากที่บอกที่มาของ"ถุงพลาสติก"แล้วเมื่อความคิดเห็นที่แล้ว
วันนี้เรามี ระดับการระวังการติดเชื้อ มาฝาก..ว่าอุปกรณ์ไหนที่ต้องระวังมาก อันไหนระวังน้อย
จะแบ่งออกเป็น 3 พวก
1.semicritical เช่น พวก film-holding,panoramic blocks , digital sensor
ใช้วิธี "sterilize หรือ disposable devices"
2.noncritical เช่น x-ray tube head และ PID , x-ray tube head support arm and yoke , exposure control , exposure botton , lead apron and thyroid collar , extraoral radiographic head positioner guides
ใช้วิธี "clean and disinfection with an intermediate-level disinfectant"
3.clinical contact surface เช่น counter top in operatory , counter top in darkroom
ใช้วิธี "clean and diainfactant with an intermediate or low-level disinfectant"
อ้างอิงจาก
Essential of dental radiography for dental assistant and hygienists
Orlen N.Johnson
Evelyn M.Thomson
"น้ำยาล้างฟิล์มฆ่าเชื้อโรคจากฟิล์มที่ถ่ายจากคนไข้ได้หรือไม่ เพราะมันมีความเป็นพิษ ตามทฤษฏ๊ที่เรียน" ใครมีความเห็นว่าไงบ้างครับ?
--->> คิดว่าอาจจะฆ่าเชื้อโรคได้บ้าง แต่ไม่ถึงขั้น sterlize ค่ะ เพราะเชื้อโรคแต่ละสายพันธุ์มีความแข็งแรง มีโครงสร้างต่างกัน บางสายพันธุ์เจอแค่น้ำยาล้างฟิล์มเชื้อก็ตายแล้ว แต่บางสายพันธุ์สามารถทนความเป็นพิษของน้ำยาล้างฟิล์มได้ก็ได้ค่ะ
ทราบว่า การควบคุมการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสี ได้นำหลักการของ
universal precaution มาใช้
อยากทราบว่า universal precaution มีหลักการยังไงบ้างคะ ??
----> หลักการป้องกันแบบ universal precaution มีอยู่ว่า.....ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเมื่อออกจากห้องผู้ป่วย โดยไม่จำเป็นว่าผู้ป่วยนั้นจะต้องเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ (ที่เหลือแบ่งๆกันตอบนะคะ)
เป็นการแสดงออกทางความคิดร่วมกันอย่างดีทีเดียวนะครับ ต้องขอชื่นชมน้อง ๆ ที่ได้ไปค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ มามากมาย คนที่ยังไม่ได้ตอบก็รีบๆ หาเข้านะครับ ข้อมูลที่ช่วยกันหามานี้จะเป็นประโยชน์มากเวลาขึ้นคลินิก จริง ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริง ข้อมูลเหล่านี้จะเป็น ฐานข้อมูลให้เรามาค้นคว้าร่วมกันได้เลย ใครมีไอเดีย หรือคำถามอะไร เชิญฝากไว้ได้เลยนะครับ
ต่อ ๆ ....
หลักการป้องกันแบบ Universal precaution ได้แก่
สวมถุงมือทุกครั้งเมื่อจะกระทำการใด ๆ ที่อาจจะมีโอกาสสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยได้
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมือเป็นแผลหรือถลอก) เช่น เมื่อจะเจาะเลือด ผ่าฝีหนอง ผ่าตัดใหญ่
หรือผ่าตัดเล็กน้อยก็ตาม และควรล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนใส่ถุงมือและหลังถอดถุงมือออก
ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากถุงมืออาจมีรอยรั่วที่มองไม่เห็นได้
เอาไปทีละข้อก่อนนะ
เดวเพื่อน ๆ จะได้มีเรื่องมาให้ตอบบ้าง
Infection control in dental radiographic procedures นั้น ทุกครั้งที่ปฎิบัติการหรือ expose ต่อคนไข้จำเป็นที่จะต้องใส่ถุงมือ นอกจากนั้นแล้วยังจำเป็นต้องใส่ แว่นตา หน้ากาก ผ้า หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เครื่องมือหรือบริเวณที่ปฏิบัติการถ่ายภาพทันตรังสีนั้น แต่ละชิ้นจะต้องปลอดเชื้อ หรือ มีสิ่งห่อหุ้มในขณะใช้งานและwaste product จะต้องทิ้งลงในถังที่markว่า biohazard และเครื่องมือที่ผ่านการใช้งานแล้วจะต้องนำไป sterilized
reference......Dentomaxillofacial Radiology
......E. T. Parks and A. G. Farman
Department of Allied Health
Western Kentucky University.
ข้อมูลจาก ทันตแพทยสมาคมรัฐ Massachusetts กล่าวว่า การได้รับรังสี เนื่องจากต้องถ่ายภาพรังสีรอบปลายราก จำนวน 1 ฟิล์ม ไม่ได้มากไปกว่าชีวิตประจำวันมนุษย์ที่ได้รับรังสีตามธรรมชาติรอบๆ ตัว
อาจเปรียบเทียบ พฤติกรรม ในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อย คือ
ถ่ายภาพรังสีรอบปลายรากฟัน จำนวน 33 ฟิล์ม ในวันเดียว ด้วยเครื่องที่ทันสมัย สมบูรณ์แบบ จะมีอันตรายเท่ากับหรือใกล้เคียงกับ
สูบบุหรี่ จำนวน 1.4 มวน
อยู่ในเหมืองถ่าน 1 ชั่วโมง
อาศัยในนครนิวยอร์ก 2 วัน จากมลภาวะเป็นพิษ
เดินทางด้วยรถยนต์ ระยะทาง 300 ไมล์ และอาจได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุ
เท่ากับ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก 1 ภาพ ใน รพ.ที่ดีที่สุด
ทราบว่า การควบคุมการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสี ได้นำหลักการของ
universal precaution มาใช้
อยากทราบว่า universal precaution มีหลักการยังไงบ้างคะ ??
(ต่อ)
- ห้ามให้ปากดูดหรือเป่าในการกระทำงานใด ๆ กับตัวผู้ป่วยเอง หรือกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยก็ตาม
หรือแม้แต่กับเครื่องมือที่มีเลือด น้ำเหลืองของผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่ เช่น ห้ามทำ mouth to mouth resuscitation
กับผู้ป่วยที่ไม่ทราบประวัติแน่นอน ห้ามใช้ปากดูด pipette ในการตรวจเลือด ห้ามใช้ปากดูดพิษจากบาดแผล เป็นต้น
- ทำความสะอาดสถานที่และบริเวณที่ปนเปื้อนเลือด หรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยทันทีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น 0.5 %
Sodium sypochlorite หรือ 70 % Alcohol
อยากทราบว่า universal precaution มีหลักการยังไงบ้างคะ ??
ต่อ
-สวมเสื้อคลุมหรือผ้ากันเปื้อนทุกครั้ง ในกร๊ที่คาดว่าอาจจะมีการกระเด็นของเลือด หรือน้ำเหลือง
ในการกระทำงานบางอย่างโดยเฉพาะพวกที่ต้องมีการดูด ดันหรือพ่นกระจาย ของเลือดหรือน้ำเหลือง
ดังกล่าว เช่น การผ่าตัดใหญ่ การทำคลอด การเจาะปอด การเจาะตับ เป็นต้น
-สวมแว่น (goggle) และผ้าปิดจมูกป้องกันในกรณีที่อาจจะมีการกระเด็นของเลือด หรือน้ำเหลืองเข้าตา เช่น
การทำผ่าตัดใหญ่ การทำฟันที่มีการกรอ หรือพ่น การตัดกระดูกด้วยเลื่อยไฟฟ้า เป็นต้น
ตัว CCDs ที่ใช้ถ่ายในแบบdigital มีวิธีการควบคุมการติดเชื้ออย่างไร
ตอบน้องตู่ที่ถามเกี่ยวกับวิธีกำจัดรอยเปื้อนจากfixerนะค่ะ ไปหามาเค้าบอกว่าให้ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนแต้มที่รอยเปื้อน แล้วใช้สำลีชุบ fixerที่ผสมใหม่ๆมาแต้มที่รอยเปื้อนซ้ำลงไปอีกครั้ง รอยเปื้อนก็จะหายแว้บไปเหมือนได้เสื้อใหม่ มีคนเค้าบอกว่าใช้แล้วได้ผล คิดว่าจะลองมาทำดูเหมือนกันคะ ไม่มีอะไรจะเสียแล้วนี่นา T.T
คห. 38 อ้างอิงจากhttp://www.xraythai.com/webboard/index.php?action=vthread&forum=10&topic=484
ฟิล์ม x-ray และนํ้ายาล้างฟิล์มที่ใช้แล้ว พวก developer , fixer มีวิธีการกำจัดของเสียอย่างไรค่ะ
เอาหลักๆ เลยนะครับเด้อก็จะมีดังนี้
1. ฟิล์มเอ็กซเรย์ใช้แล้ว ทางโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะขายฟิล์มให้แก่ผู้รับซื้อ โดยบางโรงพยาบาลจะมีข้อมูลผู้รับซื้อ แต่ไม่ทราบว่าผู้รับซื้อนำไปจัดการอย่างไร หรือ บางโรงพยาบาลไม่มีข้อมูลผู้รับซื้อ โดยจะได้โลหะหนักต่างๆ ออกมา เช่น ตะกั่ว เงิน
2. น้ำยา Fixer ก็เช่นเดียวกับ film จะมีผู้มารับซื้อและรับกำจัดต่อไป
ผู้รับซื้อ/ผู้ขนส่งของเสีย ขึ้นทะเบียน กระทรวงพาณิชย์
ผู้รับกำจัดของเสีย ขอใบอนุญาต กระทรวงอุตสาหกรรม
3. น้ำยา Developer/น้ำล้างฟิล์ม จะกำจัดผ่านระบบน้ำเสียของโรงพยาบาล
ปล. อยากรู้ต่อนะเด้อ ไอ้เราก็ไม่เข้าใจ
1. ทำไมไอ้ Fixer กับ Developer มันถึงกำจัดคนละวิธีกัน ท่านผู้รู้ช่วยบอกที
2. แล้วถ้าเป็น clinic ธรรมดาละ เขากำจัดสิ่งเหล่านี้กันอย่างไร
อยากรู้อีกๆ แล้วเขากำจัดหรือแยกเอาโลหะกันออกมายังไงละ แบบว่าสงสัยนะครับ
แล้วโลหะในส่วนนั้นมีความสะอาดพอที่จะนำไปทำงานอะไรได้บ้าง
ใครที่กลัวโรคเอดส์
AIDS เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากจริงๆ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์นั้นมี Universal precaution เป็นตัวหลักอยู่แล้วในการป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี จากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจริงๆแล้วบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีโอกาสติดเชื้อ เอช ไอ วี น้อย (ถ้าปฏิบัติตามหลักการ Universal precaution ) อย่างจริงจัง สำหรับการติดเชื้อทางสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งนั้นมีโอกาสติด เชื้อ ไวรัสตับอักเสบชนิด บี มากกว่า ติดเชื้อ เอช ไอ วี มาก
ฉะนั้นก็ควรปฎิบัติตามหลัก Universal precaution ตามที่เพื่อน ๆ โพสกันด้วยเน้อ
อยากรู้จิงจิง
ข้อ 1 ถ้าคนที่โดนรังสีจนทำให้ functionของต่อมน้ำลาย เสียไป จะมีทางแก้ไขไหม??
เพราะเท่าที่รู้มาวิธีแก้คือจะให้น้ำลายเทียมคนไข้ ก็ต้องให้ไปตลอดชีวิตเลยหรอ >>สงสารคนไข้ง่ะ ....*_*
ข้อ 2 ถ้าคนที่โดน expose รังสีแบบเต็มๆ เพียงหนึ่งครั้ง จะทำให้คนนั้นเป็นหมัน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปเลยได้หรือไม่ อิอิ..
ปอลอ .. รอฟังคำตอบอยู่ค่ะ
expose รังสี ครั้งเดียว คงไม่เป็นหมันมั้ง ไม่งั้น คงไม่มีใครกล้าถ่ายภาพ x-ray เวลาทำฟัน หรือตรวจสุขภาพละหล่ะ -_-"
แต่สงสัยว่า เป็นหมันนี่ เพราะรังสีมันไปทำอะไรอ่ะ ทำไมถึงเป็น จะคล้ายๆ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากคอม ที่ทำลาย chromosome-y ทำให้ลูกที่เกิดมาเป็นหญิงมากกว่าชาย (อันนี้ม่ายชัวร์)
ตอบคำถาพัชราพร เราเข้าไปอ่านใน web นี้อ่ะ
http://cat.inist.fr/aModele=afficheN&cpsidt=2164998
เค้าพูดประมาณว่า ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการรักษาที่ดีพอ แต่เค้าพบว่ามีสารตัวนึงที่ช่วยป้องกันการ injery ที่การจากการ expose รังสี (เค้าคิดว่าที่ต่อมน้ำลายถูกทำลายเนี่ยเกิดจาก อนุมูลอิสระ(free radical)ของ metal ion ไปทำลาย cell ในต่อมน้ำลาย) คือสาร Zinc-desferrioxamine (Zn-DFO) เค้าทดลองให้หนูกินก่อน expose รังสี 30 นาที แล้วพบว่ามันสามารถลดการ damage ได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลไกเราลองหาแล้วไม่เจอ หรือใครมีข้อมูลเพิ่มเติมก็บอกด้วยละกัน อยากรู้เหมือนกันค่ะ
Preexposure protocol (แปลจาก First aid for the NBDE partI)
- ทันตแพทย์ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน HBV ให้แก่ผู้ช่วย โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
- ถ้าผู้ช่วยปฏิเสธ ก็ต้องให้เขียนรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร
- แต่ถ้าผู้ช่วยต้องการกลับมารับวัคซีนใหม่อีกครั้ง ทันตแพทย์ต้องยินยิมให้ฉีดวัคซีนได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เผื่อว่าเพื่อนๆ จะนำไปใช้ตอนเปิดคลินิคนะคะ (ถ้าเรียนจบ T3T)
ตอบคำถามพัชราพร คห.44
อันตรายจากรังสีมีอะไรบ้าง
ตอบคำถามพัชราพร คห.44
อันตรายจากรังสีมีอะไรบ้าง
ผลของรังสีที่มีต่อร่างกายแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. ผลที่เกิดกับร่างกาย (Somatic effect) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการรับรังสี นั้นเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง และปริมาณรังสีมากน้อยแค่ไหน ผลของการรับรังสีแบบเฉียบพลันซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุให้ได้ รับรังสีปริมาณมากทันที ถ้ามากกว่า 50 Rems ขึ้นไป จะมีอาการป่วยเนื่องจากรังสี ถ้ามากกว่า 400 Rems อาจทำให้ตายได้ ส่วนการ รับรังสีเรื้อรังในปริมาณต่ำ ๆ เกิดกับผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับรังสีโดยตรง อาจมีผลทำให้อายุเฉลี่ยสั้นกว่าปกติ เป็นมะเร็ง ต้อกระจก เป็นต้น
2. ผลที่เกิดขึ้นทางพันธุกรรม (Genetic effect) หมายถึงผลที่เกิดขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์ อาจทำให้เป็นหมัน หรือเกิดการแตกเหล่า (Mutation) ซึ่งมีผลกระทบถึงรุ่นลูกหลานได้
Ref : http://www.xraythai.com/drsirilak.html
*post แล้วแต่ลืมใส่ชื่อค่ะ คห.48
ระดับรังสีที่ถือว่าปลอดภัย
คำว่า "ปลอดภัย" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้น เนื่องจากรังสีนั้นไม่ปรากฎออกมาให้เห็นและตรวจพบได้ การกำหนดค่าปริมาณสูงสุดที่ ยอมให้มนุษย์รับได้โดยถือว่าปลอดภัย ได้รับการพิจารณาจากนักวิทยาศาสตร์และแพทย์มานานแล้ว โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือสถาบันขึ้นทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เรียกว่า คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องรังสีระหว่างประเทศ (ICRP = International Commission on Radiological Protection) ได้กำหนดค่าปริมาณรังสีสูงสุดที่ยอมให้รับได้ เรียกว่าค่า MPD (MPD = Maximum Permissible dose) ขึ้นมาโดยมีความหมายในแง่ที่ว่าการทำงานกับ รังสี ถ้าได้รับรังสีต่ำกว่าค่า MPD ถือว่าปลอดภัย ค่า MPD ที่กำหนดให้สำหรับอวัยวะ ต่าง ๆ ดังนี้
อวัยวะ (organ) MPD rem/ปี
- อวัยวะสืบพันธุ์, เลนซ์ตา, ไขกระดูก 5
- มือ แขน ขา 75
- ผิวหนัง, ไทรอยด์ 30
- อวัยวะอื่น ๆ 15
ค่า MPD ของ organ ต่าง ๆ และ ICRP ได้กำหนดปริมาณรังสีสำหรับบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
Ref : http://www.xraythai.com/
สำหรับบุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับรังสีไม่ควรเกิน 5 R/ปี หรือ 0.1 R/สัปดาห์
สำหรับบุคคลทั่วไปไม่ควรเกิน 0.5 R/ปี หรือ 0.01 R/สัปดาห์
สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรเกิน 0.5 R ในระหว่างตั้งครรภ์
ในกรณีบุคคลที่ทำงานด้านรังสีได้รับรังสีเกิน 5 rems ในปีหนึ่งแล้วในปีถัดไปจะต้องให้ได้รับรังสีน้อยลง แต่ปริมาณรังสีที่สะสมในช่วงอายุ ขณะนั้นต้อง ไม่เกินตามสูตร 5 (N-18) โดย N เป็นอายุของบุคคลที่ได้รับรังสี เช่น บุคคลที่อายุ 30 ปี รังสีสะสมที่ในช่วงขณะนั้นจะได้ 5(30-18) = 60 rems
ตอบคำถามณัฐพงษ์
การเป็นหมัน : คือการที่ร่างกายได้รับรังสีในปริมาณมากในอวัยวะสืบพันธ์ในเพศชายพบว่า เมื่ออัณฑะได้รับรังสีเฉพาะที่ขนาด 30 แรด ทำให้ตัวอสุจิลดลงเป็นหมันชั่วคราว (Functional Sterility) ขนาด 250 แรด ครั้งเดียว จะทำให้ไม่มีตัวอสุจิ (Aspermia) ชั่วคราวประมาณ 1 ปี ขนาด 400-600 แรด ครั้งเดียวจะทำให้เป็นหมันถาวรแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสรรถภาพและความรู้สึกทางเพศแต่อย่างไร เพราะ Hormone เพศชายยังปกติ
scannerที่ใช้กับ indirect digital image สามมารถเกิดcross contaminated ได้รึไม่ ถ้าเกิดได้ควรทำอย่างไร
แนวทางการปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อในงานทันตรังสีวิทยามีอะไรบ้าง?
ตอบคำถามฐิติมา
1. เตรียมชนิดและจำนนฟิล์มให้ถูกต้องและพอดี
2. ใส่ถุงมือในการปฎบัติการผู้ป่วย
3. หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ปนเปื้อนสัมผัสเครื่องเอ็กเรย์ กระบอกรังสี เก้าอี้ ใบส่งถ่ายภาพรังสื เสื้อตะกั้ว โต๊ะทำงาน อื่นๆ
ยังมีอีก แต่เหลือให้เพื่อนๆ มาตอบบ้างแล้วกันนะ
อยากทราบว่า "ขยะทางด้านทันตหรรม เช่น น้ำยา Fixer, Developer, หรือแม้กระทั่งถุงมือ มีวิธีในการแยกชนิดและกำจัดอย่างไร"
ตอบคำถามฐิติมา
นอกจากที่ศรีนภาตอบ เราไมปหามาเพิ่ม ก็มี
4. ฟิมล์ที่ถ่ายแล้วให้เช็ดน้ำลายที่ติดมากับฟิล์ม แล้ววางไว้บนกระดาษรองที่จะนำไปส่งล้างฟิล์มเท่านั้น
5. เมื่อถ่ายภารังสีในช่องปากเสร็จเรียบร้อย ให้ล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ แล้วจึงส่งฟิล์มไปล้าง โดยไม่จับฟิล์มอีก
6. การล้างฟิล์ม ให้ใช้เทคนิคการแกะฟิล์แบบไม่ปนเปื้อน แล้ววางฟิล์มที่ล้างเสร็จแล้วบนกระดาษารองฟิล์มก่อนที่จะนำออกจากห้องมืด
3 ข้อ พอแล้ว เหลือให้เพื่อนๆ ตอบต่อต่อแล้วกัน
พอดีว่าเจอ PPT
เรื่อง Guidelines for Infection Control in Dental Health-Care Settings—2003.
--> ดีมากเลย มีหลายๆ เรื่องที่เราควรรู้เกี่ยวกับ Infection Control
หัวข้อหลักๆ ก็อย่างเช่น
1. Personnal Health Elements
2. Bloodborne Pathogens
3. Exposure Prevention Strategies
4. Hand Hygiene
5. Personal Protective Equipment
6. Latex Hypersensitivity and Contact Dermatitis
7. Sterilization and Disinfection of Patient Care Items
8. Environmental Infection Control
9. Dental Unit Waterlines, Biofilm, and Water Quality
10.Special Considerations
11.Program Evaluation
--> มีประมาณ 108 slides แหละสนใจก็แวะเข้าไปดูนะ
ของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
จากเวปไซต์http://www.cdc.gov/OralHealth/infectioncontrol/guidelines/ppt.htm.
ตอบคำถามฐิติมา
ตอต่อจาก วันวิสาข์
7. ในกรณีที่ใช้Film Holder เมื่อถ่าผู้ป่วยเสร็จและตรวจสอบฟิล์มเรียบร้อยแล้วนำFilm Holderไปทำความสะอาด ทำลายเชื้อตามแนวทางปฎบัติสำหรับเครื่องมือประเภท semi - critical items
8. เครื่องเอ็กเรย์ Intra Oral ให้เช็ดทำความสะอาดบริเวณกระบอกรังสี ปุ่มปรับต่างๆ ตามแนวทางปฎบัติในการทำความสะอาดและทำลายเชื้อบริเวณพื้นผืวหลังเสร็จงาน
9. เครื่อง Panoramic ให้หุ้มบริเวณ Bite block ด้วยพลาสติกใส และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง สำหรับผู้ป่วยรายต่อไป ทำความสะอาด Head rest, Chin rest ตามแนงทางปฎิบัติในการทำความสะอาดและทำลายเชื้อบริเวณพื้นเผิว
10. การทำความสะอากเสื้อตะกั่วและส่วนที่ป้องกันไทรอยด์หลังเสร็จงานในแต่ละวันให้ทำความสะอาด ทำลายเชื้อตามแนวทางปฎบัติสำหรับเครื่องมือประเภท semi - critical items
ที่มา: คู่มือปฎิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ม. มหิดล
การควบคุมการติดเชื้อในการถ่ายภาพรังสี (intra oral)
ก่อนการถ่ายภาพรังสี
1.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ และ sterilize อุปกรณ์
2.ปกคลุมพื้นผิวที่ต้องมีการสัมผัส
3.ใส่เสื้อคลุมป้องกันรังสีให้คนไข้
4.ล้างมือ เช็ดมือให้แห้ง และใส่ถุงมือ
ขณะถ่ายภาพรังสี
5.ใส่ถุงมือในขณะถ่ายภาพรังสี และในขณะจับฟิล์ม
6.ใส่อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ เช่น mask , แว่นตา , เสื้อกาวน์ ถ้าคาดว่าจะมีการเปรอะเปื้อน
7.สัมผัสพื้นผิวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
8.หลังจากถ่ายภาพรังสีเสร็จ (ยังใส่ถุงมืออยู่)ใช้ผ้ากอซหรือผ้าสะอาดเช็ดฟิล์มให้แห้ง
หลังจากถ่ายเสร็จ
9.แกะฟิล์มออกโดยระมัดระวังอย่าสัมผัสกับ surface ของ ฟิล์ม ให้ฟิล์มหล่นลงบนกระดาษหรือภาชนะที่สะอาด
10.ทิ้งวัสดุที่ contaminated
11.พลาสติกที่หุ้มไว้ออกแล้วนำไปทิ้ง
12.ถอดถุงมือและล้างมือ
แปลจาก http://www.aadmrt.com/currents/palenik_fall_04_print.htm
จากข้อ 4.ของวัชรพล
ทำไมต้องล้างมือในเมื่อใส่ถุงมืออ่ะ (ถามเล่นๆ แต่ก็อยากรู้นะ)
ตอบคำถามของวนิตา
เราคิดว่าถุงมือมันอาจจะรั่วหรือชำรุดได้
ถ้าเราล้างมือให้สะอาดก่อนใส่ถุงมือ
ก็จะได้ช่วยลดความเสี่ยงให้การแพร่กระจายเชื้อได้นะ
อิอิ
จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องทำความสะอาดพื้นผิวหรือเครื่องมือที่สัมผัสกับผิวหนัง แต่ไม่สัมผัสกับเยื่อเมือก เช่น เสื้อตะกั่ว เก้าอี้นั่ง เครื่องควบคุมการทำงานของเครื่องx-ray พื้นผิวห้องปฏิบัติการ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้ป่วย
มีวิธีล้างมือที่ถูกวิธีมาฝาก มี 7 ขั้นตอนลองทำดูกันนะ
1.ฝ่ามือถูกัน 2.ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้ว 3.ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว 4.หลังนิ้วถูฝ่ามือ5.ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอยด้วยฝ่ามือ6.ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ7.ถูรอบข้อมือ
อ้างอิงจากhttp://th.88db.com/th/Discussion/Discussion_reply.page?DiscID=361
อยากทราบว่า Air space มักเกิดบริเวณไหนบ้าง เพราะอะไรต้องเกิดบริเวณนั้น
ทำไมภาพ x-ray Ghost image จึงบดบัง(obscure)ทุกอย่างได้???
ในกรณีที่นิสิตทันตแพทย์เมื่อขึ้นไปทำคลินิคแล้ว แต่ว่านิสิตยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง(เช่น วัคซีนHBV) อยากทราบว่านิสิตคนนั้นมีความเสี่ยงมากแค่ไหนที่จะติดโรคจากผู้ป่วย และเคยมีกรณีตัวอย่างหรือไม่ในคณะทันตแพทย์ทั่วประเทศ และจำเป็นหรือไม่ที่นิสิตทันตแพทย์ต้องฉีดวัคซีนทุกคนก่อนขึ้นคลินิค???
ในกรณีที่นิสิตทันตแพทย์เมื่อขึ้นไปทำคลินิคแล้ว แต่ว่านิสิตยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง(เช่น วัคซีนHBV) อยากทราบว่านิสิตคนนั้นมีความเสี่ยงมากแค่ไหนที่จะติดโรคจากผู้ป่วย และเคยมีกรณีตัวอย่างหรือไม่ในคณะทันตแพทย์ทั่วประเทศ และจำเป็นหรือไม่ที่นิสิตทันตแพทย์ต้องฉีดวัคซีนทุกคนก่อนขึ้นคลินิค???
ประเภทของเครื่องมือ
1.Critical items เป็นเครื่องมือที่จะต้องปลอดเชื้ออย่างยิ่ง ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ผ่านชั้นใต้ผิวหนัง หรือเยื่อเมือก เป็นเครื่องมือที่สัมผัสถูกเลือดหนอง ได้แก่ เข็มฉีดยา เครื่องมือผ่าตัดทุกชนิด ต้องทำลายเชื้อแบบ sterilization
2.Semicritical items เป็นเครื่องมือที่ปลอดเชื้อปานกลาง ได้แก่เครื่องมือที่สัมผัสโดนเยื่อเมือก เช่นเครื่องมืออุดฟัน ถาดพิมพ์ปาก เครื่องมือประเภทนี้ต้องทำให้ปลอดเชื้อทุกชนิด อาจยกเว้นสปอร์ของ bacteria ได้
3.Non-critical items เป็นเครื่องมือที่ต้องลดปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ไม่สัมผัสถูกเยื่อเมือก อาจสัมผัสเฉพาะผิวหนัง เข่น เก้าอี้
ซึ่งเครื่องมือทาง dental X-ray จะอยู่ในประเภทที่ 2 และ 3
อ้างอิงจาก คู่มือปฎิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรมคณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอบคำถามปวีณา มะโนปิง
หากทำการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนผู้ป่วยได้ก็เป็นผลดี
เพราะจะช่วยลดอัตราเสี่ยงเกี่ยวกับโรคติดต่อของผู้ฉายภาพรังสีและคนผู้ป่วยรายอื่น
ตอบคำถามของอมร...
เราคิดว่าจำเป็นนะที่จะต้องฉีดวัคซีนสำหรับคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเนื่องจาก....
ไวรัสตับอักเสบบีมีอยู่เป็นจำนวนมากในเลือดผู้ป่วย ประมาณ 105-107 virions/มล. ของเลือด ดังนั้นเลือดของผู้ป่วยเพียงเล็กน้อยเช่น ประมาณ 1 x 10-8 มล. ของเลือดผู้ป่วย ที่ถ่ายทอดทางเลือดเข้าสู่ผู้อื่นก็ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ประกอบกับไวรัสชนิดนี้ทนและไม่ถูกทำลายโดยความแห้งและสารเคมีฆ่าบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ ฟีนอล และสาร quaternary ammonium compounds อีกทั้งอาชีพเราอยู่ในกลุ่มความเสี่ยง เพราะเราต้องสัมผัสกับเลือดและน้ำลายของผู้ป่วย ซึ่งถ้าเราไม่ฉีด วันใดวันหนึ่งโชคไม่เข้าข้าง ติดเชื้อขึ้นมาพระเจ้าก็ช่วยไม่ได้..*-*
ที่สำคัญเลยเราควรทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์ และทันตวัสดุต่างๆปราศจากเชื้อ และสะอาดอยู่ตลอดเวลา โดยเราต้องทำลายเชื้อตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. การอบไอน้ำภายใต้ความดัน (steam autoclave)
2. การอบก๊าซ ethylene oxide
3. การอบความร้อน ( dry heat oven)
4. Glutaradehyde
5. Formaldehyde
6. Iodophor
7. Hypochlorrite
ถ้าผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีโรคที่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดหรือถอนฟัน เราจะให้บริการทางทันตกรรมเหมือนหรืิอแตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป อย่างไร
วันนี้ เอาแนวทางปฏิบัติในการทำความสะอาดและทำลายเชื้อบริเวณพื้นผิว surface disinfection มาฝากกัน ^^
หลังการปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวล ควรทำความสะอาดและทำลายเชื้อบริเวณพื้นผิว, unit ทันตกรรม, เครื่องขูดหินปูน โดยการเช็ดด้วยน้ำยาทำลายเชื้อบริเวณพื้นผิว ซึ่งได้แก่
1. iodophor
2.สารประกอบคลอรีน เช่น sodium hypochlorite 0.5 %
3.สารประกอบ phenol สังเคราะห์
อาจใช้วัสดุปกคลุมชนิดใช้แล้วทิ้ง (disposable covering) เช่น พลาสติกบางใสหรือแผ่นอะลูมิเนียมฟรอยด์ หุ้มในบางตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมกับการใช้น้ำยาเคมี ได้แก่ ปุ่มเปิดปิดไฟ, ด้ามจับโคมไฟ, ด้ามจับถาดวางเครื่องมือ, เครือ่ง x-ray เป็นต้น
และเมื่อเสร็จงานในแต่ละวันให้ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวที่ถูกหุ้มอีกครั้ง
อ้างอิง : คู่มือปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2547
ตอบคำถามณัฐพงษ์ ว่า ถ้ามีผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มาทำการรักษา ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ตอบ : ขอนำเสนอการบำบัดรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
แนวทางปฏิบัติ
1. ให้นัดผู้ป่วยเป็นคนสุดท้ายและเจ้าหน้าที่ที่นัดควรแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า
2. ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์สวมเสื้อกราวน์และ mask แบบพิเศษ, สวมแว่นตาหรือ face shield และสวมหมวกซึ่งทางคลินิกได้จัดเตรียมให้ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้ง ยกเว้น แว่นตาและ face shield ทางคลินิกจะทำควารสะอาดและฆ่าเชื้อให้
3. ยึดหลัก standard precaution อย่างเคร่งครัด
4. ให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วย chlorhexidine 0.2 % ก่อนให้การรักษาทุกครั้ง
5. ใส่ rubber dam เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
6. ใช้ high power suction หรือ high volume suction
7. ถ้าจะต้องขูดหินปูน ควรขูดด้วยมือ
8. ทา providone iodine 10% หรือสารละลาย talbot บริเวณเหงือกก่อนให้การรักษาทางปริทันต์ทุกครั้ง
ที่มา : รศ. ทพญ. อารยา พงษ์หาญยุทธ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2547
ตอบคำถามของ อัจฉรา
ถ้าผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีโรคที่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัดหรือถอนฟัน เราจะให้บริการทางทันตกรรมเหมือนหรืิอแตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป อย่างไร ???
ผู้ป่วยติดเชื้อ ถ้ามีโรคที่จำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด เทคนิคการผ่าตัดหรือการให้บริการทางทันตกรรมส่วนใหญ่เหมือนกับการให้บริการผู้ป่วย
ทั่วไปคือ
1. บริการด้วยกรรมวิธีที่ปลอดเชื้อ (aseptic tecnique)
2. ระมัดระวังการแพร่กระจายของเชื้อ HIV และอุบัติเหตุในการทำหัตถการ
3. บุคลากรควรมีความพร้อมและรับทราบปัญหาร่วมกัน
4. จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้อย่างครบถ้วนและบุคลากรที่ปฏิบัติงานต้องมีอุปกรณ์้ป้องกัน
ตัวเองครบถ้วน
5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสของมีคมโดยตรง บุคลากรที่ปฏิบัติงานมีเท่าที่จำเป็นจริงๆ
ควรใช้เครื่องมือแทนคน อาทิ self retener retractor, self irrigation handpiece แทนการใช้คนฉีดน้ำระหว่างการกรอกระดูก เป็นต้น
ถ้านำยา Fixerเมื่อโดนผิวหนังแล้วจะเป็นอันตรายหรือเปล่าค่ะ? ถ้ามีอันตรายจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรแล้วจะรักษาอย่างไร?
ขอถามอีกนิดนะค่ะ อยากรู้จิงจิง
จาก คห.44 ของพัชราพร อยากทราบว่า น้ำลายเทียมเป็นยังไง? แล้วใช้รักษาคนไข้อย่างไรค่ะ?
คห.76 โดย เจน สุริยจักรยุธนา 48610973(ลืมใส่ชื่อค่ะ)
ตอบคำถามศิริกาญจน์ กระทู้ 55
อยากทราบว่า "ขยะทางด้านทันตหรรม กำจัดอย่างไร"
- developer ก่อนทิ้งนำยาลงไปในระบบบำบัดจึงต้องทำให้นำยาเจือจางโดยใส่นำลงไ ปมาก ๆ เพราะมันจะไปทำลายจุลินทรีย์ในระบบ
- fixer ห้ามทิ้งลงบ่อบำบัดเด็ดขาด เพราะมีสารพิษ(แร่เงิน)ปนอยู่มีผลต่อภาวะแวดล้อม ควรเก็บไว้จำหน่ายหรือไม่ก็บ่อพักห้ามปล่อยลงน้ำหรือดิน
ที่มา:www.xraythai.com/index.php?action=vthread&forum=13&topic=2086
ฝากวิธีดูแลรักษา Digital radiography sensors ค่ะ
ส่วนมากเค้าก็ให้อ่านคำแนะนำของเจ้าของผู้ผลิตที่ให้เป็นคู่มือแนบมากับตัวเครื่องนะคะ เพื่อ protection of related computer hardware
โดยไม่ clean และ heat-sterilize ก็ใช้ high-level disinfect sensor ระหว่างคนไข้ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
sensor มักใช้ barrier-protected, semicritical item
แต่ถ้า item ไม่สามารถทนต่อกระบวนการเหล่านี้ได้
ก็ให้เลี่ยงไปใช้เป็นวิธี disinfected with an intermediate-level (i.e. Tuberculocidal) activity แทน
-------------------------------------------------------
3rd Essential MICROBIOLOGY for DENTISTRY., Lakshman Samaranayake.
เพิ่มเติมจาก คห.79
Potency of disinfectant and their uses>>
จำแนกเป็น high, intermediate or low potency
ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำลายจุลินทรีย์
->HIGH-LEVEL DISINFECTANTS
......against แกรมบวก&ลบ,สปอร์,Mycobacterium tuberculosis
->INTERMEDIATE-LEVEL DISINFECTANTS
......destroy M.tuberculosis, Vegetative bacteria, ไวรัสและเชื้อราทั้งหมด, แต่จะทำลายสปอร์ได้น้อย
->LOW-LEVEL DISINFECTANTS
......kill แบคทีเรียและเชื้อราทั้งหมด แต่จะไม่ฆ่า M.tuberculosis หรือสปอร์
--------------------------------------------------------
3rd Essential MICROBIOLOGY for DENTISTRY., Lakshman Samaranayake.
ตอบอมร
เราคิดว่าการที่จะต้องไปทำงานในชั้น clinic แล้วไม่ได้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่สามารถติดต่อจากสารคัดหลั่ง ก็มีความเสี่ยงสูง เพราะเราคงจะมั่นใจไม่ได้ว่าถุงมือไม่มีรอยรั่ว หรือไม่มีแผลที่มือ ซึ่งแผลขนาดเล็กมากที่มองไม่เห็นก็เปิดโอกาสให้เชื้อเข้าไปในร่างกายได้แล้ว หรือไม่ก็อาจมีอุบัติเหตุ เช่น เข็มฉีดยาที่ใช้แล้วพลาดโดนมือ (เคยได้ยินมาว่า แพทย์ทำคนไข้โรคเอดส์ แล้วเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วพลาดโดนมือ ต้องไปฉีดยา inhibit เชื้อโรคด้วย)แล้วไวรัสตับอักเสบ b มีความรุนแรงมากกว่าโรคเอดส์ตั้ง10เท่า (อ้างอิงจาก คู่มือปฎิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรมคณะทันตแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล) เพราะฉะนั้นปริมาณเชื้อที่น้อยกว่ามากก็ติดโรคได้
จากความเห็นที่ 73 สงสัยว่า
1.ทำไมต้องนัดผู้ป่วย HIV เป็นคนสุดท้าย คนแรกได้ป่าว
2.แล้วการทำความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์หลังที่ใช้กับคนที่เป็น HIV จะแตกต่างจากคนที่ไม่ได้เป็นป่าว
3.แล้วทำไมต้องขูดหินปูนด้วยมือ
เคยได้ยินมาว่าสามารถใช้ยาทาแผลเบตาดีนภายในช่องปากได้ เช่น ใช้ชุบผ้าก๊อสเพื่อห้ามเลือด ใช้ได้จริงรึป่าวคะในเมื่อมันเป็นยาทาภายนอก
ตอบคำถามที่ 76
น้ำลายเทียม เป็นยาที่ผลิตขึ้นโดยให้มีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำลายตามธรรมชาติมากที่สุด คือมีความหนืด มีแร่ธาตุบางอย่าง แต่จะไม่มีเอนไซม์ ใช้ในกรณีผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของการผลิต หลั่งน้ำลาย น้ำลายเทียมกับน้ำตาเทียมไม่เหมือนกัน
ข้อมูลจากhttp://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/detailqa.asp?uid=44579
วิธีปฎิบัติเมื่อต้องถ่ายภาพรังสีให้กับผู้ป่วยที่กำลังมีรอยโรค herpes simplex
ในช่องปาก
จากความคิดเห็นทที่ 65 ghost image ที่บดบังstrucure จากdental radiography ของ Joen lannucci haring และ laura jansen Howerton
:An artifact on a dental radiograph produced when an area of high density is penetrated twice by the X-ray beam ; appears radioplaque
ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกเข็มหรือของมีคมที่มีเลือดของผู้ป่วยบาด หรือ เลือดของผู้ป่วยกระเด็นโดนตาหรือโดนผิวหนัง หรือเข้าปาก ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบคำถาม คห.87
เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้รับอุบัติเหตุอันเกรงว่าจะติดเชื้อให้ปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้
1.ถูกเข็มหรือของมีคมที่มีเลือดของผู้ป่วยตำหรือบาด ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% และทาด้วย betadine solution
2.เลือด สารน้ำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตาหรือโดนผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก
3.เลือด สารน้ำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าปาก ให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก
Ref : คู่มือปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตอบคำถาม คห.87
1.เมื่อได้รับอุบัติเหตุเข็มหรือของมีคมที่เปื้อนเลือดหรือสารนํ้าจากร่างกายผู้ป่วยทิ่มตำ ให้ทำการบีบเลือดออกให้มากที่สุด ล้างแผลให้สะอาด
เช็ดด้วย 75% alcohol หรือ 10% Povidone iodine
2.ในกรณีที่เลือดหรือสารนํ้าจากร่างกายผู้ป่วยกระเด็นเข้าปาก ตา หรือบาดแผล ให้ล้างออกด้วยนํ้าสะอาดให้มากที่สุด
3.แล้วรายงานทันทีหลังได้รับอุบัติเหตุและไม่เกิน 24 ชั่วโมง โดยรายงาน
ในเวลาราชการ แจ้งที่ห้องพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ
นอกเวลาราชการ แจ้งผู้ตรวจการบริหารการพยาบาล
4.พบแพทย์ที่ ER เพื่อรับการตรวจและลงบันทึกในเวชระเบียนและเขียนใบรายงาน
5.Counseling ผู้ป่วยเพื่อขอตรวจเลือด คือ HIV Ab, HIV Ag และ HBs Ag และส่งตรวจที่ หน่วยปฏิบัติการเคมีฉุกเฉินและผู้ป่วยนอก โดยใช้ใบขอตรวจ Lab พิเศษจาก ICN หรือ ผู้ตรวจการบริหารการพยาบาลเท่านั้น
6.กรณีผลเลือดผู้ป่วย เป็นลบทั้ง 3 ตัว ถือว่าไม่มีความเสี่ยง ไม่ติดตามผลเลือดบุคลากรที่ได้รับอุบัติเหตุ
7.กรณีผลเลือดผู้ป่วย HIV Ab และ/หรือ HIV Ag เป็นบวกปฏิบัติตามแนวทางการดูแลบุคลากรที่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งในผู้ป่วย ที่มีผลเลือด HIV เป็นบวก
8.กรณีผลเลือดผู้ป่วย HBs Ag เป็นบวกปฏิบัติตามแนวทางการดูแลบุคลากรที่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งในผู้ป่วย ที่มีผลเลือด HBs Ag เป็นบวก
*สำหรับข้อมูลรายละเอียดการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลบุคลากรที่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งในผู้ป่วย ในเรื่องของยาในการฆ่าเชื้อไวรัสต่าง ติดตามในที่ http://www.med.cmu.ac.th และที่ http://hospital.moph.go.th/thayang/NurseAcc.doc
น้ำยาล้างฟิล์มฆ่าเชื้อโรคจากฟิล์มที่ถ่ายจากคนไข้ได้หรือไม่
จุดประสงค์ของการล้างfilmใช่เพื่อการฆ่าเชื่อโรคนี่คะ แล้วการที่film มีpackage ห่อหุ่มอย่างมิดชิดก็น่าจะช่วยเรื่องการปนเปื้อนระดับหนึ่งหมายถึง film intraoralนะคะ ถ้าextralก็มีcassette ห่อหุ่มอีกที เดี๋ยวเราก็เอาห่อนั้นไปทิ้งหรือไม่ก็sterilie cassette ก่อนที่จะแกะก็ควรเช็ดคราบน้ำลายออกให้หมดก่อนจะได้ไม่ปนเปื้อนกับฟิล์มที่แกะ
ขอแนะนำสุทักษิณ นะคะ
เมื่อเสื้อเปื้อนFixer แล้วให้เดินไปที่ร้านพี่เตือน .. แล้วก็ สั่งซื้อเสื้อตัวใหม่ซะเถอะคะเพราะ ขนาด .."โอโม้" ยังเอาไม่ออกเลยคะ >.< ซื้อใหม่เถอะคะเพื่อความสบายหูสบายตาของคนไข้ ..และอาจารย์ 555
แล้วถ้าหมดเขต วันที่ 5 นี้เราจะยังมาโพสแสดงความคิดเห็นกันได้อยู่รึเปล่าคะ
การใช้สายดูดเสมหะจากท่อหลอดลมคอนั้นหากทำไม่ถูกวิธี อาจจะแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างของผู้ป่วยได้ ระบบการดูดเสมหะนั้นมีสองระบบ คือ ระบบที่ใช้สายดูดครั้งเดียว (single-use catheter system) กับ close multi-use catheter system รายงานการศึกษาเบื้องต้นพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในการเกิดปอดอักเสบทั้งสองระบบ ถึงแม้ว่าระบบหลังจะทำให้สิ่งแวดล้อมมีการปนเปื้อนน้อยลง
การทำความสะอาด resuscitation bag และการทำให้แห้งระหว่างการใช้ทำได้ค่อนข้างยาก เชื้อโรคอาจตกค้างอยู่สารคัดหลั่งหรือของเหลวที่ตกค้างใน resuscitation bag หากนำมาใช้อีกครั้งจะทำให้เกิดฝอยละออง และพ่นเข้าไปในทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เชื้อที่กระจายไปยังผู้อื่นมักจะเกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ล้างมือหรือล้างมือไม่สะอาด ควรทำความสะอาดอุปกรณ์โดยวิธี sterilization หรือ disinfection ระดับสูง
http://www.thaipedlung.org/book/47_PDF_Ped_Respiratory_47/23%20Infection%20%20.pdf
เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ไดรับอุบัติเหตุอันเกรงว่าจะติดเชื้อ ให้ปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้
1. เมื่อถูกเข็มหรือของมีคมที่มีเลือดผู้ป่วยตำหรือบาด ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 %และทาด้วยBetadine solution
2.เลือด สารน้ำหรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าตาหรือโดนผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดเป็นจำนวนมาก
3. เลือด สารน้ำ หรือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าปาก ให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก
ที่ clinic มีการนำถุงพลาสติกมาหุ้ม film กับ XCP ก่อนให้คนไข้กัด film อยากถามว่ามีการนำถุงมา reuse หรือไม่ เพราะว่าถุงพลาสติกในปริมาณมากก็จะเป็นการเพิ่มขยะทำให้โลกร้อน และถ้าไม่มีการ reuse จะมีวิธีไหนที่ดีกว่าการใช้ถุงพลาสติกหรือไม่ เพื่อเป็นการลดโลกร้อน
ในการใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีแบบ extraoral ส่วนของเครื่องที่จะต้องสัมผัสกับผู้ป่วย อย่างที่ยึดศีรษะ มีการป้องกันการติดเชื้อด้วยรึป่าวคะ เพราะถ้าผู้ป่วยคนก่อนหน้าเกิดเป็นโรคผิวหนังคนต่อไปก็อาจจะติดได้
ตอบของรวินทร์นิภา
การใช้เครื่องถ่ายรังสีไม่ว่าแบบ intraoral หรือ extraoral จะมีส่วนที่สัมผัสกับผู้ป่วยเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งสามารถป้องกันได้ เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ทำงานในแต่ละวันด้วยน้ำยาที่ได้รับรองว่ามีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ และเมื่อทำความสะอาดแล้ว ให้คลุมทับด้วยวัสดุคลุมพื้นผิว เช่น พลาสติกหุ้มของ (ใครที่ตรวจคนไข้ในแลปของ occlusion คงรุกันแล้ว) ซึ่งให้เปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนผู้ป่วย ซึ่งสามารถป้องกันในเรื่องของโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อกันได้
อันนี้ขอเพิ่มรายละเอียดพวกสารทำความสะอาดที่ได้รับรองว่ามีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาด
ที่ใช้ๆกันก็จะเป็นพวก chlorine compounds, iodophores, synthetic phenolics พวกแอลกอฮอร์มันไม่สามารถฆ่าเชื้อได้นะ
แหะๆ จะคนสุดท้ายรึเปล่าหว่า ^^
ผม อ่านแล้วน่ะครับ คิดว่า broad นี้ควรจะอยู่ ต่อไป น่ะครับ ขอเสนอแนะความคิดเห็นว่า หลังจากวันนี้ไปแล้ว (วันที่ 5) ก็น่าจะเอาเรื่อง อื่นๆ มาถามตอบกันได้น่ะครับเพื่อเป็นการประเทืองความรู้ (หรือว่ามั่วกันเอาเอง) ของเพื่อนๆเราน่ะครับ
ขอบคุงครับ
บอร์ดนี้ก็จะยังอยู่ต่อไปครับ ถ้าน้อง ๆ มีเรื่องอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้้กันก็สามารถมาโพสต์ไว้ได้ แต่ต้องมีแหล่งอ้างอิงด้วยนะครับ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าต่อไปในอนาคต ส่วนการที่กำหนดว่าวันที่ 5 นั้นก็เพื่อเป็นแนวทางนะครับ ว่าเป็นเรื่อง infection control ส่วนหลังจากวันนี้ไปแล้วก็อาจเป็นเรื่องที่สงสัย เวลาจดเลคเชอร์ไม่ทัน หรือฟังในห้องแล้วไม่เข้าใจ ก็มาโพสต์ถามไว้ได้นะครับ(จะได้ไม่ต้องไปแกะเทปให้เสียเวลา) แล้วพี่ก็จะมาตอบให้ หัวข้อที่ถามไม่จำเป็นต้องเป็นหัวข้อที่พี่สอนก็ได้่นะครับ เรื่องอะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับ Oral Diagnostic Science/Molecular Biology นะครับ จะพยายามเข้ามาตอบให้ครับ หรือเพื่อน ๆ น้อง ๆ จะช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในนี้ก็จะยิ่งเป็นการดีใหญ่เลยครับ ขอให้บอร์ดนี้ยังอยู่ต่อไปอีกนาน ๆ แม้น้อง ๆ จะเรียนจบไปแล้วก็เข้ามาค้นคว้า หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้เสมอนะครับ
พี่หวังว่ามันจะเป็นจุดเริ่มต้น เล็ก ๆ ที่ทำให้เราได้รู้จักการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์กันครับ ขอบคุณน้อง ๆ ทุกคนมากครับ
ตอบคุณ จิราพร มงคลรบ 48610041 ณ. ขณะนี้ถุงพลาสติกเหมาะสมที่สุดแล้วครับ เพราะถุงพลาสติก มีคุณสมบัติ อ่อนตัวตามรูปร่างช่องปาก แม้จะไม่ได้steriled แต่จากการวิจัยของอาจารย์ก็ไม่พบการเจริญของเชื้อโรค ทั้งมีราคาประหยัด ถ้าจะจัดให้มีsteriling ตัวXCPทุกๆชิ้นคงใช้งานไม่ทันแน่เลย ถ้าจะนำกลับมาไช้คงจะยากเพราะคงจะทนความร้อนautoclaveไม่ได้
มาmentช้าไปคับ จอคอมที่ห้องเสีย
ตามปกติแล้ว XCP สามารถทำให้ปราศจากเชื้อได้หลายวิธีด้วยกันครับ สามารถฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำร้อนหรือโอโตเคลฟ ใช้สารเคมี แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ ซึ่งต้องอยู่ในอัตราส่วนและเวลาที่เหมาะสมตามที่บริษัทแนะนำครับ แต่เนีืองจากมันทำมาจากพลาสติกเมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง มันอาจเสื่อมสภาพได้เหมือนกันครับ
ขอเพิ่มของจรัสพร วงศ์ไชย
ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการใช้ antiseptic หรือการบีบเค้นที่บาดแผลสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้
เพราะฉะนั้นเพื่อนคนไหนที่ชอบบีบแผลให้เลือดมันออกเวลาโดนมีดบาดอ่ะ เลิกเหอะ เจ็บตัวเปล่าๆ
ที่มา คู่มือปฏิบัติในการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2547 หน้า 43
สวัสดีค่า
นี่เราเข้ามาเม้นท์คนแรกของชั้นปีเลยนะเนี่ย
เพื่อนๆปี 5 อย่าลืมเม้นท์เรื่อง Inflammatory lesion of the jaws นะจ๊ะ
คำถามแรกเลยละกันนะคะ
เนื่องจากวันนี้ที่เรียนอาจารย์บอกว่า Granuloma จะล้อมรอบด้วย Sclerotic bone อ่ะค่ะ
แต่มันก็มีรอยโรคอีกหลายอย่างที่ล้อมรอบด้วย sclerotic bone เหมือนกัน เช่น KCOT แล้วเราจะมีอะไรที่ช่วยบอกมั้ยคะว่ารอยโรคนี้น่าจะเป็น Granuloma ไม่ใช่รอยโรคอื่น (หากเราดูจากภาพถ่ายรังสีอย่างเดียวอ่ะค่ะ)
ถามอีกข้อนึงนะคะ
เวลาเราอ่าน Trabeculae bone pattern เราอ่านยังไงหรอคะ
มันมีรูปแบบไหนบ้างอ่ะคะ???
เพื่อนคนไหนเคยอ่านแล้วบอกด้วยน๊า
มีความรู้เสริมของ hyperbaric oxygen therapy มาฝากค่ะ
hyperbaric oxygen therapy คือ การรักษาโดยให้ผู้ป่วยหายใจเอา 100% ออกซิเจนเข้าไปภายในห้องที่มีความดันอากาศสูงกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าการหายใจปกติ
นอกจากมันจะรักษาโรค osteomyelitis กับ ORN ตามที่อาจารย์ชายแดนได้สอนไปแล้วมันยังสามารถใช้รักษาผู้ป่วยเด็กที่เป็น Autism ได้ด้วย...โดยมันจะไปเพิ่มปริมาณ oxygen ในกระแสเลือดซึ่งทำให้ อาการของ verbal communication, direct eye contact, reasoning ability, motor skills, balance, attention ดีขึ้นและลดพฤติกรรมก้าวร้าวด้วย
http://autismmedia.org/media13.html
นอกจากนี้ กรมแพทย์ทหารอากาศ ยังนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ ดัง website นี้ด้วย
http://www.medicalrtaf.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=376317&Ntype=3 ที่น่าสนใจก็น่าจะเป็นพวกแผลหายยากต่างๆ เช่น แผลเบาหวาน ...ก็จะได้ไม่ต้องตัดขาทิ้งเมื่อเป็นแผลลุกลาม
แถมยังสามารถเบิกได้หรือใช้สิทธิ 30 บาทก็ได้นะคะ
...ลองอ่านดูค่ะ..เผื่อ0tเป็นประโยชน์กับใครบางคน
..
ป.ล สำหรับคำถามศิระประภา จะพยายามหาข้อมูลดูนะคะ...แต่ตอนนี้หา reference ไม่ได้..เลยไม่กล้า post
ขอถามข้อนึงคับผม
คือ อันนี้เป็นประสบการณ์ตรงที่เจอในคลีนิคเลยนะคับ
ไป talk case ถอนฟันซี่ 48 irrversible pulpitis with chronic apical periodontitis แล้วเจอว่า ซี่ 47 มีลักษณะ เป็น radiopaque area คาดว่าน่าจะเป็น condensing osteitis อะคับ
จากที่เรียนมาพบว่ามันเกิดจาก low grade infection นาน ๆ อ่ะคับ
ก็เลยอยากทราบว่า ลักษณะของภาพรังสีของ condensing osteitis จำเป็นต้องเป็นรูปร่างกลม แล้วอยู่บริเวณรอบ ๆ ปลายรากรึป่าวคับ แล้วมันสามารถทำให้เกิดที่บริเวณฟันข้างเคียงรึป่าวอะคับ
มาcomment นะคับ คืออยากบอกว่าเนื้อหาที่อาจารย์สอนมีประโยชน์มาก ๆคับเพราะตอนอยู่ห้อง x-ray แล้วอ่านฟิล์มเพื่อที่จะ diag คร่าว ๆ ตอนแรกก็ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้อง diag แบบนี้ แต่ตอนนี้อาจารย์สอนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว ทำให้เข้าใจมากขึ้นมาก ๆๆๆๆๆๆเลยคับ (-_-a
ตอบคำถามวรณัฐนะครับ ลักษณะของภาพรังสีของ condensing osteitis ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างกลมเสมอไป แต่มักจะพบอยู่ที่ปลายรากฟัน ของฟันที่มี low grade chronic inflammation ครับ ซึ่งถ้ามันมีขนาดใหญ่มากก็สามารถขยายขนาดไปยังฟันข้างเคียงได้ แต่ฟันข้างเคียงก็ไม่ได้เป็นอะไรนะครับ ลองดูตัวอย่างภาพรังสีของ condensing osteitis ในกรณีของคำถามนี้ได้ที่ White & Pharoah
5th edition 2004, Part V, Chapter 19, pp. 369-370 (Fig.19-4 รูปขวา แถวที่สองครับ)
ตอบคำถามศิระประภานะครับ ในความเห็นของพี่นะครับ granuloma มักจะมีขนาดไม่เกิน 1 cm. ถ้าเกินกว่านั้น สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็น Cyst or tumor ครับ แต่ก็เป็นเพียงการ differential diagnosis นะครับ ถ้าจะให้แน่นอนต้องอาศัยการตรวจทางพยาธิวิทยาครับ
ส่วนคำถามเรื่องรูปแบบของ Trabeculae bone pattern นั้นถ้าจำไม่ผิด มีการตอบคำถามข้อนี้ไว้ค่อนข้างดีใน วิชา Oralbio II ปีสี่ เมื่อสามสัปดาห์ก่อน กลุ่มน้องทรงยศครับลอง Share กันดูนะครับ
อยากทราบว่า condensing osteitis กับ sclerotic bone ซึ่งเป็น periapical lesion เหมือนกัน สามารถแยกได้จากภาพถ่ายรังสีหรือไม่คะ ???
เพราะเท่าที่ทราบ ลักษณะทางคลินิกจะต่างกันตรงที่ condensing osteitis จะพบใน non-vital tooth และมี large carious lesion หรือ large restoration และ no sign & symptoms, no response to EPT
ส่วน sclerotic bone จะไม่มี sign of inflammation และไม่ทราบสาเหตุ ส่วนลักษณะทางภาพถ่ายรังสีจะเป็น radioplaque ขอบชัดเจนแต่ไม่ทราบว่าจะมีลักษณะที่แยกทางภาพรังสีได้หรือไม่ ??
มีข้อสงสัยจาก caseที่เจอในคลินิกค่ะ คือได้ผ่าฟันคุดคนไข้ #48 อีกหนึ่งสัปดาห์คนไข้มาตัดไหม พบว่าไหมเย็บหลุดไป 1 เข็ม และมีเศษอาหารอัดในแผลจำนวนมาก ลักษณะการหายของแผลเป็นปกติ อีก3 อาทิตย์ถัดมาได้นัดผู้ป่วยมาทำการขูดหินปูนพบว่า แผลที่ผ่าฟันคุดมีการอักเสบ เกิด granulation tissue ใช้มือคลำแล้วผู้ป่วยรู้สึกเจ็บมาก เมื่อกด vestibule ดูพบหนองสีออกเหลืองออกมาประมาณ 1 cc โดยผู้ป่วยอ้าปากได้ปกติ ผู้ป่วยบอกอาการว่าปวดตลอดเวลาหลังจากผ่าฟันคุด จนไม่กล้าเคี้ยวอาหารข้างนั้น ปวดแบบตื้อๆพอทานยาแก้ปวดก็หาย พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดใหม่อีก ซึ่งจากที่เรียนเรื่องInflammatory lesion of the jaws ของอ.ชายแดนแล้วก็น่าจะเข้าลักษณะของโรค Osteomyelitis จึงdiag ว่าเป็นOsteomyelitis ปรากฏว่าผิดค่ะ อ.ที่ตรวจบอกว่ามากไป diagเป็นแค่sequestum หลังจากผ่าฟันคุด รักษาโดยเอา granulation tissueและกระดูกที่ตายออก แล้วก็ล้างแผล หนูไม่ค่อยเข้าใจเลยว่าต้องมีอาการอะไรเพิ่มเติมอีก ที่ไม่ต้องดูจากภาพ x-rays จึงจะdiag ว่าเป็น Osteomyelitis ได้
อยากจะทราบว่า ถ้าภาพรังสีบริเวณปลายรากมีลักษณะเป็น diffuse และ irregular border แต่ยังไม่มีการ drain ของหนองออกมาให้เห็น ก็จะ diag ว่าเป็น abscess ไม่ได้ แล้วถ้าเจอแบบนี้จะสามารถ diag อย่างเหมาะสมว่าเป็นอะไรได้ค่ะ แล้วใช้อะไรในการพิจารณาประกอบการ diag ค่ะ
อยากจะทราบว่า การแยกภาพรังสีจากภาพที่มี widening PDL space ที่เกิดจาก periodontal disease และการเกิด occlusal trauma ใช้เกณฑ์อะไรประกอบในการวินิจฉัยแยกโรคบ้างค่ะ แล้วถ้าหากเกิด occlusal trauma ร่วมกับ periodontal disease ลักษณะรอยโรคส่วนใหญที่พบเห็นในภาพถ่ายรังสีจะแยกได้ไหมค่ะ ว่าส่วนไหนของรอยโรคเกิดจาก occlusal trauma ส่วนไหนเกิดจาก periodontal disease คะ
ขอเสริมจากlecture อ.ชายแดน นะคะ
จากที่เคยศึกษาเรื่อง Tuberculosis นะคะอ่านเจอว่าtuberculous osteomyelitis bone destruction ที่เกิดขึ้นจึงเป็นแค่ผลจาก pressure atrophy จากการที่ค่อย ๆ มี accumulation ของ tuberculous granuloma material เท่านั้น และเนื่องจากไม่มี disruption ของ blood supply ต่อ bone ดังนั้น จึงไม่มี sequestrum นอกจากนี้ยังพบว่า caseous necrosis มีผล inhibit ต่อการสร้าง bone ด้วย แต่ไม่ทราบเพราะเหตุใด ดังนั้นในactive phase ของ tuberculous osteomyelitis จึงพบ pathology เป็น bone destruction โดยที่ไม่ sequestrum และไม่มี new bone formation หรือถ้ามีก็น้อย มากhttp://www.md.chula.ac.th/ortho/student/book/infec-pr.doc และก็จากweb http://medind.nic.in/ibr/t05/i3/ibrt05i3p147.pdf
ซึ่งบอกว่าภาพทางรังสีจะพบว่ามีลักษณะ blurring of trabecular details with irregular area of radiolucency
อันนี้เปงประสบการณ์ที่พบได้บ่อยๆเวลาอยู่ห้องถ่าย X-RAY แล้วต้องอ่านฟิมคะ
มักจะเจอภาพถ่ายรังสีที่มีเงาดำและมีเงาขาวล้อมรอบ
ไม่ทราบว่าเราจะสามารถ Diff diag เป็นโรคอะไรได้บ้างคะ
โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะ diff ได้ดังนี้คือ
1. Cyst
2. Granuloma
3.Chronic apical periodontitis
ไม่ทราบว่านอกจาก 3 โรคนี้แล้วสามารถ Diff diag เป็นอะไรได้อีกคะ
ขอบคุณคะ
ขอตอบแพรไพลิน นะครับ
การแยกภาพรังสีจากภาพที่มี widening PDL space ที่เกิดจาก periodontal disease และการเกิด occlusal trauma
คือผมพอจะทราบการตรวจทางภาพถ่ายรังสีของฟันที่เกิด occlusal trauma โดยควรถ่ายรังสีมากกว่า 1 ภาพ ในตำแหน่งต่างๆกันเพื่อดูรอยแตก และเมื่อทิ้งระยะเวลาให้นานขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ของส่วนของฟัน หรือมี tissue fluid เข้าไปทำให้ชิ้นส่วนแยกออกจากกัน จะทำให้รอยแยกเห็นชัดขึ้น บางครั้งอาจต้องใช้ occlusal film เมื่อต้องการดูตำแหน่งที่รากฟันหัก และฟันเคลื่อนที่ไปทางด้าน buccal หรือ lingual หรือไม่
Traumatic dental injuries : a clinical approach
ศิริพร ทิมปาวัฒน์
เพราะฉะนั้นการที่จะบอกได้ว่า widening PDL space มาจากสาเหตุใด ถ้าจะบอกว่ามาจาก occlusal trauma ก็น่าจะถ่ายเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาด้วยครับ แต่ถ้าจะบอกว่ามาจาก periodontal disease ก็น่าจะพิจารณาว่ามี bone lose หรือไม่ครับ
จากข้อความของอาจารย์ ที่ 100 ที่ว่าถามเรื่องนอกเหนือจากการเรียนได้
ผมก็จะขออนุญาตถามเลยนะครับ ว่า
เหตุผลที่เราไม่แนะนำให้แปรงฟันหลังทานอาหารทันที เป็นเพราะภายในช่องปากตอนนั้นเป็นกรด จะเสริมการกิด abrasion
แต่หากเราต้องการจะแปรงฟันจริงๆ แต่ก็ไม่ต้องการให้ความเป็นกรดเสริมผลของการแปรงฟันให้เกิด abrasion
เราจะบ้วนน้ำเยอะๆได้มั้ยครับ สมมติว่า บ้วนน้ำซัก 2 ลิตร ผลของกรดนั้นจะหายไปรีเปล่าครับ
หรือว่ามันก็จะยังคงมีผลของ reminerization คงค้างอยู่ ที่จะเป็นตัวทำให้เกิด abrasion มากขึ้นครับ
ขอคำชี้แนะจากอาจารย์และเพือ่นๆด้วยครับ
เพิ่มเติมเรื่อง Osteomyelitis = subperiosteal bone ที่สร้างขึ้นมาใหม่บริเวณboneที่ถูกทำลายจากinflammationของbone เรียกว่าเป็น periosteal reaction ในเด็กสามารถอธิบายได้ว่าเป็น “Proliferative periostitis” ซึ่งมักจะเกิดในmandibleของyoung girl โดยเป็นผลตามมาของapicalหรือpericoronal infectionที่สัมพันธ์กับlower first molar ซึ่งทำให้เกิดbony hard swellingของขอบล่างของmandible ภาพรังสีของProliferative periistitisจะเห็นเป็นradiopaqueแผ่นบางๆที่ซ้อนกัน (laminated) เรียกว่า “onion-skin appearance”
จากชีทอ.หน้า10 สไลด์5 สาเหตุของosteomyelitisเป็น extrusion แต่จากEssentials of Dental Radiology and Radiology, 4th Ed. Eric Whaites, 2007 เป็น extractions (แต่คิดว่าน่าจะเกิดได้จากทั้งสองอันค่ะ เพราะทั้งสองอันก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปที่boneกับbone marrowได้)
ในส่วนของORN จาก text บอกว่า ORN ขอบเขตระหว่างnecrotic boneกับnormal bone มักจะคมชัดกว่า Osteomyelitis และ subperiosteal new bone formationมักไม่เกิดขึ้นเหมือน Osteomyelitis แต่ดูจริงๆคงแยกกันได้ยาก ดังนั้นhistory of radiotherapyจึงเป็นข้อมูลสำคัญในการdiff. dx.อย่างที่อ.สอนค่ะ
ทั้งหมดอ้างอิงจาก Essentials of Dental Radiology and Radiology, 4th Ed. Eric Whaites, 2007 (เล่มสีดำ)
จากหัวข้อ Illusion of widened periodontal spaces ขอถามว่ามีหลักการอย่างไรในการแยกว่าเป็น widening PDL spaceหรือว่าเกิดเป็น superimposed แล้วเกิดเป็น widening PDL space???
อยากทราบถึงหลักการอ่าน film ของlamina duraอ่ะครับ ว่าเมื่อใดเราถึงจะอ่านว่า intact lamina dura และเมื่อใดถึงจะอ่านว่าเป็น continuous lamina dura ครับแล้วคำ2คำนี้(intactกับcontinuous)สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ครับ เพราะจากที่เข้าใจคือ intact lamina dura คือสามารถมองเห็น lamina dura ได้ชัดเจนในภาพรังสีส่วน continuous laminadura คือสามารถ trace laminadura ในภาพรังสีได้อย่างต่อเนื่องอ่ะครับ??
ปล. ขอแก้ไขรหัสนิสิตของภัทรพรครับ ไม่ใช่ 47610100 นะครับเป็น 47610282 ครับ ขอโทษด้วยครับ(-__-)''
จากที่ได้อ่าน journal diag เรื่อง Extraoral imaging for proximal caries detection: Bitewing VS Scanogram
คืออยากทราบว่า Cranex TOME scanograms คืออะไรค่ะ แล้ว scanogram คือเทคนิคการถ่ายแบบไหนค่ะ
อยากทราบว่า คำว่า rarefy area กับคำว่า radiolucent area สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ค่ะ ถ้าใช้แทนกันไม่ได้ สองคำนี้มีหลักในการเลือกใช้อย่างไร
ขอตัวอย่างประกอบด้วยนะค่ะ
เพิ่มเติมของจิตรภณ ที่ตอบคำถามของแพรไพลินนะค่ะ
wildening PDL space ที่เกิดจาก occlusal trauma มันจะเป็นลักษณะ funnel shape หรือรูปสามเหลี่ยม ที่ส่วนยอดของสามเหลี่ยมชี้ลง apical ที่บริเวณ cervical third ทางด้าน mesial หรือdistal แต่ถ้าเป็นwildening PDL space ที่เป็น periodontal disease จะพบที่บริเวณ apical third รอบๆปลายรากก่อนค่ะ (อ้างอิงจาก ชีทเรียน เรื่อง periodonal lesion ที่อาจารย์วิไลรัตน์ และ occlusal trauma ที่อาจารย์จิพิชญาสอนค่ะ)
scanograms เป็น digital images ที่ได้จากการวัตถุที่เราจะถ่ายภาพรังสี บนเครื่อง digital scanner ก็จะ scan วัตถุ แล้วก็ส่งข้อมูลไปยังเครื่องที่จะแปลผลไปเป็นภาพรังสีอีทีหนึ่ง(ลองอ่านชีทอาจารย์ชายแดน เรื่อง digital images ตอนปีสี่เพิ่มเติมนะค่ะ )Cranex TOME scanograms เป็นเครื่องถ่ายภาพรังสีนอกช่องปาก(extra-oral dental x-ray unit) ที่ให้ภาพรังสี แบบpanoramic and cephalometric radiographs ที่มีคุณภาพดีกว่าถ่ายด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีนอกช่องปากที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน CRANEX TOME ยังสามารถถ่ายแบบ Hi-Q cross-sectional spiral tomograms, TMJ tomograms, scanograms and TMJ scanograms (จาก http://www.soredexusa.com/Products.asp?document_id=1046)
สงสัยว่า widening PDL กับ rarefying area มันแยกกันได้อย่างไรคะ?
ใน Further spread of inflammation ลักษณะทางภาพรังสีจะเห็นเป็น radiolucent area ที่ขอบเขตไม่ชัดเจนน่าจะเป็น abscess แต่จะ diag ได้ก็ต่อเมื่อมี sinus opening อันนี้เป็นกรณีของ chronic apical abscess ใช่มั้ยค่ะ แต่ถ้าเกิดว่าในกรณีที่เป็น acute apical abscess ที่ลักษณะทางภาพรังสีลักษณะของ periapical tissue จะปกติหรือมี slight widening of the PDL และ acute apical periodontitis ก็มีลักษณะทางภาพรังสีที่มี normal apical PDL space หรือ slight widening of the PDL space เหมือนกัน แล้วเมื่อไหร่เราจะdiagว่าเป็น acute apical abscessค่ะ
ถ้าแยกกันได้จากทางคลินิกจะดูจากอาการบวมของ soft tissue อย่างเดียวหรือเปล่าคะ
ในบริเวณperiapical tissueการจะ diagว่าเป็นchronic apical periodontitisจำเป็นจะต้องมีลักษณะradiolucent areaบริเวณรอบปลายรากเสมอไปหรือเปล่าคะ
และถ้าไม่มีลักษณะผิดปกติบริเวณบริเวณperiapical tissueเราจะ diagเฉพาะpulpใช่หรือเปล่าคะ
ปล.หนูทำรายงานหลายรอบแล้วคะแต่บางทีพอจะ diagก็ยังงงๆอยู่เลย อาจารย์ช่วยหนูหน่อยนะคะ -*-!!!
ขอเพิ่มเติม เรื่อง HBO ที่ชนกกานต์ เคย post น่ะค่ะ
Refractory Osteomyelitis
เป็นการติดเชื้อเรื้อรังของกระดูกที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ทั้งที่มีการให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด และทำผ่าตัดตกแต่งบาดแผล แล้วก็ตาม ปกติแล้ว chronic refractory osteomyelitis เป็นผลมาจากการมีระดับของออกซิเจนที่บริเวณแผลต่ำ มีวัตถุแปลกปลอม มีการซึมผ่านของเนื้อเยื่อไม่ดี มีการอักเสบ ขาดสารอาหาร การดูแลแผลไม่ดี และเชื้อดื้อยา ปัจจัยอื่นๆ อาจจะเกิดจากการที่ผู้ป่วย ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ และสภาวะทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วย
ระดับของออกซิเจนในกระดูกที่ติดเชื้อตามที่ได้มีการศึกษาจะพบว่าต่ำเกินกว่าที่จะช่วยส่งเริมให้เกิดขบวนการหายของแผล แต่เมื่อ มีการรักษาด้วย HBO ตาม treatment protocol ภายหลังจากที่ไห้การรักษาตามปกติ มีการแสดงให้เห็นว่า มีอาการดีขึ้น เมื่อ oxygen tension เพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการจับกินเชื้อแบคทีเรียดีขึ้น เชื้อพวก Staphylococcus epidermid, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli และ Staph aureus เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่ขาดออกซิเจน จะไม่สามารถ กำจัดพวกมันด้วยขบวนการ phagocytes ได้ แต่เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนมากกว่า 100 mmHg จะทำให้ ขบวนการ phagocytes สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
HBOT จะช่วยในการส่งเสริมการสร้าง fibroblast แต่ fibroblast จะไม่สามารถสังเคราะห์ collagen หรือ เคลื่อนย้ายไปยัง บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บได้ ถ้าความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกว่า 30 mmHg การให้การรักษาด้วย HBO จะช่วยทำให้ขบวนการสร้าง Fibroblast กลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้การทำหน้าที่ของ osteoclast ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซิเจนเช่นเดียวกัน ดังนั้น การรักษาด้วย HBO จะเป็นสิ่งที่ทำให้สภาวะแวดล้อมเหมาะสมที่สุดสำหรับ csteoclast ในการเคลื่อนย้าย necrotic bone
( จาก http://www.nmd.go.th/um/Osteomyelitis.htm )
ขอถามเรื่อง Osteomyelitis
ที่อ่านมา สาเหตุของมันที่เป็น local factor ก็จะมี
-periapical infection
-pericoronitis
-acute periodontal lesions
-extrusion or trauma
อยากทราบว่ามีเพียง local factor พวกนี้เท่านั้นรึป่าวที่ทำให้เกิด Osteomyelitis
เช่น ถ้าเกิดว่าเป็น periapical infection ก็ทำให้เป็น Osteomyelitis เลยรึป่าว ต้องมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่
การรักษา inflammatory lesion เหล่านี้ที่เกิดจากการอักเสบของ pulpal inflammation,periapical inflammation จะใช้การรักษารากฟัน และมีการแนะนำให้มีการ follow up 1-4 ปี อยากถามว่าทำไมถึงต้องมีการfollow up ทุก1-4 ปี คะ
จากperio apical film พบว่ามี diffuse ของ bone destruction ไม่มีขอบล้อมรอบ แต่ในช่องปากไม่พบ abcess จะdiag โรคว่าเป็นอะไร
จากการตรวจในช่องปากพบ dental caries ด้าน occlusal ลึกประมาณ 1 mm. ฟันโยก third degree mobility จาก periapical พบ radiolucent บริเวณปลายรากขนาด 3*2 mm. จะdiagว่าเป็นอะไร(เป็น chronic periodontitis รึเปล่าคะ???)
ORN นอกจากที่อาจารย์สอนทางภาพถ่ายรังสีแล้ว อาการทางคลีนิคที่เราจะได้จากการซักประวัติมีอะไรได้บ้างคะ
ขอตอบคำถามที่ปาลินถามนะคะ ORN จะมีอาการแสดงอื่น ๆ ก็ได้แก่ mucositis , dermatitis , xerostomia , candidiasis เป็นต้น
ขอเสริมจากคำตอบของกานดานะคะ เคยทำรายงานเรื่องนี้ตอนเข้า block diag พอดีค่ะ อาการเพิ่มเติมคือ คนไข้จะมีอาการอ้าปากได้จำกัด มีอาการบวม ปวด มีไข้ และมีกลิ่นเหม็นในช่องปาก อาจพบกระดูกหัก เนื่องจากมีการทำลายของกระดูกอย่างมาก
จากที่อ.สอนอ่ะค่ะว่าถ้าเป็น exostosis , enostosis หรือ osteomyelitis นั้นจะมีลักษณะทางภาพถ่ายรังสีเป็น radiopaque ดังนั้นถ้าเราจะเปรียบเทียบข้อเเตกต่างเเต่ละอันนั้นจะสามารถเเยกได้เฉพาะลักษณะทางคลินิค และก็สาเหตุของการเกิดเพียงอย่างเดียวเลยหรอคะ เราไม่สามารถเเยกได้ทางภาพถ่ายรังสีเลยรึป่าวค่ะ หรือว่าเเต่ละชนิดก็มีลักษณะทางภาพถ่ายรังสีที่เเตกต่างกันออกไปอีกเพี่ยงเเต่ว่ามีลักษณ ะradiopaque เหมือนกันเฉยๆ
จาก chronic osteomyelitis กับ acute osteomyelitis
ที่บอกว่า chronic มีการสร้าง bone ล้อมรอบ radiolucent area
แต่ acute ไม่มีการสร้าง bone ล้อมรอบ อยากทราบว่า มีความแตกต่าง
ทางภาพรังสีอย่างอื่นอีกหรือไม่ ที่ใช้แยกระหว่าง chronic กับ acue osteomyelitis
ขอถามง่ายๆเลยแล้วกันค่ะ ว่า Normal PDL space มีความกว้างเท่าไหร่ แต่ละสำนักไม่เห็นบอกตรงกันเลย
จากที่อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ มา(เกือบทั้งหมด) สงสัยว่าความคิดเห็นที่ 136.,137.,138. จะมีการ contact ที่เร็วมากๆๆๆๆ อิอิอิ....
อยากทราบว่า หลังจากเกิด inflammation เป็นช่วงเวลาเท่าไร จึงจะสามารถเห็นในภาพถ่ายรังสีว่าเกิดเป็น widening of PDL spaces
จาก journal diag ที่ได้อ่านมาค่ะ ใน journal บอกว่า scanogram มีวิธีการถ่ายสามวิธี คือ screen/film , Unenhanced and enhanced digital film แตกต่างกันยังไงค่ะ
ถ้าในภาพรังสีเห็นเป็น radiolucent area+well define marginบริเวณใต้ต่อฟัน premolar เราจะแยกรอยโรคนี้ออกจาก mental foramenได้ยังไง ถ้าเกิดรอยโรคนี้มีขนาดใกล้เคียงกับ mental foramen
ตอบความเห็น 145 ไม่รุ้ว่าจะใช่หรือไม่ใครมีความเห็นเพิ่มเติมเชิญเลยนะครับ
The mental foramen is an opening in the facial aspect of the mandible in the premolar area. This photograph of the mandible demonstrates the usual location of the mental foramen. You can see that its position will cause it to appear radiographically near the apex of the lower second premolar. As this drawing demonstrates, the mental foramen provides the exit point from within the mandible for the mental nerve, as well as the inferior alveolar artery. In periapical radiographs the mental foramen appears as a rounded radiolucency in the apical region distal to the canine and mesial to the first molar. Often it is not as distinct as some other landmarks, but recognizing it is important. Sometimes the mental foramen will be superimposed on the apex of a premolar, and will give the appearance of pulpal pathology. The best way to differentiate periapical disease from the mental foramen is to identify the periodontal membrane space to see if it is confluent with the radiolucent opening. If the apical radiolucency is due to periapical pathology, the periodontal membrane will appear to join the radiolucency, but if the lucent area is due to the mental foramen, then the periodontal membrane space will remain intact, and can be distinctly followed around the tooth apex. Notice the difference in appearance of the pathology at the apex of the distal root of the first molar and the radiolucency of the mental foramen which superimposes on the apex of the second premolar
http://www.unc.edu/~jbl/PA_anat/Norm_man_PA_Anat.html
ในเวบยังมี normal anatomic อื่นๆด้วยใครสนใจลองเข้าไปดูนะครับ
ขอลองตอบความเห็นที่ 129 นะคะ acute apical abscess นั้นนอกจากจะดูลักษณะทางคลินิคว่ามีอาการบวมของ soft tissueหรือไม่เราก็สามารถดูได้จากการตรวจทางคลินิคอย่างอื่นได้อีก คือคนไข้จะมี diffuse pain ฟันจะโยกมากกว่าปกติ เคาะเเละคลำจะเจ็บ
แต่ถ้าหากเป็น chronic apical abscess นั้นคนไข้จะไม่มีอาการใดๆแต่มีเพียง sinus opening เท่านั้น ฟันจะไม่มีอาการโยก เคาะไม่เจ็บหรือเจ็บบ้างเล็กน้อย เเละฟันซี่นั้นก็อาจจะมีการเปลี่ยนสีของฟันร่วมด้วย
อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการเรียนวิชา Endodontics เรื่อง Pulpal and Periapical diseases
คห.147คือว่าต้องการทราบระหว่าง acute apical periodontitis กับ acute apical abscess ค่ะ
ในกรณีของ chronic osteomyelitis ซึ่งได้ข้อมูลจากการตรวจทางคลินิกและการซักประวัติที่มากว่าพอจะ diag ได้แล้วว่าเป็นโรคดังกล่าว ดังนั้นการถ่ายภาพรังสีน่าจะนำมาช่วยในการยืนยันหรือช่วยในเรื่องการวางแผนการรักษาได้อย่างไรบ้างครับ
ลองไปหามาอ่ะครับแต่ก็ได้แค่นี้.......
All the standard imaging techniques have been used to assess the extent of CO and to plan treatment. Sinogram is a simple technique, which can give information on the extent of disease. Bacteriologic diagnosis is important and can only be made with culture of bone. Effluent from sinus tracks is not a reliable indicator of the nature of the underlying infection.(43; 44) Interestingly staph aureus remains the main pathogen. (45)
อ้างอิงจากhttp://www.utoronto.ca/ois/SIA/2006/Surgical_Infections_II.htm#AO
จากคำถามที่ 125
เท่าที่รู้มา จากที่อาจารย์เคยบอก
rarefied area จะใช้กรณีที่ lesion นั้น มีเงาดำ ขอบเขตไม่ชัดเจนอะ
การที่คนไข้มี poor restorationและเป็นlow-grade chronic inflammationจะพัฒนาไปเป็นradicular cystทุกกรณีหรือเปล่าคะ
และการจะแยกradicular cystกับgranulation tissueพิจารณาจากขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้อย่างเดียวหรอคะดูจากอย่างอื่นได้ไหม??..
ตอบคำถามของ ฤดี นะคะที่ถามว่า PDL space มีขนาดเท่าไหร่
ในมนุษย์ PDL space จะมีความกว้าง 0.15-0.38 mm. โดยจะแคบที่สุดที่บริเวณ middle third ของรากฟัน และ ที่บริเวณ cervical จะมีความกว้างมากที่สุดค่ะ
Reference
Force Generation and Reaction Within the Periodontium
Dr. Angelo Caputo and Dr. Robert Wylie
http://www.dent.ucla.edu/pic/members/force/index.html
ไม่รู้ว่าตรงกันกับของฤดีรึเปล่าคะ ช่วยบอกด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
เห็นด้วยกับคำตอบของอรุณรัตน์ และเท่าที่รู้มา อาจารย์ภาค perio เคยบอกว่า wildening PDL space มันยัง trace lamina dura ได้อยู่ แต่อาจมีบางช่วงที่ไม่ต่อเนื่อง
ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง mental foramen กับ รอยโรคปลายรากนะคะ
มีเรื่องมาเล่าอ่ะค่ะ
คือว่างทีเราถ่ายเอ๊กซเรย์บริเวณ premolar แล้วเห็นเงาดำขอบเขตชัดตรงปลายรากพอดี แต่เรากลับคิดว่ามันป็น root resorption ของฟันนั้น
เพื่อนๆลอง reverse หรือ embossภาพดูก่อนนะคะ จะได้ไม่หน้าแตกdiag ผิด เพราะบางทีมันจะเห็นเป็นintact lamina dura เลยค่ะ
จะแยกความแตกต่างอย่างไร
ว่าเงาดำที่เกิดขึ้นในภาพรังสีของbone ว่าเป็นlesion หรือลักษณะปกติของกระดูก
ในกรณีที่คนไข้มีbone trabeculaeน้อยอยู่แล้ว
ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง mental foramen กับ รอยโรคปลายรากนะคะ
มีเรื่องมาเล่าอ่ะค่ะ
คือว่างทีเราถ่ายเอ๊กซเรย์บริเวณ premolar แล้วเห็นเงาดำขอบเขตชัดตรงปลายรากพอดี แต่เรากลับคิดว่ามันป็น root resorption ของฟันนั้น
เพื่อนๆลอง reverse หรือ embossภาพดูก่อนนะคะ จะได้ไม่หน้าแตกdiag ผิด เพราะบางทีมันจะเห็นเป็นintact lamina dura เลยค่ะ
ขออนุญาติลองตอบคำถามที่ 125 ของ อภิพร นะคะ ที่ถามว่า rarefy กับ radiolucent area แตกต่างกันอย่างไร
จากประสบการณ์ตอนที่ talk case ศัลย์ ทราบมาว่า radiolucent area นั้นเป็นเงาดำซึ่งจะมีขอบเขตที่ชัดเจนกว่า rarefy area ตัวอย่างของ radiolucent ก็เช่น cyst ที่ขอบเขตมันชัดๆ หรือว่าอาจจะเป็น large caries ที่ exposed pulp เป็นต้น ส่วน rarefy area ขอบเขตก็จะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ค่ะ ลักษณะก็จะจางกว่าบริเวณอื่น ยังไม่ดำสนิท มีการปนกันระหว่างสีขาวกับดำอยู่น่ะค่ะ
อันนี้ก็ไม่ทราบว่าถูกรึเปล่านะคะ ผิดถูกยังไง ช่วยแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
การวินิจฉัย granuloma กับ radicular cyst แยกจากกันได้ยากทางภาพรังสี ซึ่งหนูเคยอ่านมาว่าความแตกต่างของสองอันนี้คือ radicular cyst จะมีส่วนประกอบของ serum globulin แต่ใน granuloma จะไม่มีสารชนิดนี้ถูกหรือเปล่าคะ
เพิ่มเติมลักษณะการสร้างกระดูกใหม่จากปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการกระตุ้นของเยื่อหุ้มกระดูกของOsteomyelitis ภาพรังสีจะแสดงการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.ลักษณะเป็นเงาทึบรังสีพอกหนาขึ้นมาจากขอบกระดูกเดิม (periosteal mass)
2.ลักษณะเป็นเส้นทึบรังสีบางๆเพียงชั้นเดียวเพิ่มขึ้นจากขอบกระดูกเดิม (cortical redundancy หรือ duplication of cortex)
3.ลักษณะเป็นเส้นทึบรังสีบางๆหลายเส้นขนานกันเพิ่มจากขอบกระดูกเดิมคล้ายเปลือกหัวหอม (onion skin)
จากหนังสือการวินิจฉัยและการบำบัดการติดเชื้อสาเหตุจากฟัน
อยากทราบครับว่า wildening PDL space มันต้อง wildening ขนาดไหน(จากภาพรังสี)
คือมันแยกยังไงว่า เมื่อไรจะ wildening เมื่อไรจะเป็น Normal PDL Space เห็นบางคนบอก normal บางคนบอก wildening ทั้งที่เป็นภาพ X-ray เดียวกัน
ขอหลักการแบบเห็นแล้ว....ฟันธงได้เลย ^_^
periapical abacess,glanuloma and redicular cystเราจะสามารถแยกลักษณะ radiolucent areaของสามโรคนี้ได้อย่างไรบ้างคะ
ถ้าอยากสร้างบล็อกสวยๆ ผมแนะนำ Blogger ของ Google เอง
ข้อดีคือ มันสามารถติด Index ใน Google ได้เร็วมาก แต่งได้สวยตามต้องการนะครับ
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้ Blogger ..ก็เอามาบอกกล่าวและกันนะคับ
อันนี้ตัวอย่างบล็อกที่ผมสร้าง เป็นบล็อกให้ความรู้ทั่วไปเรื่องการจัดฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปาก http://judfun.blogspot.com/
ตอนนี้ทำส่วนของ SEO ด้วยครับ เพิ่ม Traffic คนเข้าบล็อคครับ
และเดียวผมจะพยามยาม สร้าง Link จากบล็อกผมมายังบล็อกนี้ให้นะครับ
Radiolucent กับ diffuse ต่างกันอย่างไรค่ะ