สุนทรียเสวนา : กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เรียนรู้จากน้องใหม่”


สุนทรียเสวนา :  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง  เรียนรู้จากน้องใหม่

วันที่  24 ธันวาคม 2551  ณ ห้องสุนทรียเสวนา

-----------------------------------------------

 

                   ทีมกระบวนกรกล่าวเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่าวันนี้เราได้เชิญน้องใหม่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะน้องใหม่อาจมีมุมมอง ข้อแนะนำแปลกใหม่ เพื่อที่ทุกคนอาจจะได้นำไปพัฒนางานของตนได้ และเนื้อหาที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้ คือ การทำงาน วิธีการปรับตัว มุมมองที่มีต่อคณะเภสัชฯ ความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต  โดยตามธรรมเนียมแล้วเราจะเริ่มจากน้องใหม่ที่อายุน้อยที่สุดเป็นคนเริ่มแลกเปลี่ยนเป็นคนแรก....

                       

น้องใหม่คนที่ 1 แลกเปลี่ยนว่า...ตนเองมีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรม Data base ดูแลโปรแกรมต่างๆของคณะ และให้บริการบุคลากรเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ การทำงานส่วนมากไม่ค่อยมีปัญหา หากไม่เข้าใจก็จะสอบถามจากอาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ และตนเองจะมีความสนใจที่จะเรียนรู้ ศึกษา เทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ใหม่อยู่เสมอ  ส่วนการปรับตัว ตอนเข้ามาทำงานแรกๆ จะเกิดความรู้สึกเกรงๆ พอเริ่มรู้จักคนอื่นๆ ตอนนี้ก็รู้สึกว่าตัวเองจะพูดมากขึ้น ถ้าหากมองถึงอนาคตในการทำงานก็อยากจะทำที่นี่ไปเรื่อยๆ ไปที่อื่นก็ต้องมีการปรับตัวใหม่ ส่วนเรื่องของเงินเดือนถ้าพูดถึงแล้วมันคงไม่พอใช้จ่ายอะไรมากนัก ก็ทำงานเสริม คือรับทำเว็บไซต์ ตอนนี้ก็รู้สึกว่าอยู่คณะนี้แล้วรู้สึก อบอุ่น เป็นกันเอง และก็จะซึมซับระบบงานให้มากขึ้น

                    น้องใหม่คนที่  2  แลกเปลี่ยนว่า...ตนเองเคยทำงานโรงงานมาก่อน เป็นงานที่หนักมากเลยอยากจะเปลี่ยนงาน จึงมาสมัครเข้าทำงานที่คณะเภสัชศาสตร์ซึ่งหากเทียบกับที่เดิมสบายกว่ากันเยอะ เมื่อได้เข้ามาทำงานแล้วก็รู้สึกว่าสนุกกันคนละแบบ คนละแนว การทำงานก็จะได้ทำในส่วนของเอกสารด้วยซึ่งเป็นงานที่ไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่ แต่ก็ทำได้ จะชอบปฏิบัติลงมือทำมากกว่า และต้องมีการติดต่อประสานงานกับอาจารย์ และอาจารย์แต่ละท่านก็มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไป เมื่อเกิดปัญหาเราก็ต้องยิ้มสู้ หรือปรึกษาเพื่อนร่วมงาน ความคาดหวังในการทำงาน งานแยกกันอย่างชัดเจน แต่ละส่วนงาน หน่วยงาน อยู่ที่นี่ก็รู้จักกันหมด

น้องใหม่คนที่  3  แลกเปลี่ยนว่า...งานของตนเองส่วนมากจะติดต่อ ประสานงานกับนักศึกษา และอาจารย์ บางครั้งก็เครียด สับสน คิดว่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของอาจารย์หรือผู้มาติดต่อได้เท่าที่ควร คิดว่าตัวเองต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน (อย่างไรหล่ะ??) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตอนนี้ก็ยังอยู่ในช่วงปรับการทำงานอยู่จ้า ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามกันต่อไปจ้า สู้สู้!!

                   น้องใหม่คนที่  4  แลกเปลี่ยนว่า...เข้ามาทำงานที่คณะเภสัชฯ ต้องมีการปรับตัว เพราะงานเดิมต่างจากงานที่นี่มาก ต้องศึกษาระบบราชการ ระบบงาน การทำงานของคนที่ทำงานตำแหน่งนี้มาก่อน การทำงานตนเองจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง จดบันทึก เรียงลำดับการทำงานตามขั้นตอน จัดหมวดหมู่งานของตนเองในคอมพิวเตอร์ให้เป็นหมวดหมู่ ทำงานให้ทันเวลา ให้แล้วเสร็จไม่ทิ้งค้างเอาไว้ อยากเรียนรู้เรื่องอะไรก็จะศึกษาจากเอกสารเก่า ที่สำคัญหมั่นถาม เรียนรู้ สอบถามจากผู้รู้

                   น้องใหม่คนที่  5  แลกเปลี่ยนว่า...ตนเองจะถนัดคอมพิวเตอร์ จึงนำเอาโปรแกรมต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เช่น โปรแกรม Out look มาช่วยในการเตือนความจำ ส่วนการทำงานของตนก็ต้องมีการปรับตัวไปเรื่อยๆ

                   น้องใหม่คนที่ 6  แลกเปลี่ยนว่า...ตนเองรับผิดชอบส่วนภาคพิเศษ ข้อมูลของนักศึกษา ช่วงแรกๆ ไม่ค่อยละเอียดนัก ต้องปรับตัวเองมาก เริ่มจากจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบ เพราะบางครั้งต้องค้นหาเอกสารเดิมที่เคยทำ หากมีปัญหา หรือข้อสงสัย จะปรึกษาหรือสอบถามจากผู้รู้ก่อนเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เมื่อเกิดปัญหาจากการทำงาน จะค้นหาสาเหตุก่อนโดยพิจารณาตัวเองก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากตัวเราเองหรือไม่ และเราจะแก้ปัญหานั้นได้มากน้อยแค่ไหน หากปัญหานั้นเกิดจากผู้อื่นอาจต้องแบ่งรับแบ่งสู้ ส่วนมุมมองที่ตนเองมีต่อคณะเภสัชฯ ความสามัคคีและเป็นหนึ่งเดียวเดียวกันของบุคลากร

 

                   หากเกิดปัญหาด้านจิตใจ หรือภายใต้ภาวะความกดดัน แต่ละคนมีวิธีในการแก้ปัญหาอย่างไรกันบ้าง?

-          ไม่ฝืน ทิ้งไว้แล้วค่อยกลับมาทำใหม่

-          มีสติ ไม่ใช้อารมณ์ในการทำงาน

-          คำพูด การสื่อสาร มีความสำคัญในการทำงาน ซึ่งมีผลต่อจิตใจของเราได้ หากเราพูดจาไพเราะทุกคนก็อยากช่วยเหลือ

-          ไม่จำในสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

-          ให้อภัย ทำความเข้าใจกับปัญหา

-          เวลาช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ เวลาผ่านไปปัญหานั้นมันก็คือเรื่องธรรมดา

-          ควบคุมอารมณ์ (Control Emotion)

-          คิดเชิงบวก (Positive Thinking)

-          พยายามทำงานให้เสร็จเร็วกว่ากำหนด เผื่อเวลาแก้ไข

-          รับฟัง พยายามไม่คิดมาก

-          มองปัญหาเป็นเรื่องสนุก

-          พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง หากแก้ไม่ได้ก็จะปรึกษาเพื่อนร่วมงาน

-          หากแก้ไขปัญหาไม่ได้วันนี้ พรุ่งนี้ค่อยมาแก้ไขใหม่

-          ผ่อนคลาย พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่คิดว่าตนเองถูก ต้องรับฟังความเห็นของผู้อื่น

-          พูดคุยกับเพื่อนสนิท เพราะบางครั้งก็ได้รับคำแนะนำที่ดี

-          สร้างกำลังใจให้ตนเอง

-          มองว่า บางคนเจอปัญหาที่หนักกว่าเรา

-          หาวิธีคลายเครียด เช่น ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ออกกำลังกาย

-          พูดคุยกับคนที่เข้าใจ

-          หากรู้ตัวว่าผิดต้องยอมรับผิด

-          งานคืองาน แยกงานกับเรื่องส่วนตัว

-          พูดคุยหารือจากผู้รู้ เพื่อคำแนะนำที่ดี

-          ไม่แบกความทุกข์ไว้

 

         

หมายเลขบันทึก: 263312เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท